PSTC บวกแรง 7% รับข่าวผ่านเทคนิคโครงการ “รฟฟ.ไฮบริด” 50 เมกะวัตต์-SSP ร่าเริงด้วย

PSTC บวกแรง 7% รับข่าวผ่านเทคนิคโครงการ "รฟฟ.ไฮบริด" 50 เมกะวัตต์-SSP ร่าเริงด้วย


ผู้สื่อข่าวรายงาน บริษัท เพาเวอร์ โซลูชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ PSTC ณ เวลา 14.40 น. อยู่ที่ระดับ 0.05 บาท บวก 6.58% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 212.82 ล้านบาท

โดยราคาหุ้นปรับตัวขึ้นแรงหลังบริษัทผ่านการคัดเลือกทางเทคนิคและได้เสนอขายไฟฟ้าจำนวน 50 เมกะวัตต์ ภายใต้โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรูปแบบ SPP Hybrid Firm ปี 2560 จำนวน 42 โครงการ ขนาดกำลังผลิตติดตั้งรวม 1,062.2 เมกะวัตต์ จากปริมาณที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)รับซื้อไฟฟ้าทั้งสิ้น 755.3 เมกะวัตต์ เพื่อที่จะเข้าสู่ขั้นตอนของการพิจารณาข้อเสนอทางด้านราคา โดยกำหนดจะประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้ได้ภายในวันที่ 14 ธันวาคม 2560

ขณะเดียวกันราคาหุ้น บริษัท คือ  เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) SSP ณ เวลา 15.17 น. อยู่ที่ระดับ 9.05 บาท บวก 0.158 บาท หรือ 1.69% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 81.64 ล้านบาท ซึ่ง SSP เป็นอีกบริษัทที่ผ่านคัดเลือกทางเทคนิคโครงการดังกล่าวเช่นเดียวกัน โดยมีปริมาณไฟฟ้าเสนอขายจำนวน 82 เมกะวัตต์

นอกจากนี้ยังมีบริษัทเอกชนในตลาดหุ้นไทยที่ผ่านการคัดเลือกทางเทคนิคและได้เสนอขายไฟฟ้าโครงการดังกล่าวอีก 4 บริษัทคือ BPP,BGRIM,KSL และ SUPER โดยมีมีปริมาณไฟฟ้าเสนอขาย(MW ดังนี้

– บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP มีปริมาณไฟฟ้าเสนอขายจำนวน 10.10 เมกะวัตต์

– บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM  มีปริมาณไฟฟ้าเสนอขายจำนวน 50 เมกะวัตต์

– บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) หรือ KSL มีปริมาณไฟฟ้าเสนอขายจำนวน 10.50 เมกะวัตต์

– บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน) หรือ SUPER  มีปริมาณไฟฟ้าเสนอขายจำนวน 62 เมกะวัตต์

 

ก่อนหน้านี้ สำนักงาน กกพ. ได้เปิดให้ผู้สนใจเข้ายื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าจากโครงการ SPP Hybrid Firm เมื่อวันที่ 16-20 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา ได้มีผู้มายื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าจำนวน 85 โครงการ กำลังผลิตติดตั้งรวม 2,464 เมกะวัตต์ โดยมีปริมาณไฟฟ้าเสนอขายรวมทั้งสิ้น 1,644 เมกะวัตต์ ขณะที่กกพ.จะรับซื้อไฟฟ้าตามโครงการดังกล่าวจำนวน 300 เมกะวัตต์

สำหรับโครงการที่ไม่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกอีก 43 โครงการนั้น จากการตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่ได้ยื่นมาพบว่าเอกสารหลักฐานขาดความสมบูรณ์ ไม่ถูกต้องครบถ้วน และไม่เป็นไปตามที่หลักเกณฑ์กำหนด อาทิ ไม่มีความพร้อมด้านเชื้อเพลิง ที่ดินและแหล่งเงินทุนในการประกอบกิจการ เป็นต้น

“โครงการนี้เป็นการรับซื้อแบบ Feed-in Tariffs หรือ FiT ในอัตราการรับซื้อไฟฟ้าเริ่มต้นที่ 3.66 บาทต่อหน่วย แบ่งเป็นอัตรา FiT คงที่ 1.81 บาทต่อหน่วย และอัตรา FiT ผันแปร 1.85 บาทต่อหน่วย (ตามอัตราเงินเฟ้อขั้นพื้นฐานที่เพิ่มขึ้นจากปี 2560) ซึ่งจะแข่งกันทุกประเภทเชื้อเพลิงโดยให้ผู้ยื่นข้อคำร้องเสนอส่วนลด (%) จากอัตรา FiT คงที่ ซึ่งหลังจากนี้สำนักงาน กกพ. จะพิจารณาข้อเสนอขอขายไฟฟ้าด้านราคา โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาประเมินข้อเสนอขายไฟฟ้าด้านราคา และจะประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือกภายในวันที่ 14 ธันวาคม 2560 ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ.”นางสาวนฤภัทร กล่าว

นางสาวนฤภัทร กล่าวว่า หลังจากประกาศผลการคัดเลือกแล้ว ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการต้องเร่งดำเนินการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หรือรายงานการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Code of Practice: CoP) ตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ทันกำหนดวันลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ภายในวันที่ 13 ธันวาคม 2562 และสามารถดำเนินการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ตามสัญญา(SCOD) ได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึงภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2564

Back to top button