สูตรโบราณ ‘รีด’ ค่าการกลั่น

“ตาค้าง” กันเป็นแถวเลยกับตัวเลขค่าการกลั่น 8.56 บาท/ลิตรมาใช้ของกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า ที่ไม่รู้ว่าใช้สูตรไหนคำนวณ หรืออาจจะหยิบยกเอาค่าการกลั่นบางวันของเดือน มิ.ย.มาใช้ แทนจะใช้ค่าเฉลี่ยในรอบปี รอบเดือน หรือช่วงหนึ่งของเดือน


“ตาค้าง” กันเป็นแถวเลยกับตัวเลขค่าการกลั่น 8.56 บาท/ลิตรมาใช้ของกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า ที่ไม่รู้ว่าใช้สูตรไหนคำนวณ หรืออาจจะหยิบยกเอาค่าการกลั่นบางวันของเดือน มิ.ย.มาใช้ แทนจะใช้ค่าเฉลี่ยในรอบปี รอบเดือน หรือช่วงหนึ่งของเดือน

เช่นตัวเลขจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานหรือสนพ..กระทรวงพลังงาน ที่มีการเผยแพร่ค่าการกลั่น รวมทั้งค่าการตลาด โครงสร้างราคาน้ำมันออกมาทางเว็บไซต์เป็นประจำทุกวัน

ค่าการกลั่นเฉลี่ยปี 2563-2564 มีราคาเฉลี่ย 0.70 และ 0.89 บาท/ลิตรตามลำดับ ซึ่งโรงกลั่นทั้งไทยและเทศในบ้านเรา ต่างมีผลประกอบการขาดทุนโดยถ้วนหน้า เพราะค่าการกลั่นดังกล่าวเป็น “ราคากร๊อส” หรือ “กำไรเบื้องต้น” ที่ยังไม่หักค่าจ้างพนักงาน ค่าบำรุงรักษา หรือค่าสูญเสียใด ๆ ทั้งสิ้น

จนมาในปี 2565 ที่สถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย ความต้องการน้ำมันมีเพิ่มขึ้น ค่าการกลั่นค่อย ๆ ฟื้นมาเป็นลำดับ เดือน ม.ค. 1.35 บาท, ก.พ. 1.58 บาท, มี.ค. 2.80 บาท, เม.ย. 5.16 บาท, พ.ค. 5.27 บาท ค่าการกลั่นในรอบ 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) เฉลี่ยอยู่ที่ 3.47 บาท/ลิตรเอง

ส่วนราคาเฉลี่ยในรอบ 15 วันของเดือน มิ.ย. (1-15 มิ.ย.) ค่าการกลั่นเฉลี่ยอยู่ที่ 5.71 บาทเอง ไม่ปรากฏตัวเลข 8.56 บาทของหัวหน้าพรรคกล้าไม่ว่าวันไหนสักวัน

แต่สถานการณ์ราคาน้ำมันในตอนนี้ ไม่ต้องเจอกับค่ากลั่น 8.56 บาท ก็หนักหนาสาหัสอยู่แล้ว!

รัฐบาล ยอมเฉือนภาษีสรรพสามิตจากร่วม 6 บาทลงมาเหลือแค่ 1.34 บาท/ลิตรแล้ว ก็ยังไม่สามารถจะตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่ 30 บาทได้ ต่อมาถึงต้องขยับเพดานใหม่เป็น 35 บาท

ต้องใช้เงินกองทุนน้ำมันมาอุดหนุนถึง 10 บาท แต่ก็ยังขายได้ในราคา 34.94 บาท และราคาจำหน่ายปลีกดีเซลก็ยังมีสิทธิเตลิดเปิดเปิงข้ามเส้นราคา 35 บาทได้อีกตามราคาน้ำมันดิบโลกที่เป็นช่วงขาขึ้น

ราคาเบนซินอันเป็นที่นิยมกันมากคือ E10 ที่ยังคงเก็บภาษีสรรพสามิตลิตรละ 5.85 บาทอยู่ ราคาก็ทะลุลอยตามยถากรรมไปถึง 45.15 บาทแล้ว

รัฐบาลจะหาทางออกอย่างไรในเรื่องนี้?

ฐานะการคลังของรัฐบาล คงขยับอะไรมากไม่ได้แล้ว เพราะความสามารถในการก่อหนี้ลดน้อยถอยลงมาเป็นลำดับ เนื่องจากได้ทุ่มเทการใช้จ่ายในโครงการประชานิยมทั้งหลายและงบซื้ออาวุธไปมากแล้ว

ในเรื่องของราคาน้ำมัน แม้ปล่อยราคาเบนซินไปตามยถากรรม ยอมตรึงราคาน้ำมันดีเซลโดยยอมเฉือนรายได้จากภาษีสรรพสามิต แต่ก็ทำได้แค่ลดภาษีจาก 6 บาทลงมาเหลือแค่ 1.34 บาท และก็คงจะทำอะไรไม่ได้มากไปกว่านี้แล้ว

จึงหันมามะรุมมะตุ้มกับค่าการกลั่น

พรรคกล้าก็เสนอให้เก็บ “ภาษีลาภลอย” ที่โรงกลั่นน้ำมันมีกำไรมากกว่าปกติจากค่าการกลั่น ส่วนทางฝั่งรัฐบาลยังไม่มีท่าทีแน่ชัดออกมา ซึ่งก็มีทั้งการเข้าไปควบคุมค่าการกลั่น หรือเข้าไปเก็บผลประโยชน์จาก “ค่าการกลั่นส่วนเกิน” ไปช่วยเติมเม็ดเงินในกองทุนน้ำมัน

ผมนึกขึ้นมาได้ว่า ครั้งหนึ่งในอดีตเมื่อปี 2551 สมัยกระทรวงพลังงานมีรัฐมนตรีว่าการฯ ชื่อพล..หญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ มีนายกรัฐมนตรีชื่อสมัคร สุนทรเวช ก็เคยมีมาตรการจัดการกับค่าการกลั่นที่สูงกว่าในอดีตเช่นกัน

ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์เท็กซัสในขณะนั้น (ช่วงกลาง มิ..) อยู่ที่ 124.92 และ 131.44 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ออกจะสูงกว่าน้ำมันดิบ WTI ที่ 113.77 ในขณะนี้เสียด้วยซ้ำ

มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2551 เห็นชอบในแนวทาง “รับบริจาค” น้ำมันดีเซลหมุนเร็วจาก 4 โรงกลั่นในเครือปตท.ปริมาณ 122 ล้านลิตร/เดือน เป็นเวลา 6 เดือน รวม 732 ล้านลิตร ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด 3 บาท/ลิตร

คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 2,196 ล้านบาท

น้ำมันบริจาคล็อตนี้ ไม่ได้นำไปจำหน่ายลดราคาตามปั๊ม แต่ใช้วิธีนำไปช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้มีรายได้ต่ำ ผู้ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันตามรายอาชีพ อาทิ กลุ่มประมง กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มผู้ประกอบการรถโดยสาร เป็นต้น

โรงกลั่นในเครือปตท.จำนวน 4 แห่งในปัจจุบัน ได้แก่ ไทยออยล์ บางจาก ไออาร์พีซี และพีทีทีจีซี หากรัฐบาลจะขุดมาตรการในอดีตมาใช้ ก็คงไม่พ้นโรงกลั่นในเครือปตท. 4 แห่งนี้ ส่วนโรงกลั่นของต่างชาติ ได้แก่ เอสโซ่และคาลเท็กซ์ คงไปยุ่มย่ามอะไรกับเขาไม่/ได้

ทางรอดเฉพาะหน้าตอนนี้ของรัฐบาล ก็คงหนีไม่พ้นการรับบริจาคจาก 4 โรงกลั่นที่ว่านี้ แต่ควรไปขออนุญาตผู้ถือหุ้นเขาดี ๆ ขอร้องล่ะ

Back to top button