เอราวัณสะดุด.! ผลกระทบเชิงห่วงโซ่

มีสัญญาณชัดเจนว่า..การเปลี่ยนผ่าน “สัมปทานปิโตรเลียมแหล่งเอราวัณ” จากเจ้าถิ่นเดิมบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด สู่ผู้รับสัมปทานใหม่บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP จะเกิดสุญญากาศจน PTTEP เข้าพื้นที่ไม่ทันตามกำหนด


สำนักข่าวรัชดา

มีสัญญาณชัดเจนว่า..การเปลี่ยนผ่าน “สัมปทานปิโตรเลียมแหล่งเอราวัณ” จากเจ้าถิ่นเดิมบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด สู่ผู้รับสัมปทานใหม่บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP จะเกิดสุญญากาศจน PTTEP เข้าพื้นที่ไม่ทันตามกำหนด

โดยสัญญาสัมปทานแหล่งเอราวัณ ที่ดำเนินการโดยบริษัท เชฟรอนฯ จะสิ้นสุดอายุสัมปทานวันที่ 23 เม.ย. 2565 และรัฐบาลไทยจัดประมูลเป็นรูปแบบระบบแบ่งปันผลผลิต และปตท.สผ.พร้อมพันธมิตรชนะการประมูลเมื่อช่วงเดือน ก.พ. 2562 และเตรียมแผนผลิตก๊าซธรรมชาติต่อเนื่องอัตราราว 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันหลังหมดอายุสัมปทาน

ล่าสุดปตท.สผ.แจ้งความคืบหน้าว่า 2 ฝ่ายได้ลงนามข้อตกลงเข้าพื้นที่ระยะที่ 1 ตั้งแต่เดือน ส.ค. 2562 เพื่อให้ปตท.สผ.เข้าสำรวจพื้นที่เท่านั้น

แต่เมื่อเข้าสู่การเจรจาข้อตกลงเข้าพื้นที่ระยะที่ 2 เพื่อเข้าดำเนินการติดตั้งแท่นหลุมผลิตและเจาะหลุมผลิต ที่มีความจำเป็นต่อการเตรียมการผลิต แต่ผู้รับสัมปทานปัจจุบันคือเชฟรอนฯ ไม่ยินยอมให้เข้าดำเนินการ

จึงนำไปสู่ความกังวลที่ว่า จะมีผลกระทบกับความต่อเนื่องของการผลิตก๊าซธรรมชาติเพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลังงานของประเทศ เริ่มจากระดับประเทศ ที่ปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และความต่อเนื่องของกระบวนการผลิต

ตามมาด้วยระดับภาคอุตสาหกรรม ด้วยความเป็นเชื้อเพลิงสำหรับทุกภาคอุตสาหกรรมในการผลิต ทำให้ต้องนำเข้า LNG จากต่างประเทศ ส่งผลกระทบต้นทุนการผลิตทุกอุตสาหกรรมทั่วประเทศ

กระทบต่อเนื่องถึงระดับภาคประชาชน เพราะการนำเข้า LNG จากต่างประเทศ ส่งผลต่อราคาก๊าซหุงต้มอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ปมปัญหาเรื่องนี้..มิใช่ความขัดแย้งโดยตรงระหว่าง “เชฟรอนฯ” กับ “ปตท.สผ.” ในฐานะเจ้าของสัมปทานเดิมกับผู้รับสัมปทานใหม่ แต่ลึก ๆ แล้วเป็นปมความขัดแย้งระหว่าง “เชฟรอนฯ” กับ “รัฐบาลไทย” ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเรื่องการรื้อถอนแท่นขุดเจาะต่าง ๆ หลังสิ้นสุดสัมปทาน

ที่รัฐบาลไทยต้องการใช้ประโยชน์แท่นขุดเจาะบางส่วน..แต่ผูกเงื่อนไขให้เชฟรอนฯ..ต้องจ่ายค่ารื้อถอนแท่นขุดเจาะล่วงหน้า (หากต้องรื้อถอนในอนาคต)..แต่เชฟรอนฯ ไม่ยินยอม..!!

และเชื่อว่า..คงไม่มีเอกชนรายใดในโลกจะยอมรับได้..!!???

จากปมแย้งเรื่อง “เงื่อนไข” กลายมาสู่ “เงื่อนตาย” ที่ปตท.สผ.ต้องมาแบกรับความเสี่ยงรอยต่อสัมปทาน จนเกิด “ผลกระทบเชิงห่วงโซ่” ที่คนไทยต้องมานั่งรับกรรมที่ไม่ได้ก่อกันต่อไป

…อิ อิ อิ…

Back to top button