SCC ร่วง 12 บ. โบรกฯ มอง Demand ปูนซีเมนต์ยังไม่ฟื้น-ผลประกอบการ Q3 ต่ำสุด

SCC ณ เวลา 10.14 น. ราคาอยู่ที่ 460บาท ลบ 12 บาท หรือ 2.54% สูงสุดที่ 470 บาท ต่ำสุดที่ 454 บาท มูลค่าซื้อขายที่ 954.59ล้านบาท โดยราคาหุ้นปรับตัวลงแรงเป็นวันที่ 2 ฟากโบรกฯ มอง Demand ปูนซีเมนต์ยังไม่ฟื้น-ผลประกอบการ Q3 เป็นจุดต่ำสุด


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาหุ้นบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) หรือ SCC ณ เวลา 10.14 น. ราคาอยู่ที่ 460บาท ลบ 12 บาท หรือ 2.54% สูงสุดที่ 470 บาท ต่ำสุดที่ 454 บาท มูลค่าซื้อขายที่ 954.59 ล้านบาท ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยโดยรวมลบ 0.29%

โดยราคาหุ้น SCC มีการปรับตัวลงแรงเป็นวันที่ 2 หลังจากวานนี้ (23 ก.ย.) ราคาหุ้นอยู่ที่ 472 บาท ลบ 20 บาท หรือ 4.07% สูงสุดที่ 486 บาท ต่ำสุดที่ 472 บาท มูลค่าซื้อขายที่ 2.82 พันล้านบาท

 

บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ (24 ก.ย.) แนะนำ ซื้อบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC ด้วยราคาเป้าหมาย 659 บาท โดยราคาหุ้นเมื่อวานนี้ที่ปรับลดลงแรง 4% มาที่ระดับ 472 บาท (-2 S.D) ถือเป็นโอกาสในการเข้าซื้อที่ดี ทั้งในแง่ของราคาหุ้นที่ laggard หุ้นกลุ่มปูนซีเมนต์, การทำราคาปิดประจำงวดไตรมาส 3/58 (มีกองทุนขนาดใหญ่ถือหุ้นเกิน 0.5% ลงทุนอยู่ 2 กอง) และผลกำไรในครึ่งปีหลังที่จะฟื้นตัว

โดยราคาหุ้น SCC ปรับลดลง 7.1% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา เทียบกับ SCCC +2.6%, TPIPL +13.9% และตลาดฯ (SET) ที่ +0.7% โดยเราคาดว่าความต้องการปูนซีเมนต์น่าจะขยายตัวสูงขึ้นตั้งแต่ครึ่งปีหลังปี 58 จากเงินลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและภาคการพาณิชย์ ในระยะสั้น SCC คาดว่าจะสามารถคงมาร์จินของธุรกิจปิโตรเคมีไว้ในระดับสูงด้วยการเปลี่ยนจากการผลิตเอทิลีนเป็นผลิตภัณฑ์ปลายน้ำที่มีมาร์จินสูงกว่าเพื่อให้การดำเนินมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้บริษัทสามารถทำได้ด้วยการเพิ่มส่วนแบ่งรายได้จากผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษหรือ HVA จาก 27% เป็น 30% ของรายได้รวมของธุรกิจปิโตรเคมี ส่วนในระยะยาว SCC คาดว่ามาร์จินเอทิลีนจะอยู่ในขาขึ้นจนถึงปี 62 เนื่องจากคาดว่าจะมีอุปทานใหม่ลดลง

 

บล.กสิกรไทย ระบุในบทวิเคราะห์ (23 ก.ย.) ว่า SCC ปรับลงหนักหน่วงสะเทือนใจกว่า 3.66% ดึงดัชนีลง 2.28 จุด จากการหาข้อมูลและวิเคราะห์สาเหตุ โดยนักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีของ KS ประเมินว่าน่าจะเกิดจาก Demand ปูนซีเมนต์ในประเทศ ยังไม่โตในไตรมาส 3/58 ซึ่งทำให้เกิด Downside ของประมาณการณ์เติบโตที่ฝ่ายวิจัยทำไว้ ซึ่งถ้าลองทำ Sensitivity ของการเติบโตให้เหลือ 0% จะทำให้กำไรสุทธิหายไป 1.2 พันล้านบาทหรือ 3% ของประมาณการณ์กำไรปี 2558

ทั้งนี้ผลประกอบการในไตรมาส 3/58 น่าจะเป็นจุดต่ำสุดจาก Demand ปูนซีเมนต์ที่ไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง และ Spread ปิโตรเคมีลดลง เบื้องต้นประเมินกำไรไตรมาส 3/58 ไว้ที่ 9 พันถึง 1 หมื่นล้านบาท ลดลง 30-35% จากไตรมาสก่อน

Back to top button