SCB(X) วันนี้บวกหรือลบ

ก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์ประเมินว่า วันที่ 2 ของการซื้อของ SCB จะมีผลต่อการ “เหวี่ยง” ของดัชนี SET อย่างมาก


บมจ.เอสซีบี เอกซ์ SCB(X) วานนี้เข้าเทรดวันแรกเป็นไปตามคาด

ราคาเปิดบริเวณ 120 บาท บวก/ลบ เล็กน้อย หรือใกล้เคียงกับราคาสุดท้ายของ SCB (115.50 บาท) ก่อนวันขึ้นเครื่องหมายหมดสิทธิแลกหุ้น

ก่อนจะมาปิดที่ราคา 114.00 บาท

เพิ่มขึ้น 43 บาท เปลี่ยนแปลง +60.56% จากฐานที่เป็นราคาปิดของ SCBB (แบงก์ไทยพาณิชย์) ที่ 71.00 บาท

ราคาของ SCB(X) ที่เข้าเทรดวันแรก

ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดหลักเกณฑ์คล้ายกับหุ้น IPO

ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 0.01 บาท และสูงสุดไม่เกิน 3 เท่าของราคาปิด SCBB (71.00 บาท)

เมื่อวานนี้ราคาหุ้น SCB ขึ้นไปสูงสุด 121 บาท และต่ำสุด 113 บาท

ราคาของ SCB ถูกกดลงมาเล็กน้อยในช่วงท้ายตลาด หลังมีรายงานข่าวว่า FTSE ได้ปรับลดน้ำหนักหุ้น บมจ.เอสซีบี เอกซ์ (SCB) จากดัชนี FTSE All-World Index

เหตุผลเพราะสัดส่วนของนักลงทุนรายย่อยหรือฟรีโฟลทลดลง

การประกาศของ FTSE จะมีผล ณ ราคาปิดของวันนี้ (28 เม.ย.)

และคาดว่าจะมีเงินไหลออกมาจาก SCB ประมาณ 85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 2,900 ล้านบาท

ทว่าการปรับลดน้ำหนักครั้งนี้เป็นเรื่องของทางเทคนิค

และไม่ได้เกี่ยวกับพื้นฐานของ SCB

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า น้ำหนักที่ถูกปรับลง ทำให้กองทุนประเภท Passive Fund ที่ลงทุนในหุ้นอ้างอิงดัชนี

จะต้องเทขายกันออกมา

ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับ SCB

ก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์ประเมินว่า วันที่ 2 ของการซื้อของ SCB จะมีผลต่อการ “เหวี่ยง” ของดัชนี SET อย่างมาก

โดยจะเป็นการเหวี่ยงขึ้น และน่าจะช่วยดันดัชนีขึ้นมาได้ 10-12 จุด และส่งผลต่อ SET50 Index ด้วย เพราะหุ้นจะถูกเข้าคำนวณใน SET50 แบบอัตโนมัติหลังสิ้นสุดการซื้อขาย SCB เมื่อวานนี้

แต่เมื่อมีข่าวเกี่ยวกับ FTSE ลดน้ำหนัก

จึงน่าจับตาดูว่า วันนี้ราคาหุ้น SCB จะไปต่อหรือปรับลดลงจากแรงขาย (ณ ราคาปิดวันนี้)

เมื่อวานนี้ SCB มีราคาปิด 114 บาท

นักวิเคราะห์ต่างแนะนำว่า ให้ขายทำกำไรออกไปก่อน และย้อนกลับมาซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว จึงเข้าทยอยสะสม

โดยเฉพาะบริเวณ 105-110 บาท

หากราคาหุ้น SCB ลงมาบริเวณนี้ ทำให้อัพไซด์เปิดกว้างขึ้นอย่างมากจากราคาพื้นฐานที่บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) แต่ละแห่งให้ราคาเป้าหมายไว้ระหว่าง 140–160 บาท

ในแง่ของพื้นฐานของ SCB

ธุรกิจใหม่ของ SCBX แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ

อย่างแรกคือกลุ่ม สินเชื่อจำนำทะเบียน สินเชื่อดิจิทัล และเครดิตการ์ด

ในแง่ของสินเชื่อจำนำทะเบียน SCB จะได้เปรียบคู่แข่งขันรายอื่น ๆ ในด้านของ “ต้นทุน” ที่ต่ำกว่า จึงสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ลงมาถูกกว่าคู่แข่งขันได้

ส่วนกำไร (สินเชื่อจำนำทะเบียน) ยังคงอยู่ในระดับสูง

ขณะที่บริษัทร่วมทุนกับ ADVANC ทำสินเชื่อดิจิทัล

SCB จะได้เปรียบในด้านของฐานลูกค้า ADVANC ที่มีคนใช้บริการอยู่กว่า 44 ล้านราย

ธุรกิจอีกกลุ่มคือ “ธุรกิจบนแพลตฟอร์ม”

เช่น SCB Securities (SCBS) หรือ บล.ไทยพาณิชย์

มีการประเมินว่า ธุรกิจนี้จะ “หนุนกำไรทันที” ให้กับบมจ.เอสซีบี เอกซ์

2 กลุ่มธุรกิจนี้ ถูกจับตามองอย่างมากที่จะเข้ามาขับเคลื่อนผลประกอบการของ เอสซีบี เอกซ์ ให้เติบใหญ่

นอกเหนือจากธุรกิจธนาคาร ที่ปัจจุบัน ยังคงสร้างรายได้หลักให้กับ เอสซีบี เอกซ์

วันนี้ต้องการลุ้นกันว่า แรงขายของกองทุนประเภท Passive Fund ที่จะเทหุ้น SCB ออกมา กับนักลงทุนที่รอเข้าซื้อสะสม เพื่อลงทุนระยะปานกลางถึงยาว (รวมถึงกลุ่มเก็งกำไร)

จะช่วยประคองหรือหนุนราคา SCB ได้มากน้อยแค่ไหน

Back to top button