อยู่หนใด อุโมงค์ยักษ์

การชิงชัยเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดินทางมาถึงโค้งสุดท้าย ใครเป็นตัวเต็งที่จะเข้าวินมากที่สุด คงจะดูได้จากคนที่โดนรุมสกรัมมากที่สุด


การชิงชัยเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดินทางมาถึงโค้งสุดท้ายแล้ว ใครเป็นตัวเต็งที่จะเข้าวินมากที่สุด คงจะดูได้จากคนที่โดนรุมสกรัมมากที่สุด

คน ๆ นั้นจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม.โพล เริ่มตั้งแต่ถามมา-ตอบไปเรื่องมีพ่อเป็นนายตำรวจปราบม็อบ และเป็นผู้สมัครผู้ว่าฯ อิสระจริงหรือ ทำไมไม่ส่งผู้สมัครสก.ล่ะ

ชัชชาติต้องฝ่าคำถามมุ่งสกัดเหล่านี้มาได้หมด จนถึงช่วงโค้งสุดท้าย ฝ่ายตรงข้ามโยนไพ่ให้เลือกแบบมียุทธศาสตร์ คือไม่เลือกแบบดาวกระจายไปให้ผู้สมัครฝั่งเดียวกัน แต่เอาคะแนนไปเทให้พล...อัศวิน ขวัญเมืองคนเดียว

เพื่อสกัดชัชชาติ!

ผู้สมัครคนอื่น ๆ ในขั้วฝ่ายเดียวกันอันอาจจะมีสกลธี ภัททิยกุล, รสนา โตสิตระกูล รวม ๆ คือพวกที่เคยเป่านกหวีด หรืออาจจะมี “ดร.เอ้” สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์รวมอยู่ด้วย ไม่รู้ว่าจะให้ความยินยอมกับแผนนี้มากน้อยแค่ไหน เสียงเริ่มแตกบ้างเหมือนกัน เพราะมีอินฟลูเอนเซอร์บางรายในขั้วอนุรักษ์ฯ บอกให้เทคะแนนให้สกลธี

22.. 65 ตัดสินชะตา ทุกอย่างจบ ได้รู้กันใครเป็นผู้ชนะ

เรื่องผู้ว่าราชการกับน้ำท่วมกทม. คือ 1 ในโจทย์ใหญ่สำคัญที่ต้องมีคำตอบในภาคปฏิบัติ

พล...อัศวิน ผู้ประกาศตนเป็น “นักปฏิบัติ” มากกว่า “นักคิด” และได้รับการการันตีเป็นคนที่เหมาะควรจากนายกฯ พล..ประยุทธ์ อาจจะโชคร้ายสักหน่อย เมื่อค่ำคืนวันอังคารที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมีฝนถล่มทั่วกรุงเทพฯ

เกิดน้ำท่วมขังรอระบายในหลายเขตพื้นที่ และการจราจรเป็นอัมพาตรอบกรุง

คนอาจจะลืมไปแล้วว่า กรุงเทพฯ มีระบบป้องกันกันน้ำท่วมโดยอุโมงค์ยักษ์เพื่อรับน้ำตามคูคลองต่าง ๆ นำไประบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและไหลออกสู่ทะเลทางปากอ่าวต่อไป

อุโมงค์ยักษ์แต่ละแห่ง มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 3.5-5.0 เมตร ตามแผนจะมีทั้งสิ้น 8 อุโมงค์ด้วยกัน และเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยและพร้อมเปิดใช้งานแล้วรวม 4 อุโมงค์ ได้แก่

1)อุโมงค์บึงมักกะสัน เส้นผ่าศูนย์กลาง 4.6 เมตร ยาว 5.89 เมตร ความสามารถระบายน้ำครอบคลุมพื้นที่ 26 ตารางกิโลเมตรใน 6 เขตกทม.ได้แก่ เขตวัฒนา ปทุมวัน ราชเทวี พญาไท ห้วยขวาง และดินแดง

2)อุโมงค์พระราม 9 เส้นผ่าศูนย์กลาง 5.0 เมตร ยาว 5.11 กม. สูบน้ำจากคลองแสนแสบ-ลาดพร้าวไปออกเจ้าพระยาทางประตูน้ำพระโขนง ระบายน้ำครอบคลุมพื้นที่ 50 ตารางกิโลเมตรใน 6 เขตกทม.ได้แก่ ห้วยขวาง บางกะปิ บึงกุ่ม วัฒนา วังทองหลาง และลาดพร้าว

3)อุโมงค์คลองบางซื่อ เส้นผ่าศูนย์กลาง 5.0 เมตร ยาว 6.4 กิโลเมตร ระบายน้ำครอบคลุมพื้นที่ 56 ตารางกิโลเมตรใน 8 เขตกทม.ได้แก่ ดินแดง พญาไท จตุจักร ลาดพร้าว วังทองหลาง บางซื่อ และดุสิต

4)อุโมงค์คลองเปรมประชากร เส้นผ่าศูนย์กลาง 3.4 เมตร ยาว 1.88 กิโลเมตร ระบายน้ำครอบคลุมพื้นที่ 3.5 ตารางกิโลเมตรใน 4 เขตกทม.ได้แก่ บางซื่อ จตุจักร หลักสี่ และดอนเมือง

เมื่อวิกฤตปี 2554 อุโมงค์ยักษ์กทม.มีแค่ 2 อุโมงค์เท่านั้น คืออุโมงค์พระราม 9 กับอุโมงค์บึงมักกะสัน แต่ไม่มีส่วนช่วยระบายน้ำใด ๆ ได้เลย เพราะ “น้ำมาไม่ถึงอุโมงค์” อันเนื่องมาจากท่อระบายน้ำและคูคลอง เต็มไปด้วยขยะและสิ่งกีดขวาง

เราท่านแทบไม่ได้เห็นนักโทษออกมาขุดลอกท่อระบายน้ำกันเลยนับแต่บัดนั้นจนบัดนื้

น้ำท่วมรอระบายจราจรอัมพาตเมื่อค่ำคืนวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา ผ่านมาแล้ว 11 ปี ได้อุโมงค์ยักษ์เพิ่มมาอีก 2 อุโมงค์ แต่ก็เจอปัญหาหญ้าปากคอกเดิม ๆ คือ น้ำมาไม่ถึงอุโมงค์ และความหย่อนยานในเรื่องของการขุดลอกคูคลองและท่อระบายน้ำ

ต่อให้มีอุโมงค์ยักษ์เพิ่มครบ 8 อุโมงค์ ก็คงไม่ช่วยแก้น้ำท่วมขังกทม.ได้ หากล้มเหลวในการทะลวงท่ออย่างไม่น่าให้อภัย

ผู้ว่ากทม.คนใหม่ช่วยหน่อยเถอะ ส่วนคนเก่าที่อยู่มาแล้ว 5 ปี “ขอไปต่อ” ไม่ขอพูดอะไรมาก เจ็บคอ!

Back to top button