GULF ผนึก PTT Tank-POSCO-CAZ ลุยท่าเรือก๊าซมาบตาพุดเฟส 3 หนุนพลังงานไทย

GULF ร่วมกับ PTT Tank เซ็นสัญญา EPCC  POSCO E&C และ CAZ เพื่อพัฒนาท่าเรือก๊าซธรรมชาติโครงการมาบตาพุด ระยะที่ 3 เสริมแกร่งด้านพลังงานของไทยอย่างยั่งยืน


นายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF และนายฮี มิน จอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร POSCO Eco & Challenge หรือ PEC ลงนามสัญญาวิศวกรรม จัดหา ก่อสร้างและทดสอบระบบ (สัญญา EPCC) ระหว่างบริษัท กัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินัล จำกัด หรือ GMTP และกิจการค้าร่วม PEC-CAZ เพื่อพัฒนาท่าเรือก๊าซ (Superstructure) ของโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3

โดยมีนางพรทิพา ชินเวชกิจวานิชย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GULF และนายณัฏฐะวุฒิ เครือประดับ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด หรือ PTT Tank รวมถึงผู้บริหารจากกิจการค้าร่วม PEC-CAZ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี

สำหรับสัญญา EPCC ดังกล่าวลงนามระหว่าง GMTP ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง GULF (ถือหุ้นร้อยละ 70) และ PTT Tank (ถือหุ้นร้อยละ 30) กับกิจการค้าร่วม PEC-CAZ ที่ประกอบด้วยบริษัท POSCO Eco & Challenge จำกัด (PEC) และ บริษัท ซี เอ แซด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ CAZ การลงนามสัญญาครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาท่าเรือก๊าซ (Superstructure) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3

ทั้งนี้ เพื่อรองรับการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) สอดคล้องกับนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รักษาเสถียรภาพด้านพลังงานของประเทศ และรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นในภาคอุตสาหกรรม

รวมไปถึงกิจการค้าร่วม PEC-CAZ นับเป็นการผนึกกำลังระหว่าง PEC บริษัทรับเหมาก่อสร้างระดับโลก ในเครือ POSCO ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ มีบทบาทสำคัญในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ทั้งโครงการมาบตาพุดระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ตลอดจนการพัฒนาโครงการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ CAZ บริษัทก่อสร้างที่มีความโดดเด่นในด้านบริการก่อสร้างครบวงจรของประเทศไทย

อย่างไรก็ตามโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมพลังงาน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และปิโตรเคมี โดยกิจการค้าร่วม PEC-CAZ จะดำเนินการพัฒนาโครงการมาบตาพุดในส่วน Superstructure ซึ่งประกอบด้วยงานวิศวกรรม จัดหา ก่อสร้าง และทดสอบระบบท่าเทียบเรือก๊าซและสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Terminal) บนพื้นที่ถมทะเลประมาณ 200 ไร่ เพื่อรองรับปริมาณการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวขนาด 8.0 ล้านตันต่อปีสำหรับท่าเรือก๊าซระยะแรก

Back to top button