PTTGC ผนึก “ไอ.พี.วัน” เปิดตัว “วิกซอล นวัตกรรมเปลี่ยนชีวิต เพื่อโลกที่ยั่งยืน”

PTTGC จับมือ ไอ.พี.วัน ผู้นำตลาด FMCG เปิดตัว “วิกซอล รุ่น VIXOL POWER ขวดสีดำ” นวัตกรรมเปลี่ยนชีวิต เพื่อโลกที่ยั่งยืน ครั้งแรกในประเทศไทยของขวดพลาสติกสี รีไซเคิล ลุยสร้างวงจรผลิตบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน มุ่งเป้า “Zero Waste” ภายในปี 68


นายชยนต์ เจตน์จิราวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มงานกลยุทธ์และกลุ่มงานคอมเมอร์เชียล บริษัท ไอ.พี. วัน จำกัด เปิดเผยว่าบริษัทถือเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคสัญชาติไทย ภายใต้แบรนด์ยอดนิยมอย่าง ไฮยีน วิกซอล วิซ ไอวี่ แดนซ์ และโฟกัส ไอ.พี. วัน ซึ่งมีวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจควบคู่กับความยั่งยืนมาตลอดกว่า 50 ปี

โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม Into Sustainability คือ 1 ใน Core Value ของบริษัทให้มั่นใจว่าทุกผลิตภัณฑ์ “ดีต่อผู้ใช้ ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตควบคู่ไปกับการดูแลโลกด้วยการพัฒนาสินค้าและนวัตกรรมที่สอดรับกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และการนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับเข้าสู่ระบบรีไซเคิลเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง

อีกทั้งบริษัทยังได้สนับสนุนแนวคิดลดขยะจากผลิตภัณฑ์ให้เป็นศูนย์ (Zero Waste) ตั้งเป้าภายในปี 2568 พลาสติกและขยะที่ออกมาจากโรงงานของบริษัทจะสามารถกลับสู่ขบวนการรีไซเคิล หรือนำไปเป็นพลังงานได้ทั้งหมด รวมถึงผลิตภัณฑ์ “วิกซอล” (VIXOL) ผลิตภัณฑ์แบรนด์แรกของบริษัท

ทั้งนี้ได้ใส่ใจเรื่องของนวัตกรรมและการเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนมาตั้งแต่เริ่มต้น อาทิ ลดขนาดฝาพลาสติก lightweight ช่วยลดการใช้พลาสติกไปได้กว่า 10 ตันต่อปี จนถึงจุดเริ่มต้นของโครงการครั้งนี้ที่บริษัทเป็นผู้บุกเบิกครั้งแรกในไทย ซึ่งได้รับความร่วมมือจากพันธมิตร บริษัท เอ็นวิคโค จำกัด ในเครือ GC Group และ บริษัท แอลพลา แพคเกจจิ้ง (ประเทศไทย)

อีกทั้งเพื่อพัฒนานวัตกรรมการนำขวดวิกซอล ซึ่งเป็นขวดพลาสติกสี (HDPE) โดยนำกลับมาใช้ใหม่ผ่านการนำบรรจุภัณฑ์ในครัวเรือนที่ใช้แล้วนำมาคัดแยก และเข้าสู่ขบวนการรีไซเคิลจนได้เป็นพลาสติก PCR HDPE (Post Consumer Recycled HDPE) กลับมาขึ้นรูปขวดใหม่

โดยได้เริ่มนำร่องใช้กับ วิกซอล รุ่น VIXOL POWER ขวดสีดำ” ทั้งนี้สร้างเป็นวงจรปิด (Close Loop) ให้กับการผลิตขวดวิกซอลกว่า 20 ล้านขวดต่อปี ซึ่งไม่ปล่อยให้กลายเป็นขยะในระบบนิเวศอีกต่อไป ทั้งนี้ถือเป็นก้าวแรกที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงและจุดประกายให้สังคมรวมไปถึงผู้บริโภคที่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์วิกซอลให้มีความรู้เรื่องการนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงคำนึงถึงการใช้ทรัพยาการอย่างคุ้มค่าอย่างยั่งยืน

โดยนายสาโรจน์ พุทธธรรมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและการขายกลุ่มลูกค้าแพลตฟอร์มอุตสาหกรรม บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC กล่าวว่าในฐานะผู้นำในธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับสากลเพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตและให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยการสร้างสมดุล ESG ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล บนหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงมีแผนงานที่สอดคล้องกับการก้าวสู่องค์กรคาร์บอนต่ำ

นอกจากนี้เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 โดยบริษัทและ เอ็นวิคโค โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงระดับโลกได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาเม็ดพลาสติกรีไซเคิล หรือ Post-Consumer Recycled Resin (PCR) จำนวน 2 ประเภท คือ PCR HDPE สำหรับบรรจุภัณฑ์กลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัวทั้งนี้เป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มของใช้ในบ้าน และ PCR PET สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม

ทั้งนี้ได้รับการรับรองโดย อย. เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย รวมทั้งองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US FDA) หน่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA)

โดย ล่าสุดบริษัทได้ร่วมมือกับ ไอ.พี. วัน ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์วิกซอลแบรนด์แรกในประเทศไทยที่มีการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลจากขวดพลาสติกสีผ่านการจัดการของแพลตฟอร์ม GC YOU เทิร์น เพื่อเข้ามาช่วยบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วอย่างครบวงจร และช่วยลดการใช้เม็ดพลาสติกใหม่อีกทั้งเพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติกในประเทศ ซึ่งเป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งนี้ผ่านมาขวดพลาสติกสีถูกทิ้งหรือฝังกลบ และไม่มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพจึงนับเป็นก้าวย่างที่สำคัญอย่างยิ่ง รวมไปถึงเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภคที่ตระหนักถึงสินค้าคุณภาพที่ใส่ใจรักษาสิ่งแวดล้อม

ขณะที่นายอิศเรศ จารุวรรณสถิต หัวหน้าฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ประจำภูมิภาคเอเชีย บริษัท แอลพลาแพคเกจจิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าจากความสำเร็จในครั้งนี้ทางบริษัทพร้อมเดินหน้านำนวัตกรรมใหม่เพื่อมาส่งเสริมระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ตามหลัก Design 4 Recycling เริ่มตั้งแต่การดีไซด์ด้วยวิศวกรรมเพื่อให้ใช้น้ำหนักน้อยที่สุด

นอกจากนี้รวมไปถึงการใช้วัสดุรีไซเคิลมาเป็นส่วนประกอปของบรรจุภัณฑ์อย่างถูกวิธีเพื่อตอบโจทย์ความต้องการทั้งทางธุรกิจและทางสิ่งแวดล้อม และเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการรีไซเคิลในประเทศไทยให้ยั่งยืนตลอดจนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์รูปแบบขวดจากวัสดุทดแทน อาทิ ที่ทำจากกระดาษ เป็นต้น

Back to top button