PTTEP กับแผน Expand & Execute

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP ไม่สามารถเข้าพื้นที่เพื่อติดตั้งแท่นและเจาะหลุมผลิตปิโตรเลียมในแหล่งเอราวัณได้ทันตามกำหนด โดยการติดตั้งแท่นผลิตดังกล่าว ถือเป็นส่วนสำคัญที่สุด ที่จะทำให้บริษัทสามารถดำเนินการผลิตก๊าซธรรมชาติ ได้ตามสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) ที่กำหนดปริมาณผลิตก๊าซฯ ที่ระดับ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ทันทีหลังหมดสัญญาในเดือนเมษายน 2565


เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP ไม่สามารถเข้าพื้นที่เพื่อติดตั้งแท่นและเจาะหลุมผลิตปิโตรเลียมในแหล่งเอราวัณได้ทันตามกำหนด โดยการติดตั้งแท่นผลิตดังกล่าว ถือเป็นส่วนสำคัญที่สุด ที่จะทำให้บริษัทสามารถดำเนินการผลิตก๊าซธรรมชาติ ได้ตามสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) ที่กำหนดปริมาณผลิตก๊าซฯ ที่ระดับ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ทันทีหลังหมดสัญญาในเดือนเมษายน 2565

ปมเหตุหลักมาจากกระทรวงพลังงาน ภายใต้การดำเนินงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ไม่สามารถหาข้อสรุปกับบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในฐานะผู้รับสัมปทานเดิมว่าด้วยเรื่องค่ารื้อถอนแท่นขุดเจาะมูลค่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 48,000 ล้านบาท)

สำหรับแผนการลงทุน PTTEP ช่วง 5 ปี (2564-2568) มูลค่ากว่า 23,637 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 732,000 ล้านบาท) วางเป้าปริมาณขายเติบโตเฉลี่ยปีละ 6% สู่ระดับ 462,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2568

โดยปี 2564 ดำเนินการภายใต้กลยุทธ์การดำเนินการ (Execute) และกลยุทธ์การขยายธุรกิจ (Expand) เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 4,196 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งเป็นรายจ่ายจากการลงทุน (Capex) จำนวน 2,558 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และรายจ่ายดำเนินงาน (Opex) จำนวน 1,608 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสาระสำคัญแผนการลงทุนนั่นคือ…

การรักษาปริมาณการผลิตจากโครงการผลิตหลักที่สําคัญ ได้แก่ โครงการเอส 1 โครงการบงกช โครงการอาทิตย์ โครงการในมาเลเซียและโครงการซอติก้า รวมถึงการเตรียมความพร้อมการดำเนินการโครงการ จี 1/61 (แหล่งเอราวัณ) และ จี 2/61 (แหล่งบงกช) ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยได้จัดสรรรายจ่ายลงทุน 1,943 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าว

การเพิ่มปริมาณการผลิตในอนาคต ที่มุ่งเน้นและผลักดัน 2 โครงการหลักที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ได้แก่ โครงการโมซัมบิกแอเรีย วัน และโครงการแอลจีเรีย ฮาสสิ เบอร์ ราเคซ ให้สามารถเริ่มการผลิตได้ตามแผนและเร่งการพัฒนา โครงการมาเลเซีย ซาราวักเอสเค 410 บี ที่ประสบความสำเร็จในการเจาะสำรวจ เพื่อให้สามารถเข้า สู่ขั้นตอนการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (Final Investment Decision) โดยบริษัท ได้จัดสรรรายจ่ายลงทุนส่วนนี้ เป็นเงินทั้งสิ้น 493 ล้านเหรียญสหรัฐ

การเร่งกิจกรรมการสำรวจเพื่อค้นหาทรัพยากร (Contingent Resources) เพื่อรองรับการเติบโตในระยะยาวโดยจัดสรรรายจ่ายลงทุน 152 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายในการเจาะหลุมสำรวจและประเมินผลโครงการสำรวจในประเทศมาเลเซียและเม็กซิโก

จากแผนการลงทุน PTTEP ครั้งนี้ จุดที่น่าสนใจอยู่ตรงกลยุทธ์การขยายธุรกิจ (Expand) ที่มุ่งเน้นการขยายการลงทุนในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Coming-home) พร้อมแสวงหาโอกาสการลงทุนในพื้นที่อื่น ๆ ที่มีศักยภาพร่วมพันธมิตร (Strategic Allianc) และลงทุนธุรกิจใหม่เพื่อความยั่งยืน

ตามมาด้วยกลยุทธ์การดำเนินการ (Execute) นั่นคือการสร้างมูลค่าเพิ่มจากโครงการที่มีอยู่ในปัจจุบัน มุ่งเน้นการเพิ่มกำลังการผลิตจากโครงการหลัก การควบคุมต้นทุนการผลิต ด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการเปลี่ยนผ่านโครงการบงกชและเอราวัณ

ความสำเร็จจากการดำเนินการตามกลยุทธ์ Expand คือการชนะการประมูลและการเข้าซื้อกิจการพื้นที่ยุทธศาสตร์การลงทุนในประเทศไทย ประเทศมาเลเซียและตะวันออกกลาง เพื่อต่อยอดสู่กลยุทธ์ Execute โครงการหลักต่าง ๆ เพื่อรักษาปริมาณการผลิต รวมทั้งสำรวจเพื่อค้นหาปิโตรเลียมเพิ่มเติม เพื่อสร้างการเติบโตระยะยาว

แต่ปัญหาการเข้าพื้นที่ “แหล่งเอราวัณ” ไม่ได้ ทำให้ PTTEP ต้องปรับกลยุทธ์จากการขยายธุรกิจ (Expand) มาสู่กลยุทธ์การดำเนินการ (Execute) เพื่อให้สอดคล้องกับดำเนินการผลิตก๊าซธรรมชาติ ตามสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) ที่กำหนดปริมาณผลิตก๊าซฯ ที่ระดับ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ช่วงเดือน เม.ย. 2565

ทั้งที่ต้นเหตุปัญหา “แหล่งเอราวัณ” อยู่ที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ที่กำกับโดยกระทรวงพลังงาน กับ “เชฟรอน” ที่ไม่บรรลุข้อตกลงเรื่องการรื้อถอนกันได้ก็ตาม..

Back to top button