นาทีทองเก็บ SSP ช่วงราคาถูก โบรกฯชี้กำไรปี 61 โตสนั่น พร้อมชูเป้าสูง 10.10 บ.

นาทีทองเก็บ SSP ช่วงราคาถูก โบรกฯชี้กำไรปี 61 โตสนั่น พร้อมชูเป้าสูง 10.10 บ.โดย ณ 15.13 น. อยู่ที่ระดับ 7.40 บาท ลบ 0.20 บาท หรือ 2.63% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 84.81 ล้านบาท


ผู้สื่อข่าวรายงาน บริษัท เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SSP ณ 15.13 น. อยู่ที่ระดับ 7.40 บาท ลบ 0.20 บาท หรือ 2.63% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 84.81 ล้านบาท ราคาหุ้นปรับตัวลงแรงมาเกือบ 4 เดือนนับตั้งแต่เข้าซื้อในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 27 ก.ย.2560 ส่งผลให้ราคาหุ้นอ่อนตัวลงมาต่ำกว่าระดับราคา IPO ที่ 7.70 บาท

ด้านนักวิเคราะห์มองว่าราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงเป็นโอกาสในการเข้าซื้อหุ้น เนื่องจากมองว่าผลประกอบการในปี 2561 ยังเติบโตโดดเด่น ขณะเดียวกันบริษัทมีแผนขยายธุรกิจพลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งหุ้นยังโอกาสปรับตัวขึ้นได้ โดยราคาเป้าหมายเฉลี่ยอยู่ที่ 10.10 บาท

บล.เอเชีย เวลท์ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า SSP ( IAAs Consensus 10.10 บาท) เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีแนวโน้มเติบโตสูง คาดกำไรปี 2561 จะเติบโดดเด่นประมาณ  50%YoY ปัจจุบันบริษัทฯ มีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งเท่ากับ 52 MW และในไตรมาส 1/2561 จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งเพิ่มเข้ามา 21 MW จากโครงการ Hidaka ในประเทศญี่ปุ่น

ล่าสุดบริษัทฯ ได้ลงทุนในโครงการ Khunshight Kundi ในมองโกเลียซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 16.4 MW และมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (SCOD) ในไตรมาส  1/2562 โดยบริษัทจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งเพิ่มเข้ามาระหว่างปี 2561-2563 รวมเป็น  178.8 MW เฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ  50.9% ภายในเวลา 3 ปี) อยู่ระหว่างจัดทำบทวิเคราะห์หุ้น SSP ซึ่งจะนำเสนอออกมาเร็ว ๆ นี้

บล.ยูโอบี เคย์เฮียน  ระบุในบทวิเคราะห์ว่า SSP ราคาที่ปรับลดลงสะท้อนความกังวลจากการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนเงินกู้ของบริษัทลูก (รายการระหว่างกัน ให้กู้โดย SSP) จากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น กระทบต่อกำไรไตรมาส 4/60 อย่างไรก็ตามราคาที่ลดลงใกล้ IPO ที่ 7.40 บาท มองเป็นโอกาส”ซื้อถัว”กำไรไตรมาส 1/61 คาดฟื้นตัวจากการเริ่มขายไฟโครงการ Hidaka 17MW (ปัจจุบัน 52MW)

บริษัท เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SSP เปิดเผยว่า บริษัทเล็งขยายธุรกิจพลังงานทดแทนในภูมิภาคเอเชีย เพื่อต่อยอดกำลังผลิตไฟฟ้าในมือให้เพิ่มขึ้น หลังจากแผนงานในปัจจุบันใกล้ทะลุเป้าหมายแรกที่ 200 เมกะวัตต์ (MW) ภายในปี 63 แล้ว

โดยเบื้องต้นมองโอกาสที่จะลงทุนผลิตไฟฟ้าในมองโกเลียเพิ่มเติม หลังจากร่วมกับพันธมิตรญี่ปุ่นสร้างแห่งแรกที่มีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ต้นปี 62 พร้อมทั้งศึกษาการลงทุนในประเทศอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น เมียนมา เวียดนาม และ อินโดนีเซีย เป็นต้น ซึ่งไม่เพียงแต่โซลาร์ฟาร์ม แต่ศึกษาไปถึงพลังงานประเภทอื่น ๆ ด้วย

ขณะที่ในประเทศไทย มีแผนขยายการลงทุนหรือการรับงานติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป หลังจากที่ได้ดำเนินการไปแล้ว 2 แห่งในสมุทรสาคร และราชบุรี โดยมองว่ายังมีโอกาสทางธุรกิจอีกมาก รวมทั้งติตดามความชัดเจนของนโยบายภาครัฐที่จะเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในระยะต่อไป ซึ่งบริษัทให้ความสนใจโรงไฟฟ้าพลังงานลมด้วยเช่นกัน

Back to top button