ผ่าหุ้นโดนมาตรการสกัดหุ้นร้อนปี 64

ปี 2564 พบว่ามีรายชื่อหุ้นเข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขายจำนวนมาก ทั้ง Cash Balance ระดับ 1, ระดับ 2 และระดับ 3


เส้นทางนักลงทุน

ปี 2564 พบว่ามีรายชื่อหุ้นเข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขายจำนวนมาก ทั้งระดับ 1 : Cash Balance, ระดับ 2 : ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance และ ระดับ 3 : ห้าม Net settlement, ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance ตบเท้าเข้ามากันแบบซ้ำซาก

สำหรับระดับ 1: Cash Balance มีหุ้นสามัญเข้าติดทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่รวมทั้งหมด 154 บริษัท ขณะที่ทางด้านใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์) มีจำนวน 49 หน่วย

ขณะที่ระดับ 2: ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย มีหุ้นสามัญเข้าติดหน้าเก่าและหน้าใหม่รวมทั้งหมด 29 บริษัท ขณะที่ทางด้านใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์) มีจำนวน 9 หน่วย

ส่วนระดับ 3: ห้าม Net settlement, ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance มีหุ้นสามัญเข้าติดหน้าเก่าและหน้าใหม่รวมทั้งหมด 10 บริษัท ขณะที่ทางด้านใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์) มีจำนวน 5 หน่วย

โดยสาเหตุหลักที่หุ้นสามัญและวอร์แรนต์โดนเข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขาย (Cash Balance) หรือพูดภาษาปากของนักลงทุนว่า “ติดคุก” เป็นเพราะหุ้นดังกล่าวมีการซื้อขายผิดไปจากปกติของตลาดฯ

ทั้งนี้จึงมีการป้องกันของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อความเสี่ยงอันอาจจะเกิดต่อการลงทุน และระบบโดยรวมของตลาดหุ้น จึงโดนจัดเข้าข่าย Cash Balance ในการต้องใช้เงินสดซื้อขายเต็มจำนวนเท่านั้น ไม่สามารถใช้บัญชีมาร์จิ้นซื้อขายได้

หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขาย (Cash Balance)  สำหรับหุ้นสามัญ อย่างหลักทรัพย์ในกลุ่ม SET ต้องมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์มากกว่าหรือเท่ากับ 100 ล้านบาทต่อวัน (รวม 500 ล้านบาทต่อสัปดาห์ในสัปดาห์ที่มี 5 วัน) หรือ (400 ล้านบาทต่อสัปดาห์ในสัปดาห์ที่มี 4 วัน) ส่วนหลักทรัพย์ในกลุ่ม mai ใช้เกณฑ์มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยที่ 80 ล้านบาทต่อวัน

ขณะเดียวกันมีค่า P/E มากกว่าหรือเท่ากับ 40 เท่า หรือ ขาดทุน (ตลท. จะใช้ EPS ย้อนหลัง 4 ไตรมาสในการคำนวณ) รวมถึงตลาดหลักทรัพย์ฯ จะใช้เกณฑ์ค่า Turn Over Ratio มากกว่า หรือเท่ากับ 40%

ส่วนใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์) ที่อยู่ใน SET ต้องมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์มากกว่า หรือเท่ากับ 100 ล้านบาทต่อวัน ขณะที่อยู่ใน mai ยังใช้เงื่อนไขเดียวกับวอร์แรนต์ใน SET

ประกอบกับค่า % Premium ต้องมากกว่า หรือเท่ากับ 20% ของหุ้นแม่ รวมถึงต้องมี Turn Over Ratio มากกว่า หรือเท่ากับ 100% และเพิ่มเติมเกณฑ์ให้ Warrant ของหุ้นที่ติด Cash Balance ต้องติดตามหุ้นหลักด้วย ตามระยะเวลาที่หุ้นหลักติด ถึงแม้ว่า Warrant จะเข้ามาเทรดใหม่ก็ตาม

ทางด้านข้อมูลการซื้อขายจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ตั้งแต่วันที่  1 ม.ค. 2564 ถึงสิ้นปีพบว่า มีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (บจ.) เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขายระดับที่ 1 (Cash Balance) จำนวน 156 บริษัท ได้แก่ NEX ติดไป 7 ครั้ง ตามด้วย GLOCON ติดไป 6 ครั้ง และ COMAN, DELTA, FVC, JTS, NRF, PLANET, TH, YGG ติดไป  5 ครั้ง

ขณะที่ CHAYO, JAS, KOOL, OTO, PPS, SICT, U, UPA, WINMED, PROEN ติดไป 4 ครั้ง ส่วน  AJA, ARIN, ARIP, BIG, BROOK, CHO, DITTO, EE, IMH, J, K, KWM, LEO, MORE, PSL, SAAM, SECURE, SOLAR, TRITN, WIN ติดไป 3 ครั้ง นอกจากนี้  7UP, ACAP, ADD, AF, BEAUTY, CFRESH, DIMET, DOD, EFORL, GCAP, GSC, HPT, IIG, IND, INOX, IP, KKC, MACO, MICRO, MONO, NBC, NCAP, NCL, PACO, PRAPAT, SABUY, MVP ติดไป 2 ครั้ง

ส่วนที่เหลือ SAK, SANKO, SEAOIL, SIMAT, SMT, SVT, TEAM, THCOM, TQR, UBE, UMI, UREKA, VPO, WORK, DIMET, SABUY, ABM, ACC, AQ, B, BC, BE8, BGT, BSM, BWG, BYD, CGD, CI, CIG, CMO, CMR, COTTO, CPW, CRD, DDD, ECF, ETC, FLOYD, GBX, GLORY, HENG, HL, HYDRO, INGRS, IRCP, IT, JCK, JP, JR, JWD, KCE, KEX, KISS, KK, KUMWEL, MENA, MILL, MVP, PPM, PRINC, PROUD, PSG, PSTC, RBF, SALEE, SCI, SDC, SK, SKE, SLP, STC, STOWER, TAPAC, TCC, THMUI, TKN, TKT, TM, TMI, TNDT, TRC, TTA, UKEM, W, WAVE, XPG, และ SITHAI ติดไป 1 ครั้ง

เหมือนกับใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์) เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขายระดับที่ 1 (Cash Balance) ได้แก่ NEX-W2 ติดไป 7 ครั้ง ตามด้วย GLOCON-W4 ติดไป 6 ครั้ง ขณะที่ CHAYO-W1, U-W4 ติดไป 4 ครั้ง ส่วน BROOK-W5, DOD-W1, J-W1, MORE-W2 ติดไป 3 ครั้ง

นอกจากนี้ 7UP-W4, ROOK-W6, BROOK-W7, DIMET-W3, DIMET-W4, K-W1, MINT-W6, SIMAT-W3, TRITN-W3, UREKA-W2 ติดไป 2 ครั้ง และ  APURE-W2, B-W4, BYD-W6, CGD-W5, FLOYD-W1, HYDRO-W1, JCK-W6, KWM-W1, MACO-W2, MACO-W3, MILL-W4, RS-W4, SAAM-W1, SAAM-W2, SABUY-W1, SDC-W1, SIMAT-W4, SSP-W2, SST-W2, STOWER-W3, TAPAC, TAPAC-W4, TCC-W3, TCC-W4, TCC-W5, VIBHA-W3, WAVE-W2, W-W3, W-W5, XPG-W4, MVP-W1 ติดไป 1 ครั้ง

ต่อมาเมื่อมีหุ้นบางตัวยังมีการซื้อขายที่ยังร้อนแรงต่อเนื่อง ส่งผลให้เข้ามาตรการกำกับการซื้อขาย ระดับ 2 : ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย ได้แก่ NCL ติดไป 4 ครั้ง ตามด้วย 7UP, BYD, DIMET, JTS, SANKO ติดไป 3 ครั้ง ขณะที่ DELTA, SABUY, SDC, STOWER ติดไป 2 ครั้ง และ ACC, AJA, AQ, ARIP, BIG, BWG, CMO, EFORL, GSC, IND, MVP, NBC, PSG, SAAM, SICT, TAPAC, TRC, UREKA, XPG ติดไป 1 ครั้ง

เหมือนกับใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์) เข้ามาตรการกำกับการซื้อขาย ระดับ 2 : ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย ได้แก่ DIMET-W4 ติดไป 4 ครั้ง ตามด้วย 7UP-W4, BYD-W6, DIMET-W3 ติดไป 3 ครั้ง ขณะที่ SDC-W1, STOWER-W3 ติดไป 2 ครั้ง และ TAPAC-W4, UREKA-W2, XPG-W4 ติดไป 1 ครั้ง

ส่วนเข้ามาตรการกำกับการซื้อขาย ระดับ 3 : ห้าม Net settlement, ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance ได้แก่ XPG ติดไป 9 ครั้ง ตามด้วย  SABUY ติดไป 4 ครั้ง ขณะที่ AJA, PSG ติดไป 3 ครั้ง ส่วน CMO, EFORL, MVP, UREKA ติดไป 2 ครั้ง และ TRC ติดไป 1 ครั้ง

เหมือนกับใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์) ระดับ 3 : ห้าม Net settlement, ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance ได้แก่ XPG-W4 ติดไป 9 ครั้ง ตามด้วย SABUY-W1 ติดไป 4 ครั้ง ขณะที่ AJA-W3, ติดไป 3 ครั้ง และ MVP-W1, UREKA-W2 ติดไป 2 ครั้ง

อย่างไรก็ตาม ส่วนของหุ้นที่ยังไม่หลุดที่ยังติดอยู่ในระดับที่ 1 (Cash Balance) ได้แก่ JTS จะไปหลุดวันที่ 5 ม.ค. 2565, JAS จะไปหลุดวันที่ 28 ม.ค. 2565, SICT จะไปหลุดวันที่ 28 ม.ค. 2565, CHO จะไปหลุดวันที่ 21 ม.ค. 2565,  DITTO จะไปหลุดวันที่ 17 ม.ค. 2565, SAAM จะไปหลุดวันที่ 21 ม.ค. 2565, SECURE จะไปหลุดวันที่ 28 ม.ค. 2565, GCAP จะไปหลุดวันที่ 28 ม.ค. 2565, MACO จะไปหลุดวันที่ 7 ม.ค. 2565, MONO จะไปหลุดวันที่ 7 ม.ค. 2565,  SABUY จะไปหลุดวันที่ 14 ม.ค. 2565, UBE จะไปหลุดวันที่ 7 ม.ค. 2565, CPW จะไปหลุดวันที่ 14 ม.ค. 2565, HL จะไปหลุดวันที่ 21 ม.ค. 2565 และ HYDRO จะไปหลุดวันที่ 7 ม.ค. 2565, MVP จะไปหลุดวันที่ 12  ม.ค. 2565 และ PROEN จะไปหลุดวันที่ 11 ก.พ. 2565

ด้านทางวอร์แรนต์ ได้แก่ FLOYD-W1 จะไปหลุดวันที่ 5 ม.ค. 2565, HYDRO-W1 จะไปหลุดวันที่ 7 ม.ค. 2565, MACO-W3 จะไปหลุดวันที่ 7 ม.ค. 2565, SAAM-W1 จะไปหลุดวันที่ 21 ม.ค. 2565, SAAM-W2 จะไปหลุดวันที่ 21 ม.ค. 2565, SABUY-W1 จะไปหลุดวันที่ 14 ม.ค. 2565, MVP-W1 จะไปหลุดวันที่  12 ม.ค. 2565

ขณะที่หุ้นที่ยังไม่หลุดที่ยังติดอยู่ในระดับ 2 : ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย ได้แก่ BIG จะไปหลุดวันที่ 5 ม.ค. 2565, BWG จะไปหลุดวันที่ 21 ม.ค. 2565

ส่วนหุ้นที่ยังไม่หลุดที่ยังติดอยู่ในระดับ 3 : ห้าม Net settlement, ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance ได้แก่ AJA จะไปหลุดวันที่ 21 ม.ค. 2565, TRC  จะไปหลุดวันที่ 7 ม.ค. 2565,  และด้านวอร์แรนต์  AJA-W3  จะไปหลุดวันที่ 21 ม.ค. 2565

นั่นก็พิสูจน์ได้ว่า มาตรการสกัดหุ้นร้อนยังมีมนต์ขลัง เพราะในปี 2564 สามารถจับบริษัทเข้ามาติดคุกจำนวนมาก ทั้งระดับ 1, ระดับ 2 และระดับ 3

Back to top button