SCBX การเมืองภายในเรื่องตัวเลข

หากความทรงจำไม่สั้นเหมือนหางเต่า คงทราบกันดีว่าคำแถลงข่าวของผู้บริหารของ SCB เมื่อปลายปี 2564 ในอนาคตของการเปลี่ยนรายชื่อหุ้นเป็น SCBX คือการหารายได้ใหม่นอกเหนือจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์ทั่วไป เป็นการสร้างรายได้จากสินทรัพย์ดิจิทัล (หรือตลาด NFT)


หากความทรงจำไม่สั้นเหมือนหางเต่า คงทราบกันดีว่าคำแถลงข่าวของผู้บริหารของ SCB เมื่อปลายปี 2564 ในอนาคตของการเปลี่ยนรายชื่อหุ้นเป็น SCBX คือการหารายได้ใหม่นอกเหนือจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์ทั่วไป เป็นการสร้างรายได้จากสินทรัพย์ดิจิทัล (หรือตลาด NFT)

ในครั้งนั้น เป็นที่ชัดเจนว่าจะมีการตั้งธุรกิจที่ SCBX จะเข้าซื้อกิจการคือบิทคับ ในฐานะที่เป็นแพลตฟอร์มที่เข้าง่าย เป็นมูลค่าถึง 1.85 หมื่นล้านบาท พร้อมกับแผนสร้างพันธมิตรธุรกิจกับยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมอย่าง ADVANC และกลุ่มทุนค่ายซีพี (เจริญโภคภัณฑ์)

หลังจากที่มีการดำเนินการถอด SCB ออกจากตลาด แล้วเอา SCBX เข้ามาเทรดแทนก็ปรากฏว่าความคืบหน้าของดีลการซื้อขายบิทคับไม่มีความคืบหน้าเอาเสียเลย และเมื่อตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลกลายเป็นขาลง หรือที่มีคนเรียกว่า “ฟองสบู่ NFT แตก” ทำให้มูลค่าของสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตลาดสินทรัพย์หรือ NFT กลายเป็นจุดอ่อนยามที่ตลาดเป็นขาลง  และบิทคับกลายเป็นแพะที่ต้องเป็นเป้าเรดาร์ พร้อมกับมีเสียงร้องคัดค้านการจ่ายเงินเพื่อซื้อบิทคับดังขึ้นผ่านสื่อบางแห่ง โดยตั้งเป้าไปที่นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา และบิทคับ จนถึงขั้นลืมไปว่าผู้บริหารของ SCBX เคยแถลงให้สัญญาประชาคมอย่างไรเอาไว้เมื่อแถลงข่าวอย่างไรบ้าง

เสียงเรียกร้องให้ทิ้งบิทคับ โดยอ้างว่าคนในบางคนอย่างเสี่ยธ. อดีตผู้บริหารค่ายเทเลคอมบางรายที่เข้ามานั่งตำแหน่งใหญ่โตใน SCB ก็ไม่เห็นด้วยกับดีลดังกล่าวหมื่นล้านบาทหรือการเข้าสู่ตลาดที่มีรายได้ใหม่ตามเดิม

ความเดิมเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ประกาศข่าวชิ้นใหญ่ การทำข้อตกลงจะซื้อหุ้น บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในสัดส่วน 51% ของทุนจดทะเบียน วงเงิน 17,850 ล้านบาท

บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด มีนายจิรายุส เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ดำเนินธุรกิจนายหน้าซื้อขายเงินสกุลดิจิทัล การที่ธนาคารไทยพาณิชย์ส่งบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัดซึ่งเป็นบริษัทลูกเข้าซื้อ  ผลพลอยได้คือ ทำให้ราคา ของ KUBCOIN เงินสกุลดิจิทัลของ นายจิรายุส โดยราคาพุ่งขึ้นอย่างร้อนแรง จนสร้างจุดสูงสุดที่ 584 บาท (แต่ปัจจุบันร่วงลงมาอยู่แถว ๆ 80 บาท)

ผู้บริหารของธนาคารไทยพาณิชย์ ในระยะหลัง ๆ พยายามไม่พูดถึงข้อตกลงซื้อหุ้นบิทคับ ออนไลน์ แม้จะถูกซักถามจากผู้สื่อข่าว ในการแถลงข่าวในวาระอื่นก็ตาม มีเพียงนายจิรายุสเท่านั้นที่ยืนยันว่า ข้อตกลงยังมีผลบังคับอยู่

ข้อตกลงการซื้อบิทคับฯ มีผลโดยตรงต่อราคา KUBCOIN ในอนาคตอย่างยิ่ง และที่สำคัญกว่านั้นคือ การปฏิวัติย้อนศรของธนาคารแห่งนี้ครั้งที่สอง หลังจากการปฏิวัติครั้งแรกเมื่อเกือบ 40 ปีก่อนกลุ่มผู้บริหารนำโดยนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ นำการเปลี่ยนแปลงจากธนาคารที่อยู่บน “หอคอยงาช้าง” มาเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ร้อนแรงสุด ด้วยเทคโนโลยีเช่นเครื่องถอนเงินหรือเอทีเอ็ม และกิจกรรมอื่น ๆ

วันนี้ภายใต้การนำของดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานคณะกรรมการบริหาร และนายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCBX กำลังจะทำให้ธุรกิจการเงินที่เกินกว่าธนาคารพาณิชย์แบบจารีต ก้าวสู่ทิศทางใหม่ที่มาจากแหล่งรายได้หลากหลายช่องทาง

การปรับตัวครั้งใหญ่นี้ ที่ผู้บริหารของ SCB แถลงข่าวใหญ่ไปแล้วในไตรมาสสามปีก่อน (แม้ว่าจะต้องใช้เวลาดำเนินการในอีก 1 ปีข้างหน้า) ถือเป็นภาพสะท้อนแนวโน้มระบบทุนนิยมโลกดังที่นักเขียนฝรั่งเศสเจ้าของงานเขียนระดับโลกเรื่องทุนในคริสต์ศตวรรษที่ 20 อย่าง นายพิเกตตี้ ได้กล่าวเอาไว้ นั้นคือธุรกิจการเงิน มีเส้นทางที่เปิดกว้างให้ทำกำไรมากกว่าธุรกิจอื่น ๆ เพียงแต่เส้นทางที่จะเดินต่อไปนั้นคดเคี้ยวยิ่งนัก ยังต้องก้าวข้ามอุปสรรค อีกมากมาย

ดีลบิทคับนี้เป็นส่วนหนึ่งของย่างก้าวอันใหญ่โต โดยมีเหตุผลคือ เคลื่อนย้ายไปหาแหล่งรายได้ใหม่ที่กว้างกว่าเดิม และแน่นอน…มีความเสี่ยงมากกว่าเดิม

โครงสร้างของโฮลดิ้งใหม่ ที่ชื่อ SCBX จะทำให้บริษัทในอนาคต สามารถแบ่งรูปแบบของธุรกิจได้เป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ก็คือ

-ธุรกิจ Cash Cow ซึ่งก็คือ ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกัน อันเป็นธุรกิจสร้างรายได้ตามจารีต แต่ไม่มีความคืบหน้ากับยุคสมัยเพราะขีดจำกัดในการควบคุมความเสี่ยงของหน่วยงานกำกับดูแลเช่น แบงก์ชาติ หรือ คปภ.

-ธุรกิจ New Growth ที่อาจจะมีความเสี่ยงขาดทุนในระยะแรก แต่มีอนาคตในฐานะดาวรุ่งหรือ star (ตามหลักการบริหารแบบ BCG)

ประเด็นที่ต้องตัดสินใจของผู้บริหาร SCBX ในยามนี้เพื่อเตรียมความพร้อม

รับการแข่งขันในธุรกิจที่การเติบโตด้วยการรุกธุรกิจไปยังต่างประเทศในระดับภูมิภาค เช่น อินโดนีเซียและเวียดนาม เพื่อสร้างการเติบโตให้กับฐานลูกค้า ที่ปัจจุบันมีอยู่ 14 ล้านราย ให้เพิ่มขึ้นและให้บริษัทในเครือข่ายของ SCBX มีมูลค่ารวมกันราว 1 ล้านล้านบาท” ในอนาคตแม้จะเสี่ยงมากขึ้น

เดิมพันที่สูงลิ่วในอนาคตของ SCBX จะขึ้นกับรอยต่อของดีลซื้อขายบิทคับ ว่าจะกลัดกระดุมเม็ดแรกสวยงามและข้ามการเมืองเรื่องตัวเลขได้สง่างามเพียงใด

Back to top button