ดักเก็บ 3 หุ้นนิคมฯตัวท็อป! รับเม็ดเงินต่างชาติแห่ลงทุนไทย 2 เดือนแรกทะลุ 2.7 หมื่นล้าน

ดักเก็บ 3 หุ้นนิคมฯตัวท็อป! รับอานิสงส์เม็ดเงินต่างชาติลงทุนในไทย 2 เดือนแรกโตทะลัก 305% แตะ 2.7 หมื่นล้าน ชู 5 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น,สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา,จีน และสมาพันธรัฐสวิส


บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้(20 มี.ค.66) ว่า รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-ก.พ.66) คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวได้อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวพ.ศ.2542 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปี 65 พบว่า การอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย เพิ่มขึ้น 51 ราย คิดเป็น 82% (เดือน ม.ค.-ก.พ.66 อนุญาต 113 ราย เทียบเดือน ม.ค.-ก.พ.65 อนุญาต 62 ราย) มูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 20,154 ล้านบาท คิดเป็น 305% (เดือน ม.ค.-ก.พ.66 ลงทุน 26,756 ล้านบาท/ เดือนม.ค.-ก.พ.65 ลงทุน 6,602 ล้านบาท) และจ้างงานคนไทยเพิ่มขึ้น 412 ราย คิดเป็น 33% (เดือน ม.ค.-ก.พ.66 จ้างงาน1,651 คน/ เดือน ม.ค.-ก.พ.65 จ้างงาน 1,239 คน) โดยจำนวนชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนสูงสุด คือ ญี่ปุ่นเช่นเดียวกับปี65

สำหรับชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น 25 ราย (22%) เงินลงทุน 8,545 ล้านบาท, สิงคโปร์19ราย (17%) เงินลงทุน 3,090 ล้านบาท, สหรัฐอเมริกา 13 ราย (12%) เงินลงทุน 1,314 ล้านบาท, จีน 10 ราย (9%)เงินลงทุน 1,098 ล้านบาท และสมาพันธรัฐสวิส 6 ราย (5%) เงินลงทุน 966 ล้านบาท

โดยผลกระทบดังกล่าวเป็นบวกต่อหลักทรัพย์กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม เพราะเพียง 2 เดือนแรกของปี 66 จำนวนรายของต่างชาติที่มาลงทุนเพิ่ม และมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นถึง 82% และ 305% ตามล าดับ ด้านต่างชาติที่มาลงทุนมากที่สุดคือ ญี่ปุ่นขณะที่จีน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เคยมาลงทุนมากสุดกลับตกไปอยู่ในลำดับที่ 4 คาดว่าเมื่อจีนกลับมาเปิดประเทศมากขึ้น หลังปรับเปลี่ยนไม่ใช้นโยบาย Zero Covid แต่เน้นกระตุ้นเศรษฐกิจจีน ในช่วงเดือนถัดๆมาล าดับจะยิ่งดีขึ้นและมูลค่าเงินลงทุนจะยิ่งเพิ่มขึ้นมาก

คำแนะนำ: จะสังเกตได้ว่าแม้ SET จะตกหนักในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาแต่หุ้นนิคมฯกลับเพิ่มได้อย่างแข็งแกร่ง คาดว่ามีสาเหตุจาก 1. แม้เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง แต่กระแสการย้ายฐานการผลิต จากเหตุความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง, 2.ประเทศในโซนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ยังน่าลงทุน มีความดีงดูดใจในเรื่อง ค่าแรง, ความสามารถคนงาน,การส่งเสริมลงทุนจากภาครัฐและเป็นตลาดขนาดใหญ่ของสินค้าที่ผลิต และ3.อุตสาหกรรมต่างๆ ที่ทันสมัยยังมีความต้องการที่จะขยายการลงทุนอีกมาก เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า,อิเล็กทรอนิกส์,อาหาร,บรรจุภัณฑ์และโลจิสติกส์เป็นต้น

โดยคาดว่าผลประกอบการหลักทรัพย์กลุ่มนี้ยังไปได้ดี เพราะมียอดขายรอโอน (Backlog) จำนวนมาก, ยอดขายที่ดินปีนี้ที่ยังไปได้ดี อีกทั้งอุตสาหกรรมไฟฟ้าที่ลงทุน จะดีกว่าปีที่แล้วเพราะราคาต้นทุนพลังงานลดลง ทั้งก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน กอปรกับได้ปรับขึ้นค่าไฟฟ้า Ft อย่างต่อเนื่อง หลักทรัพย์ AMATA,ROJNA และ WHA จึงน่าสนใจต่อไป

ด้านบริษัท หลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้(20 มี.ค.66) ว่า รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.พ.66) คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ได้อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 จำนวน 113 ราย เม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 26,756 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 305% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน บ่งชี้การฟื้นตัวของการเข้ามาลงทุนชาวต่างชาติ บวกต่อกลุ่มนิคม (AMATA, WHA)

Back to top button