แบงก์เล็กแน่กว่าแบงก์ใหญ่

งบการเงินธนาคารพาณิชย์ทั้ง 11 แห่งที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ประจำปี 2558 ประกาศออกมาเป็นทางการอย่างคบถ้วน เห็นได้ว่า อยู่ในเกณฑ์แย่ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน


–เส้นทางนักลงทุน–

 

งบการเงินธนาคารพาณิชย์ทั้ง 11 แห่งที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ประจำปี 2558 ประกาศออกมาเป็นทางการอย่างคบถ้วน เห็นได้ว่า อยู่ในเกณฑ์แย่ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ 11 แห่ง ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่า มีกำไรสุทธิ 193,003.65 ล้านบาท ลดลง 14,010.14 ล้านบาท หรือลบไป 6.77% จากปี 2557 ที่มีกำไรสุทธิรวม 207,013.79 ล้านบาท เนื่องจากกำไรสุทธิของธนาคารขนาดใหญ่ปรับตัวลดลงส่วนใหญ่ เนื่องจากมีช่วงไตรมาสที่มีการตั้งสำรองหนี้ของ SSI ที่ขาดทุนเป็นจำนวนมาก

 

ตัวเลขข้างต้น แม้ว่าจะไม่สวยงาม แต่ซ่อนข้อเท็จจริงเอาไว้บางส่วนที่น่าสนใจ เพราะธนาคารบางแห่งมีกำไรมากขึ้นอย่างแข็งแกร่ง อีกทั้ง ธนาคารส่วนใหญ่ที่มีกำไรสุทธิเติบโตขึ้นมาก เป็นผลจากมีรายได้จากสินเชื่อ รายได้จากดอกเบี้ย รวมถึงค่าธรรมเนียมและบริการต่างๆ เพิ่มขึ้น

อาทิ บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ LHBANK งบการเงิน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 8,493.89 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน 7,455.08 ล้านบาท ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้น 455.58 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน 296.76 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีกำไรขยับขึ้นมาอยู่ที่ 1,651.71 ล้านบาท หรือ 0.1211 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 37.48% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 1,201.39 ล้านบาท หรือ 0.0921 บาทต่อหุ้น

ต่อมา  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY งบการเงิน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 81,946.69 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน 74,608.55 ล้านบาท ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้น 22,670.21 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน  19,191.68 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีกำไรขยับขึ้นมาอยู่ที่ 18,634.19 ล้านบาท หรือ 2.53 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 31.51% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 14,169.53 ล้านบาท หรือ 2.33 บาทต่อหุ้น

ส่วนธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT  งบการเงิน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 14,620.05 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน 13,927.43 ล้านบาท ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้น 1,734.25 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน 1ม547.72 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีกำไรขยับขึ้นมาอยู่ที่ 1,052.48 ล้านบาท หรือ 0.05 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 6.38% จากงวดเดียวกันของปีก่อน  989.36 ล้านบาท หรือ 0.05 บาทต่อหุ้น

สิ่งสำคัญ ทั้ง 3 ธนาคาร LHBANK, BAY, CIMBT“อัตรากำไรสุทธิ” มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกิจการมีความสามารถในการทำกำไรได้ดี สะท้อนให้เห็นว่า การบริหารจัดการได้ดีขึ้น

 

นอกจากนี้ยังมีแบงก์ที่สามารถทำกำไรสุทธิได้แข็งแก่ง ซึ่งไม่ใช่จากรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ หรืออาจมาจากส่วนใดส่วนหนึ่ง และรายได้อื่นๆ เข้ามาช่วยให้บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน อาทิ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) หรือ KKP งบการเงิน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทมีกำไรขยับขึ้นมาอยู่ที่ 3,317.10 ล้านบาท หรือ 3.92 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 21.34% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 2,733.68 ล้านบาท หรือ 3.25 บาทต่อหุ้น เหตุมาจากส่วนหนึ่งของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้น

ถัดมา บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TCAP งบการเงิน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทมีกำไรขยับขึ้นมาอยู่ที่ 5,436.58 ล้านบาท หรือ 4.61 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 6.18% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 5,120.20 ล้านบาท หรือ 4.24 บาทต่อหุ้น เหตุมาจากรายได้จากดำเนินงานอื่นเพิ่มขึ้น โดยการขายเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับรายได้จากการรับประกันภัยและประกันชีวิตเพิ่มขึ้น

อีกทั้ง บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO งบการเงิน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทมีกำไรขยับขึ้นมาอยู่ที่ 4,250.12 ล้านบาท หรือ 5.31 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 0.01% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 4,249.51 ล้านบาท หรือ 5.31 บาทต่อหุ้น สาเหตุหลักมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมพื้นฐานของธุรกิจจัดการกองทุนที่เพิ่มขึ้น จากการออกกองทุนรวมที่ตอบรับความต้องการของตลาด

สิ่งสำคัญ ทั้ง 6 ธนาคาร LHBANK, BAY, CIMBT, KKP, TCAP และ  TISCO  “อัตรากำไรสุทธิ” มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกิจการมีความสามารถในการทำกำไรได้ดีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  “สะท้อนให้เห็นว่า การบริหารจัดการได้ดีขึ้น”

ในแง่ของแบงก์ใหญ่สามารถในการทำกำไรสุทธิมีความถดถอยลง เพราะกำไรลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับแบงก์ที่กำไรลดลงเยอะสุด ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK งบการเงิน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีกำไรลดลงเหลือ 39,473.64 ล้านบาท หรือ 16.49 บาทต่อหุ้น หรือลบไป 14.47% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 46,153.41 ล้านบาท หรือ 19.28 บาทต่อหุ้น  รองลงมา ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)  หรือ KTB งบการเงิน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีกำไรลดลงเหลือ 28,491.72 ล้านบาท หรือ 2.04 บาทต่อหุ้น หรือลบไป 14.16% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 33,191.03 ล้านบาท หรือ 2.37 บาทต่อหุ้น 

ต่อมา ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB การเงิน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีกำไรลดลงเหลือ 47,182.41 ล้านบาท หรือ 13.88 บาทต่อหุ้น หรือลบไป 11.54% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 53,334.62 ล้านบาท หรือ 15.69 บาทต่อหุ้น  ส่วนธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL การเงิน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีกำไรลดลงเหลือ 34,180.63 ล้านบาท หรือ 17.91 บาทต่อหุ้น หรือลบไป 5.92% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 36,332.18 ล้านบาท หรือ 19.03 บาทต่อหุ้น  และ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB การเงิน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีกำไรลดลงเหลือ 9,333.07 ล้านบาท หรือ 0.2134 บาทต่อหุ้น หรือลบไป 2.16% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 9,538.88 ล้านบาท หรือ 0.2185 บาทต่อหุ้น

 

ด้วยส่วนใหญ่ที่กำไรสุทธิลดลงเป็นการตั้งสำรองหนี้อย่างระมัดระวังของแบงก์นั่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงบางช่วงไตรมาส เนื่องจากบางแบงก์มีรายได้ดอกเบี้ย และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้นก็ตามแต่ไม่สามารถทำกำไรได้  นอกจากนี้  “อัตรากำไรสุทธิ”  มีการปรับตัวลง นั่นแสดงว่า สามารถทำกำไรของแบงก์เหล่านี้เริ่มถดถอยลง

ผลดังกล่าวพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ผลประกอบการของปี 2558 ธนาคารเล็กมีความสามารถในการทำกำไรสุทธิเหนือว่าธนาคารขนาดใหญ่

สิ่งที่ต้องพิจารณาอีกคือ กำไรจากการดำเนินงาน วัดความสามารถของผู้บริหารธนาคารได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะกำไรจากรายได้จากดอกเบี้ยซึ่งเป็นกำไรแบบจารีต หรือกำไรจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ในขณะที่กำไรจากการขายทรัพย์สินหรือจากการปรับงบทางการเงิน เป็นกำไรชั่วคราวที่เกิดจากความสามารถทางเทคนิคที่กินระยะเวลาชั่วขณะ

 

งบการเงินรายปี 2558 กลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย (เรียงตามความสามารถทำกำไร)

BANK20150129

Back to top button