3 หุ้นอสังหาฯวิ่ง! อานิสงส์ยอดโอนทะลุ 1 ล้านลบ. ก่อนสิ้นมาตรการ LTV ปีนี้

3 หุ้นอสังหาฯวิ่ง! อานิสงส์ยอดโอนบ้านทะลุ 1 ล้านล้านบาท ก่อนมาตรการ LTV สิ้นสุดปีนี้ โบรกชู AP-SPALI-ORI เด่นกลุ่ม


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์วิ่ง นำโดย บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC ณ เวลา 10: 20 น. ราคาอยู่ที่ 4.34 บาท บวก 0.12 บาท หรือ 2.84% สูงสุดที่ 4.36 บาท ต่ำสุดที่ 4.22 บาท มูลค่าซื้อขายที่ 40.85 ล้านบาท

บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AP ณ เวลา 10: 23 น. ราคาอยู่ที่ 11.20 บาท บวก 0.10 บาท หรือ 0.90% สูงสุดที่ 11.20 บาท ต่ำสุดที่ 11.10 บาท มูลค่าซื้อขายที่ 12.53 ล้านบาท

บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ณ เวลา 10:24 น. ราคาอยู่ที่ 11.00 บาท บวก 0.10 บาท หรือ 0.92% สูงสุดที่ 11.00 บาท ต่ำสุดที่ 10.90 บาท มูลค่าซื้อขายที่  8.75 ล้านบาท

ด้านบริษัท หลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) ระบุในทวิเคราะห์วันนี้(19 ธ.ค.65) ว่า ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ระบุสิ้นสุดมาตรการ LTV หรือ Loan to Value ปีนี้ 100% ส่งผลให้คนแห่โอนบ้านทะลุ 1 ล้านล้านบาทสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เก็บสถิติมา เหตุหวั่นราคาที่อยู่อาศัยดีดตัวขึ้น 5-10% โดยเทียบช่วง 9 เดือนปี 65 ที่ยอดโอนราว 7.33 แสนล้านบาท บวกต่อหุ้นอสังริมทรัพย์ระดับกลางที่ลุ้นกำไรไตรมาส 4/65เป็นจุดเร่งตัวสุด แนะนำหุ้น บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AP, บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI , บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI

ด้านนายวิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์​ ระบุว่า​ ต้องจับตาในช่วงไตรมาส 4 คาดว่าจะมียอดโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มขึ้น​ เพราะจะสิ้นสุดมาตรการ LTV จะทำให้ผู้ประกอบการเร่งโอนที่อยู่อาศัยสูงถึง 1 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่ประมาณ 950,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์

แต่สำหรับปี 2566 มองว่า ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะลดลงกว่าปี 2565 ประมาณร้อยละ 14​ ของจำนวนหน่วยขายและลดลงร้อยละ​ 10 ของยอดมูลค่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบมาจากการยกเลิกมาตรการ LTV ที่ทำให้ผู้ประกอบการเข้าถึงสินเชื่อได้ยากขึ้นทำให้การลงทุนอสังหาฯลดลง

ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กระทบต่อการลงทุนในตลาดอสังหาฯ รวมถึงมาตรการภาษีที่ดินที่จะกลับมาจัดเก็บ 100% จึงส่งผลต่อต้นทุนเพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการจากการสต๊อกที่ดินเปล่า และสต๊อกเหลือขาย

ดังนั้น​ ในปีหน้า​อยากให้รัฐบาลและแบงค์ชาติ พิจารณาปรับลดค่าโอนกรรมสิทธิ์และจดจำนอง และขยายมาตรการ LTV ออกไปอีก 6 เดือน หรือ 1 ปี เพื่อกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และลดผลกระทบราคาบ้านที่จะปรับตัวสูงขึ้นในปีหน้า ร้อยละ ​5-10 จากต้นทุนค่าแรงและวัสดุก่อสร้าง

Back to top button