‘เทคสหรัฐ’ สู่โหมดลดจ้างงาน

คำจำกัดความโดยการเลิกจ้างจำนวนมากของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี กำลังแลกเปลี่ยนอนาคตจากหุ้นส่วนบริษัทที่เติบโตสูง กับการจ้างงานในบริษัทธรรมดาทั่วไปด้วยบางสิ่งที่ “มีความมั่นคง” มากกว่า..


ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา คำจำกัดความโดยการเลิกจ้างจำนวนมากของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี ในซิลิคอนวัลเลย์ พนักงานบริษัทเทคโนโลยี กำลังแลกเปลี่ยนอนาคตจากหุ้นส่วนบริษัทที่เติบโตสูง กับการจ้างงานในบริษัทธรรมดาทั่วไปด้วยบางสิ่งที่ “มีความมั่นคง” มากกว่า..

ข้อมูลปี 2566 จากแพลตฟอร์มสัมภาษณ์บริษัทเทคอย่าง “คาแรท” (Karat) ระบุว่า บริษัทที่ไม่ใช่สายเทคโนโลยี ประสบความสำเร็จกับการจ้างงาน 9 จากทั้งหมด 10 ผู้สมัคร ที่ได้มีการเสนอการขยายสัญญาจ้าง ขณะที่บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่มุ่งเน้นการเติบโต มีการจ้างงานเพียง 2 ใน 3 หรือคิดเป็น 66.67% จากที่ได้มีการเสนอขยายสัญญาจ้างเพียงเท่านั้น

ถือว่ามีช่องว่างเติบโตมากขึ้นตลอดช่วงเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยปี 2563 บริษัทเทคที่เติบโตสูงมาก มีผู้สมัครงานจำนวนมาก แต่ความผันผวนทางเศรษฐกิจ และความพยายามของเทคโนโลยี ที่แพร่หลายสู่ขอบเขตอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทำให้เกิดความพลิกผันอย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

“เจฟ สเปคเตอร์” (Jeff Spector) ประธานและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท คาแรท (Karat) ระบุว่า คล้ายกับว่ามีการหลีกหนีไปยังสินทรัพย์ที่ปลอดภัยสำหรับนักลงทุน  ถือเป็นแบบเดียวกันสำหรับผู้สมัครงานทั้งหลาย ผู้สมัครงานกำลังแลกเปลี่ยนระหว่างค่าตอบแทนที่สูงกว่า เพื่อจะได้รับความมั่นคงปลอดภัยของงานที่มากกว่า

การหนีไปสู่ความมั่นคงปลอดภัยสามารถเข้าใจได้ว่า จากสิ่งที่กำหนดขึ้นได้แก่ อัตราดอกเบี้ยสูง ยืนระยะเป็นเวลานาน การเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพ และการเลิกจ้าง กลายเป็นตัวทำลายความมั่นใจของวิสัยทัศน์ศูนย์กลางเทคโนโลยีอย่างซิลิคอนวัลเลย์ (Silicon Valley) และเมืองซีแอตเทิล (Seattle) ในฐานะเป็นศูนย์กลางผู้มีความสามารถพิเศษด้านเทคโนโลยี

“สิ่งปกคลุมจากสิ่งที่แข็งแกร่งมากเกินกว่าที่จะทำลายอย่างซิลิคอนวัลเลย์..ได้ถูกท้าทายแล้ว”

ข้อมูลอ้างอิงจากแพลตฟอร์มที่สืบค้นการเลิกจ้างบริษัทเทคโนโลยี Layoffs.FYI ระบุว่า บริษัทเทค 584 แห่ง ได้เลิกจ้างพนักงานช่วงไตรมาสแรกปี 2566 จนกระทั่งสิ้นปี 2566 การเลิกจ้างสูงกว่าปี 2565 อยู่จำนวนมาก

ที่สำคัญ บริษัทเทคโนโลยีอย่างกูเกิล (Google), เมตา (Meta), ไมโครซอฟท์ (Microsoft), แอมะซอน (Amazon), เซลสฟอร์ซ (Salesforce) และอีกมากมาย มีการเลิกจ้างพนักงานสัดส่วนระหว่าง 6-13% บางกรณี เช่น บริษัท เอ็กซ์ (X) ชื่อเดิมคือทวิตเตอร์ (Twitter) ได้เลิกจ้างพนักงานกว่าครึ่งหนึ่งของบริษัท

ขณะที่ “กูเกิล” (Google) ประกาศการเลิกจ้างพนักงานรอบใหม่ ส่งผลกระทบกับทีมงานด้านวิศวกรรมและฮาร์ดแวร์ ส่วน “แอมะซอน” (Amazon) เลิกจ้างบุคลากรส่วนของทวิทช์ (Twitch), ไพรม์ วิดีโอ (Prime Video) และธุรกิจของ MGM สตูดิโอ และบริษัทโซเชียลมีเดียที่ชื่อ “ดิสคอร์ด” (Discord) เลิกจ้างพนักงาน 17% ของพนักงานทั้งหมด

รายงานข้อมูลด้านสภาวะทางอารมณ์ (Sentiment) ธุรกิจเทคของไดซ์ (Dice) ปี 2566 ระบุว่า สัดส่วน 60% ของพนักงานทั่วไปในบริษัทเทค รู้สึกสนใจในการลาออกจากงานช่วงปี 2567 สูงขึ้นจากระดับ 52% เมื่อช่วงปีก่อน สิ่งนี้ทำให้เกิดโอกาสในการแข่งขัน ที่สำคัญต่อองค์กรที่ไม่ใช่สายเทค เพื่อการดึงดูดพนักงานที่มีความสามารถพิเศษด้านเทคโนโลยี

แน่นอนว่า “องค์กรที่ไม่ใช่สายเทค” กำลังเชิญชวนผู้มีความสามารถพิเศษด้วยสัญญาการจ้างงานที่มั่นคง ให้ลำดับความสำคัญกับเงินสดมากกว่าการถือครองหุ้น ที่ไม่อาจรักษามูลค่าได้ช่วงระยะสั้น อีกทั้งไม่ต้องยึดติดกับศูนย์กลางเทคโนโลยี จึงทำให้พนักงานสามารถอยู่อาศัยในเมือง สามารถจับจ่ายใช้สอยได้และลดเวลาการเดินทาง

แหละนี่คืออีกหนึ่งพลวัตโลก..ที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ..!!

Back to top button