TTB ซื้อหุ้นคืน+เพิ่มปันผล

TTB โครงสร้างพอร์ตสินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาส 1/2568 1. บรรษัทธุรกิจ 29% 2. SME 8% 3. รายย่อย-เพื่อที่อยู่อาศัย 27% 4. รายย่อย-เช่าซื้อ 29%


คุณค่าบริษัท

ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB โครงสร้างพอร์ตสินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาส 1/2568 1. บรรษัทธุรกิจ 29% 2. SME 8% 3. รายย่อย-เพื่อที่อยู่อาศัย 27% 4. รายย่อย-เช่าซื้อ 29% 5. รายย่อย-สินเชื่อบุคคล 4% 6. รายย่อย-บัตรเครดิต 3% 7. อื่น ๆ 0.3% ภายใต้สินเชื่อกลุ่มรายย่อย-เช่าซื้อ 29% จำแนกต่อได้ดังนี้ 1. รถยนต์ใหม่ 63% 2. สินเชื่อรถแลกเงิน 21% 3. รถยนต์ใช้แล้ว 15% 4. สินเชื่อเล่มแลกเงิน 1%

TTB รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2568 มีกำไรสุทธิ 5,096.01 ล้านบาท ลดลง 5.2% จากไตรมาส 1/2567 แต่เพิ่มขึ้น 2.1% จากไตรมาส 4/2567 ที่มีกำไรสุทธิ 4,992 ล้านบาท กำไรสุทธิไตรมาส 1 ต่ำกว่าคาดการณ์ของ บล.กสิกรไทยประมาณ 8% และต่ำกว่าคาดการณ์ของตลาดประมาณ 4% สาเหตุหลักมาจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญ (credit cost) ที่สงกว่าคาด  โดยอยู่ที่ 1.49% เทียบกับที่คาดไว้ที่ 1.35% เนื่องจาก TTB ได้ตั้งสำรองพิเศษ (Management Overlay) ประมาณ 954 ล้านบาทในไตรมาส 1/2568 ทั้งนี้ กำไรที่ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบไตรมาส 1/2567 เป็นผลจากรายได้ดอกเบียสุทธิ (NII) ที่ลดลง 8% เมื่อเทียบไตรมาส 1/2567 จากสินเชื่อรวมที่ลดลง 8% เมื่อเทียบไตรมาส 1/2567 ซึ่งเป็นผลจากการอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวดของ TTB และการเติบโตที่อ่อนแอของอุตสาหกรรมยานยนต์

หากไม่รวมการตั้งสำรองพิเศษ TTB ระบุว่า credit cost ปกติในไตรมาส 1/2568 จะอยู่ที่ 1.20% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายปี 2568 ที่ 1.25-1.35% เล็กน้อย และต่ำกว่าที่ บล.กสิกรไทยคาดไว้ที่ 1.35% อย่างไรก็ตาม บล.กสิกรไทยมองว่าแนวโน้ม credit cost ปกติยังคงไม่แน่นอน เนื่องจากผลกระทบทีอาจเกิดขึ้นกับลูกค้าของธนาคารจากนโยบายภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

นอกจากนี้ ผู้บริหาร TTB ยังระบุว่าสัดส่วนสินเชื่อ Stage 2 ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 9.6% ของสินเชื่อรวมในไตรมาส 1/2568 จาก 9.3% ในไตรมาส 4/2567 และลูกหนี้ Stage 3 เพิ่มขึ้นเป็น 3.2% จาก 3.1% ในไตรมาส 4/2567 เป็นผลจากการปรับลดคุณภาพของลูกค้าสินเชื่อรายใหญ่ตามเกณฑ์การจัดชั้นที่เข้มงวดของ TTB และเป็นผลจากขนาดของพอร์ตสินเชื่อที่ปรับลดลง แต่หากพิจารณาในแง่มูลหนี้ถือว่าไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก ขณะที่อัตราการเกิดหนี้เสียใหม่ (NPL Formation) ลดลงเป็น 1.64% จาก 1.74% ในปี 2567

บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า ผู้บริหาร TTB มีสัญญาณระมัดระวังต่อเศรษฐกิจมหภาค จากความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าสหรัฐฯ ขณะที่ทิศทาง NIM เป็นไปตามวัฏจักรดอกเบี้ย ซึ่ง TTB เน้นบริหารต้นทุนทางการเงินเพื่อลดทอนผลกระทบ

สำหรับมูลหนี้เข้าร่วมมาตรการ คุณสู้ เราช่วย ของ TTB ล่าสุดอยู่ที่ราว 2% ของพอร์ตสินเชื่อ (ใกล้เคียงกับ BAY และ TISCO) ช่วยลดแรงกดดันด้านคุณภาพสินทรัพย์ในระยะข้างหน้าได้บ้าง แต่เนื่องจากสัดส่วนไม่สูง ทำให้ผลต่อประมาณการจำกัด

ข้อมูลจาก LSEG Consensus สำหรับ TTB ระบุว่า ประมาณการรายได้รวมปี 2568 ที่ 66,393.06 ล้านบาท และประมาณการกำไรสุทธิปี 2568 ที่ 21,259.92 ล้านบาท โดยมีราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 1.98 บาท จาก 19 โบรกเกอร์

บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) ปรับลดประมาณการกำไรปี 2568-69 ของ TTB ลง 7% มาที่ 21,187 ล้านบาท และ 22,025 ล้านบาท ตามลำดับ เพื่อสะท้อนการเติบโตสินเชื่อ และ NIM ที่ลดลง โดยชอบ TTB ในการมุ่งเน้นปรับปรุง ROE ให้เพิ่มขึ้น โดยกลยุทธ์ขยายสินเชื่อแบบเลือกสรรจะส่งผลให้คุณภาพสินเชื่อดีขึ้น และความสามารถในการทำกำไรสูงขึ้นในระยะยาว อย่างไรก็ตาม คาดว่ากำไรจะเติบโตช้าในระยะสั้น จากแรงกดดันของ NIM และการหดตัวของสินเชื่อ

สำหรับการประเมินมูลค่า (Valuation) หุ้น TTB ราคาปัจจุบัน (ราคาปิดที่วันที่ 20 พ.ค. 2568 ที่ 1.96 บาท) เทรดที่ P/E 9.05 เท่า สูงกว่า P/E กลุ่มธนาคาร ที่ 7.55 เท่า ส่วนค่า P/BV ของหุ้น TTB อยู่ที่ 0.78 เท่า สูงกว่า P/BV กลุ่มธนาคาร ที่ 0.65 เท่า

Back to top button