หุ้นแบงก์-ประกันวิ่ง! รับบอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่ง พ่วงดอกเบี้ยขาขึ้น

หุ้นแบงก์-ประกันวิ่งคึก! รับบอนด์ยีลด์สหรัฐ 10 ปี พุ่งเหนือ 4% พ่วงดอกเบี้ยขาขึ้น BBL-KTB-TLI-BLA นำทีมเด่น


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้(4 ส.ค.66) ราคาหุ้นกลุ่มแบงก์-ประกันบวกคึก นำโดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ราคาหุ้น ณ เวลา 11:18 น. อยู่ที่ระดับ 168.00 บาท บวก 1.00 บาท หรือเพิ่มขึ้น 0.60% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 498.02 ล้านบาท

ส่วนธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB ราคาหุ้น ณ เวลา 11:09 น. อยู่ที่ระดับ 20.10 บาท บวก 0.20 บาท หรือเพิ่มขึ้น1.01% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 387.08 ล้านบาท

ด้านธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB ราคาหุ้น ณ เวลา 11:10 น. อยู่ที่ระดับ 1.68 บาท บวก 0.03 บาท หรือเพิ่มขึ้น 1.82% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 262.05 ล้านบาท

ด้านธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ราคาหุ้น ณ เวลา 11:11 น. อยู่ที่ระดับ 111.50 บาท บวก 0.50 บาท หรือเพิ่มขึ้น 0.45% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 170.69 ล้านบาท

ส่วนบริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ  BLA ราคาหุ้น ณ เวลา 11:12 น. อยู่ที่ระดับ 24.40 บาท บวก 0.40 บาท หรือเพิ่มขึ้น 1.67% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 7.81 ล้านบาท

บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ TLI ราคาหุ้น ณ เวลา 11:13 น. อยู่ที่ระดับ 11.10 บาท บวก 0.10 บาท หรือเพิ่มขึ้น 0.91% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 14.53 ล้านบาท

บล.กรุงศรี ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้(4 ส.ค.66) ว่า ประเมิน SET แกว่งตัว 1,520 – 1,540 จุด ภาวะตลาดยังคงถูกกดดันจาก Fund flow ที่ไหลออกหลังฟิทช์ เรทติ้งส์ลดอันดับความน่าเชื่อถือสหรัฐลงส่งผลให้ บอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่งขึ้นเหนือ 4% รวมถึงภาวะการเมืองการจัดตั้งรัฐบาลที่ยืดเยื้อ อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบที่ดีดตัวขึ้นจากแนวโน้มอุปทานตึงตัวหลังซาอุฯขยาย เวลาการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันจะช่วยหนุนให้ดัชนีรีบาวด์ขึ้นได้กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ BBL,KTB,TTB,BLA,TLI, อานิสงส์บอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่งขึ้นเหนือ 4%

นอกจากนี้เมื่อวันที่ 2 ส.ค.66 กนง.มีมติเป็นเอกฉัณฑ์ให้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 2% เป็น 2.25% นับเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 7 และเป็นระดับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในรอบ 9 ปี การปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นบวกโดยตรงต่อกลุ่มธนาคารโดยเฉพาะ 4 แบงก์ใหญ่คือ BBL KBANK, SCB และ KTB

บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้(4ส.ค.66) ว่า บอนด์ยีลด์สหรัฐ 10 ปี ปรับขึ้นต่อเป็นวันที่ 4 +18 bps สู่ 4.2% เช่นเดียวกับ 2 ปี ปรับขึ้น +2 bps สู่ 4.9% ส่วนค่าเงินดอลลาร์แกว่งตัวแข็งค่าต่อ 102.5 จุด

โดยเมื่อวันที่ 2 ส.ค.66 คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.  มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 2% เพิ่มเป็น 2.25% ต่อปี เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยอุปสงค์จากต่างประเทศล่าสุดชะลอลงบ้าง อีกทั้ง  อัตราเงินเฟ้อปรับลดลงและมีแนวโน้มทรงตัวในกรอบเป้าหมายแต่ยังมีความเสี่ยงด้านสูง

โดยกนง. ประเมินว่า ในบริบทเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวกลับเข้าสู่ระดับศักยภาพ นโยบายการเงินควรดูแลให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมายอย่างยั่งยืน และช่วยเสริมเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาวโดยการป้องกันการสะสมความไม่สมดุลทางการเงินที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน รวมทั้งรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่อยู่ในระดับสูง โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมจะพิจารณาให้เหมาะสมกับแนวโน้มและความเสี่ยงของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ

นอกจากนี้ กนง. ระบุว่า ไทยมีแนวโน้มขยายตัวจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ รวมถึงคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ทำให้มีการคาดประเมิณการได้อีกว่า ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ ขณะที่ภาวะการเงินผ่อนคลายลดลง  โดยกนง. สนับสนุนการดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง คือการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible lending)

ด้าน SCB EIC เผยว่า SCB EIC คาดว่า กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้งในการประชุมเดือนกันยายนนี้ สู่ระดับ Terminal rate ที่ 2.5% ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับศักยภาพและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 1-3% ของ ธปท. อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ การปรับนโยบายการเงินให้กลับเข้าสู่ระดับปกติจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real interest rate) ของไทยกลับมาเป็นบวกได้เช่นเดียวกับในช่วงก่อน COVID-19 หลังจากที่ติดลบต่อเนื่องในช่วงหลัง COVID-19 ที่ผ่านมา ซึ่งจะช่วยเสริมเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาวโดยการป้องกันการสะสมความไม่สมดุลทางการเงินที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน รวมทั้งจะช่วยรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงิน (Policy space) ในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่อยู่ในระดับสูง

ดังนั้น SCB EIC จึงปรับนโยบายอัตราดอกเบี้ยขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการระดมทุนในตลาดสินเชื่อของไทยปรับสูงขึ้น ต้นทุนการระดมทุนในตลาดสินเชื่อของไทยได้ปรับสูงขึ้นตามทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยนับตั้งแต่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 2565 จนถึงเดือนมิถุนายน 2566 กนง. ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรวมทั้งสิ้น 1.5% และพบว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) อัตราดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อปล่อยใหม่ของภาคธุรกิจถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (NLR) และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) โดยเฉลี่ยได้ปรับเพิ่มขึ้น 1.1% 1.0% 0.8% และ 0.7% ตามลำดับ หรือคิดเป็นอัตราการส่งผ่าน

อย่างไรก็ตาม ต้นทุนการระดมทุนของภาคธุรกิจในตลาดตราสารหนี้ก็ปรับสูงขึ้นตามทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในทุกช่วงอายุปรับเพิ่มขึ้นมื่อเทียบกับช่วงก่อนที่ กนง. จะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาส 3 ของปี 2022 โดยพบว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะสั้น (อายุไม่เกิน 1 ปี) มีค่า Correlation กับอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงราว 0.8-0.9 อย่างไรก็ดี ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นจากพันธบัตรรัฐบาล (Corporate spread) ซึ่งสะท้อนต้นทุนการระดมทุนของภาคธุรกิจในการออก

ทั้งนี้ การระดมทุนของภาคธุรกิจผ่านตลาดตราสารหนี้มีแนวโน้มชะลอลง เนื่องจากหลายธุรกิจได้เร่งออกหุ้นกู้ไปแล้วในช่วงที่ผ่านมาเพื่อล็อกต้นทุนอัตราดอกเบี้ย ขณะที่นักลงทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการลงทุนในตลาดตราสารหนี้จากความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ระดมทุนบางรายที่ปรับสูงขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี ตลาดตราสารหนี้มีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงมีจำนวนบริษัทที่ถูกปรับลด Credit rating และ Outlook ลงมากขึ้น ซึ่งถือเป็นปัจจัยกดดันการลงทุนในตลาดตราสารหนี้และถือเป็นความเสี่ยงต่อการ Roll-over ตราสารหนี้ในกลุ่ม High-yield ที่จะครบกำหนดอายุของภาคธุรกิจ นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอาจกระทบต่อการระดมทุนและความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนกลุ่มเปราะบางและผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพสินเชื่อ ขณะที่แม้การระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา แต่คาดว่าจะเริ่มชะลอลงในระยะต่อไป

Back to top button