โลกที่คาดเดาได้ยากชั่วคราว

ความผันผวนของตลาดน้ำมัน-สินค้าโภคภัณฑ์ ราคาทองคำแท่ง บิตคอยน์-เงินหรือสินทรัพย์ดิจิทัล ตลาดตราสารหนี้ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงตลาดหุ้นทั่วโลก เพราะคำว่าเฟดอาจจะพิจารณาขึ้นดอกเบี้ยและถอนตัวจากการอัดฉีดเศรษฐกิจผ่านมาตรการ QE ที่คุ้นเคยกันมายาวนานกว่า 10 ปี ยังคงครอบงำตลาดเก็งกำไรทั่วโลก ยังคงจะดำรงต่อไปอีกอย่างน้อยก็ภายในอีก 6 เดือนข้างหน้า


ความผันผวนของตลาดน้ำมัน-สินค้าโภคภัณฑ์ ราคาทองคำแท่ง บิตคอยน์-เงินหรือสินทรัพย์ดิจิทัล ตลาดตราสารหนี้ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงตลาดหุ้นทั่วโลก เพราะคำว่าเฟดอาจจะพิจารณาขึ้นดอกเบี้ยและถอนตัวจากการอัดฉีดเศรษฐกิจผ่านมาตรการ QE ที่คุ้นเคยกันมายาวนานกว่า 10 ปี ยังคงครอบงำตลาดเก็งกำไรทั่วโลก ยังคงจะดำรงต่อไปอีกอย่างน้อยก็ภายในอีก 6 เดือนข้างหน้า

เหตุผลและคำอธิบายก็คือท่าทีของจีน ในฐานะชาติที่มีทุนสำรองเงินตราใหญ่ที่สุดของโลก และมีขนาดเศรษฐกิจอันดับสองของโลก จากการที่หันเหออกจากสังคมนิยมมาเป็นทุนนิยม โดยรัฐที่มองเห็นความสำคัญของมือที่มองเห็นมากกว่ามือที่มองไม่เห็น เกิดแสดงกระบวนทัศน์ที่แตกต่างตำราสำเร็จรูปของทุนนิยมทั้งหลาย…เพราะจีนกำลังหาทางต่อต้านความพยายามใด ๆ ที่จะทำให้ทิศทางของดอกเบี้ยโลกเป็นขาขึ้น

ท่าทีที่ชัดเจนของจีนนั้น ทำให้เกิดคำถามว่า ตลาดเงินและตลาดสินค้าหรือตลาดเก็งกำไรอื่น ๆ จะมีทิศทางไปทางไหนกันแน่ในระยะสั้นและระยะยาว

สี จิ้นผิง ผู้นำของจีน ออกโรงมาแสดงท่าทีล่าสุดอย่างเป็นทางการว่า การยอมให้ขึ้นดอกเบี้ยในตลาดโลกจะเป็น “ภัยขาว” (หมายถึงภัยร้ายแรงจากชาติตะวันตก) ต่ออนาคต

ไม่เพียงแค่พูดเท่านั้น ล่าสุดทางการจีนยังได้สั่งการให้ธนาคารกลางของจีน PBOC ลดดอกเบี้ยลงไป เพื่อยืนยันท่าทีดังกล่าว

ทำไมจีนจึงแสดงท่าทีเช่นนั้น และต้องการทำอะไรต่อเศรษฐกิจโลก…เป็นคำถามที่ท้าทายนักคิดทุนนิยมยามนี้และในอนาคตต่อไป

ตามตรรกะของกลไกทุนนิยม อัตราดอกเบี้ยคือภาพสะท้อนของเงินเฟ้อและเงินฝืด อัตราดอกเบี้ยขาขึ้นใช้เป็นเครื่องมือที่ทรงอานุภาพสุดในการป้องกันเงินเฟ้อ แล้วดอกเบี้ยขาลงใช้เป็นเครื่องมือในการยับยั้งขาลงของเศรษฐกิจได้น้อย แต่ใช้ลดต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจได้

ในเวลาที่เศรษฐกิจถดถอยเข้าขั้นเงินฝืด ภาวการณ์ผลิตย่ำแย่ไม่เต็มกำลัง และคนว่างงานมาก ทำให้กำลังซื้อในตลาดสินค้าต่ำลง การใช้ดอกเบี้ยระดับต่ำมาก ที่เรียกว่ากับดักสภาพคล่องจะเกิดขึ้น

ภาวะเช่นนี้ดำเนินมาได้นานกว่า 12 ปีแล้วนับแต่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เกิดขึ้น จนกระทั่งการผลิตสินค้าและการลงทุนชะงักงัน แต่ภาวะสินค้าขาดแคลนดังที่เกิดขึ้น สินค้าจำพวกอาหาร เหล็ก และสินค้าพื้นฐาน ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อจากฟากอุปสงค์ขึ้นมา ซึ่งตามสูตรสำเร็จของทุนนิยมแล้ว จะต้องยินยอมให้ดอกเบี้ยกลับมาเป็นขาขึ้น เท่ากับยินยอมให้ภาวะเงินเฟ้ออ่อน ๆ กลับมาเป็นวงจรรอบใหม่เพื่อให้การผลิตและการลงทุนฟื้นตัวขึ้นมา

ความพยายามใดเพื่อยับยั้งดอกเบี้ยขาขึ้นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ล้วนผิดธรรมชาติ แล้วส่งผลเสียหายต่อการจัดสรรทรัพยากรในกลไกทางเศรษฐกิจบิดเบี้ยวเพราะถูกบิดเบือนที่สำคัญอาจจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อมากขึ้น

คำพูดผู้นำจีนก็ถูกตีความและปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมทันควัน เมื่อธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปีลง 0.10% สู่ระดับ 3.7% จากระดับ 3.80% และได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปีลง 0.05% สู่ระดับ 4.6% จากระดับ 4.65% ทั้งที่อัตราการเติบโตของจีดีพีจีนปี 2564 ซึ่งสูงสุดในโลกที่ 8.1%

ท่าทีของสี จิ้นผิง ทำให้มีคำถามว่าเขาและผู้นำจีนรอบตัวเข้าใจคำว่าดอกเบี้ยที่แท้จริงในฐานะกลไกทุนนิยมมากน้อยเพียงใด หรือจะติดกับดักแบบเดียวกับอำนาจรัฐโซเวียตเผชิญในอดีตจนล่มสลายไป

ปัญหาการใช้ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นเพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อจึงเลี่ยงได้ยาก เพราะมันเป็นมากกว่าสิ่งที่สี จิ้นผิง เรียกว่า “ค่านิยมตะวันตก” แต่เป็นค่าทั่วไปของการแก้ไขปัญหาของกลไกทุนนิยมของโลกเสมือนการอ่านตำราผิดเล่ม

เป็นที่เข้าใจกันว่า เศรษฐกิจจีนยามนี้เผชิญผลกระทบหลายด้าน ทั้งเงินเฟ้อ ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์เกิดปัญหาฟองสบู่แตก คนว่างงานสูงลิ่วเกินกว่า 5% ของประชากร 1.1 พันล้านคน หรือ 5-6 ล้านคน และโควิด-19 ทั้งที่มีอัตราเงินเฟ้อในประเทศต่ำกว่า 5% (ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 13 ปี)

คำโต้แย้งของผู้นำจีนจึงสะท้อนปัญหาทางโครงสร้างเศรษฐกิจจีนที่ยังแก้โจทย์ของทางเลือกที่ยากลำบากไม่ตกผลึก มากกว่าคำเตือนว่าจะมีสงครามเศรษฐกิจครั้งใหม่ เพราะจีนเองก็ไม่สามารถบีบคั้นให้เฟดเลิกหรือลดหรือเลื่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน มี.ค.นี้ หรือเดือนไหน ๆ ได้

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของจีนที่สวนทางกับภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นทั่วโลก ก็ต้องเข้าใจให้ดีว่าปัญหาของจีนไม่ได้อยู่ที่ว่า ชาวโลกกับจีนสามารถวิ่งสวนทางกันได้…เพราะไม่มีใครถูกและผิดจากการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นหรือลง

ตราบใดที่ยังไม่มีคนอย่าง “ไอ้ปื๊ด” เข้ามาเป็นแพะรับบาป

การคาดเดาทิศทางข้างหน้าคงมีลักษณะ “ตาบอดคลำช้าง” ต่อไป

Back to top button