TVT อัฐแม่ซื้อขนมลูก.!?

น่ากังขาธุรกรรมการเข้าซื้อหุ้นบริษัท มีราญ่า จำกัด (เพื่อทำธุรกิจเครื่องสำอาง) ของบริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TVT (ผ่านบริษัท อีเอ็ม เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด) ด้วยสายสัมพันธ์อันลึกซึ้งทั้ง 2 บริษัท ที่แยกกันไม่ออกในเชิงพฤตินัย แม้ในเชิงนิตินัย..ดูเป็นคนละนิติบุคคลก็ตาม ที่มากกว่านั้นคือ “ทำไมต้องซื้อ” ตั้งใหม่ไม่ง่ายกว่าหรือ.!??


แฉทุกวันทันเกมหุ้น

น่ากังขาธุรกรรมการเข้าซื้อหุ้นบริษัท มีราญ่า จำกัด (เพื่อทำธุรกิจเครื่องสำอาง) ของบริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TVT (ผ่านบริษัท อีเอ็ม เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด) ด้วยสายสัมพันธ์อันลึกซึ้งทั้ง 2 บริษัท ที่แยกกันไม่ออกในเชิงพฤตินัย แม้ในเชิงนิตินัย..ดูเป็นคนละนิติบุคคลก็ตาม ที่มากกว่านั้นคือ “ทำไมต้องซื้อ” ตั้งใหม่ไม่ง่ายกว่าหรือ.!??

ปมเหตุที่ต้องตั้งข้อกังขา ก็ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า บริษัท มีราญ่า จำกัด เพิ่งจดทะเบียน เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2561 ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์สั่งเข้า ส่งออก ซึ่งสินค้าตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ (บอกไว้แค่นี้) มีนายณฐกฤต วรรณภิญโญ นางสาววรยา วงศ์บุษราคัม นางสาวอิสรีย์ กฤตนิรัติศัย เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

จุดเชื่อมโยงกับ TVT อยู่ตรงที่ “ณฐกฤต วรรณภิญโญ” หรือ “จ๊อบ” เป็นเจ้าของมีราญ่า และเป็นกรรมการ TVT อีกด้วย..ลึกกว่านั้น “มาดามโจ้” ภัทรภร วรรณภิญโญ ผู้ถือหุ้นใหญ่และซีอีโอใหญ่ TVT เป็นแม่ของ “จ๊อบ” และ “สมพงษ์ วรรณภิญโญ” กรรมการและผู้ถือหุ้นใหญ่ TVT คือพ่อของ “จ๊อบ” นั่นเอง..

เอาเป็นว่า..เป็นที่เข้าใจความสัมพันธ์ (อันลึกซึ้ง) กันแล้วนะ..!!

ประเด็นต่อมาคือ..ทำไม TVT ไม่ใช้วิธีตั้งบริษัทใหม่ เพื่อทำธุรกิจเครื่องสำอางไปซะเลย..แต่ใช้วิธีการเข้าซื้อหุ้นบริษัท มีราญ่า จำกัด ซะอย่างงั้น..!? มันจึงคิดเป็นอย่างอื่นมิได้นอกจากว่าคำว่า “อัฐแม่ซื้อขนมลูก” ซึ่งคงไม่แปลกอะไรหากเป็นบริษัทจดทะเบียนนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ

แต่ TVT เป็นบริษัทมหาชน การทำธุรกรรมเช่นนี้ อาจถูกติฉินนิทาจากผู้ถือหุ้นร่ายย่อยได้ว่า..“แม่เอาเงินมหาชน นำไปอุ้มบริษัทลูก” หรือบางคนอาจคิดเลยเถิดไปว่า “เอาเงินบริษัทมาเข้ากระเป๋าครอบครัวตัวเอง” ในความเป็นจริงอาจไม่ถึงขั้นนั้น แต่คงห้ามความคิดใครไม่ได้..!!

สิ่งที่น่าแปลกคือ..บริษัท มีราญ่า จำกัด มีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท แต่ยังไม่มีธุรกรรมอะไร แล้วอย่างนี้ TVT จะต้องซื้อราคาเท่าใด..หากซื้อที่มูลค่า 5 ล้านบาท..เอ.ดูจะเยอะเกินไปหรือไม่..กับบริษัทเปิดใหม่เอี่ยม.!?

ดังนั้น TVT ควรใช้วิธีจัดตั้งบริษัทใหม่ ด้วยทุนต่ำกว่า 5 ล้านบาท ไม่ดีกว่าหรือ.? จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มทุนเข้าไป หากธุรกิจเครื่องสำอาง..เติบโตไปได้ดี จนต้องขยายการลงทุนในอนาคต

หากมองเชิงยุทธศาสตร์ TVT (ตัดเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนออกไป) ถือเป็นการกระจายความเสี่ยงที่น่าสนใจทีเดียว เพราะดูจากงบการเงินย้อนหลัง 3 ปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงาน TVT กำไรถดถอยน่าใจหาย..!!

เริ่มจากปี 2558 กำไรสุทธิ 50.26 ล้านบาท ปี 2559 กำไรสุทธิ 48.37 ล้านบาท ปี 2560 กำไรสุทธิ 19.38 ล้านบาท และครึ่งแรกปี 2561 กำไรสุทธิ 6.76 ล้านบาท

“ธุรกิจเครื่องสำอาง” อาจเป็นโอกาสใหม่ของ TVT ในการใช้ทรัพยากรศิลปินในเครือทีวีธันเดอร์ มาส่งเสริมมูลค่าและกระตุ้นการตลาดเครื่องสำอาง..ดั่งเช่น “เฮียฮ้อ” สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ บอสใหญ่บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ RS ทำและประสบความสำเร็จมาได้ระดับหนึ่งแล้ว

แต่..เอาเถอะสุดท้ายมาติดตรงที่ “อัฐแม่ซื้อขนมลูก” นี่แหละ..ที่กังขาไม่หายจริง ๆ..!!??

…อิ อิ อิ…

Back to top button