ประวัติศาสตร์ที่ต้องประเมิน

สำหรับการจากไปของควีนเอลิซาเบธที่ 2 ที่ผ่านไป 1 สัปดาห์ นอกเหนือจากคำอวยของบรรดาผู้นำที่เกินจริงแล้ว อนาคตของพระองค์จะถูกโลกจดจำในฐานะอะไร


สำหรับการจากไปของควีนเอลิซาเบธที่ 2 ที่ผ่านไป 1 สัปดาห์ นอกเหนือจากคำอวยของบรรดาผู้นำที่เกินจริงแล้ว อนาคตของพระองค์จะถูกโลกจดจำในฐานะอะไรระหว่างพระราชินีที่ไร้ความสามารถที่จะปกป้องความยิ่งใหญ่ของ PAX BRITANICA และ/หรือแม่ที่เลี้ยงลูกอย่างล้มเหลวกันดี

คำตอบยังไม่ชัดเจน แต่บางคนอาจจะขอตอบว่า คำถามนี้เป็นการเสียมารยาทและไม่บังควรอย่างยิ่ง

คำพูดที่เด่นและเป็นกลางที่สุดเกี่ยวกับพระนางอเลิซาเบธที่ 2 มาจากนายกรัฐมนตรีไมเคิล มาร์ติน ของไอร์แลนด์ ที่ระบุอย่างย่นย่อว่า การครองราชย์เป็นหนึ่งใน “ช่วงเวลาประวัติศาสตร์ และกล่าวถึงการสวรรคตของพระองค์ว่าเป็น จุดสิ้นสุดแห่งยุคสมัย

ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ เพราะพระองค์ดำรงสถานะของการเป็นกษัตริย์ที่ถดถอยจากการเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกที่เคยครอบครองดินแดนทั่วโลกจนมีคนขนานนามว่าดิน “ดินแดนที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน” ด้วยกระบวนวิธีซึ่ง รัดยาร์ด คลิปปิ้ง เรียกว่าเป็น ภารกิจของคนขาว หรือ white man’s’burden อันลือลั่นมาแล้ว

จักรวรรดิอังกฤษเคยเป็นเจ้าโลกมาก่อนนับตั้งแต่หลังสงครามกับนโปเลียน ค.ศ. 1815 เป็นต้นมา ภายใต้นโยบายต่างประเทศที่เรียกกันว่าสันติภาพแบบอังกฤษ หรือ Pax Britanica จนสามารถสร้างมาตรฐานแบบอังกฤษขึ้นมานับตั้งแต่การกำหนดให้เส้นแนวนอนในการวัดโลกหรือเส้นเมอร์ริเดียนเริ่มต้นที่กรีนิช ในชานเมิองลอนดอน ตามด้วยการกำหนดค่ามาตรฐานทองคำที่ยังใช้จนถึงทุกวันนี้โดยไอแซค นิวตัน

เพียงแต่จักรวรรดิไม่อาจจะแบกรับภาระพิจารของโลกเอาไว้ได้ โดยเฉพาะหลังจากที่ล้มเลิกระบบมาตรฐานทองคำของเงินสกุลต่าง ๆ โดยยินยอมให้เกิดข้อตกลงใหม่ที่เรียกว่าเบรตันวูด ที่ยินยอมให้ค่าดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินสกุลกลางของโลก (ก่อนที่ค่าดอลลาร์จะเปลี่ยนไปอีกเมื่อมีการอิงเข้ากับราคาน้ำมันดิบ และอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวมาจนถึงทุกวันนี้)

แล้วเราก็ได้เห็นการล่มสลายของดินแดนพระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน เหลือเพียงเครือข่ายหลวมของเครือจักรภพอังกฤษ ((british Commonwealth) (แทนที่ที่อังกฤษเคยชี้นิ้วผ่านคำปรึกษาทางอำนาจของข้าหลวงใหญ่มายาวนานลงไปอย่างสิ้นเชิง)

แม้กระนั้นความยิ่งใหญ่ทางจิตวิญญาณยังไม่เคยจางหายไป นวนิยายสายลับเจมส์ บอนด์ ที่มีบุคลิกพิเศษ ยังคงปลอบประโลมใจช่วงขาลงของจักวรรดิอันเคยยิ่งใหญ่มาได้ อย่างน้อยก็ยังคงทำให้คนอังกฤษเชิดหน้ากับอาการ “จมไม่ลง” ทางอุดมคติต่อไปได้

ระยะหลังจากการสิ้นสุดของ Pax Britanica สถานะที่เคยยิ่งใหญ่ของอังกฤษก็ยังคงเปลี่ยนไปจากความสามารถรักษาความยิ่งใหญ่ของธุรกิจการเงิน โดยเฉพาะการรับประกันภัยต่อที่ยังคงรวมกันอยู่ที่ Lloyds of zLonfon ต่อไปได้ และความสามารถในการปรับตัวบางส่วนของสถาบันการเงินที่กลายเป็นเสาหลักของธุรกิจของโลกเอาไว้ได้หลังจากที่อังกฤษสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจการผลิตสินค้าไปแล้ว

ปัจจุบันธุรกิจบริการทางการเงินของอังกฤษยังคงครองความยิ่งใหญ่หัวแถวของโลกอย่าง HSBC Royal Durch/Shell SwiteGroup ยังคงมีพลังขับเคลื่อนต่อไปได้ แม้จะไม่มีอำนาจกำหนดหรือชี้นำทิศทางของโลกได้เท่าเดิม

ที่สำคัญ ในธุรกิจกีฬา อังกฤษยังคงโดดเด่นกับสโมสรและลีกฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่มากสุด อย่างพรีเมียร์ลีกที่มีมูลค่าสูงสุดในโลกต่อไปอีกยาวนาน

ที่ร้ายไปกว่านั้น เครือจักรภพอังกฤษหลายแห่งได้กลายเป็นศูนย์กลางการเงินนอกประเทศที่ช่วยหลบซ่อนอาชญากรและอาชญากรรมทางการเงินอย่างแยบยลเพื่อสร้างรายได้เข้ากระเป๋า

การหารายได้ในฐานะ “เห็บเหาทางบริการทางการเงิน” เช่นนี้ถือเป็นซากเดนของสันติภาพแบบอังกฤษที่ยังคงมีพลังแฝงทางเศรษฐกิจซึ่งยากปฏิเสธได้

ที่เลวร้ายที่สุดต้องเอ่ยถึงคือการปกครอง แบ่งแยกแล้วการปกครองของอังกฤษเหนืออาณานิคมเก่าส่วนมากได้สร้างปัญหาภายหลังจากอาณานิคมเก่าได้รับเอกราชแล้วกลายเป็นสังคมที่ปริร้าวตกค้าง จนมีเอกภาพไม่ได้ เช่นที่เกิดในเมียนมา อินเดีย ไนจีเรีย มาลีเคนยา อูกานดา ซูดาน รวันดา อูรุนดี และ ปาเลสไตน์

นักวิชาการที่ศึกษากรณีของลัทธิอาณานิคม ระบุว่า ต้องไม่ประเมินบทบาทความเชื่อมโยงของพระนางเอลิซาเบธในช่วงที่อาณานิคมในโลกหลายแห่งกำลังเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ ช่วงนั้นพระนางเธอรับบทบาทในฐานะผู้นำอาณาจักรที่มีประชากรมากถึง 25% ของประชากรโลก หรือประมาณ 700 ล้านคน ในช่วงปี 1952 และเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิเสธการก่ออาชญากรรมอาณานิคม

สำหรับนักสู้เพื่อเอกราชของอินเดียนั้น การแสดงความสำนึกผิดสำหรับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของผู้เสียหายจากการกระทำสังหารหมู่ในหลายครั้ง ในระหว่างการเยี่ยมชมประเทศอินเดียครั้งสุดท้ายของสมเด็จพระราชินี ที่ทรงบอกแค่ว่า “ไม่สามารถเขียนใหม่” ซึ่งคนจำนวนมากขาดการชดใช้กับอาณานิคมในอดีต

ที่สำคัญในทางส่วนตัว พระราชบุตรและธิดาที่ล้มเหลวในชีวิตสมรสทั้งหมดก็สะท้อนให้เห็นถึงการล้มเหลวที่จะปรับเข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการปฏิบัติของพระราชวงศ์ต่อเจ้าหญิงไดอาน่าที่ลงเอยด้วยโศกนาฏกรรมอันน่าเศร้า

เสียงอวยและสรรเสริญต่อการจากไปหลังการครองราชย์อันยาวนานกว่า 70 ปีของพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ 2 ตามสูตรสำเร็จที่บอกว่าคนตายนั้นน่ายกย่องเสมอ จึงควรต้องประเมินด้วยว่า เมื่อพ้นยุคของสันติภาพอังกฤษเข้าสู่สันติภาพของอเมริกา หรือ Pax Americana และสันติภาพของจีน หรือ Pax Sinica นั้นควรมีมุมมองที่รอบด้านกว่าอย่างไร

ประวัติศาสตร์นั้นเปลี่ยนแปลงอาจไม่ได้ แต่มุมมองต่ออนาคตนั้นเปลี่ยนได้เสมอ

Back to top button