หุ้นธรรมาภิบาลไทย

การล่มสลายของบริษัทชั้นนำในอเมริกา เช่น Enron Corporation และ Worldcom ได้สร้างความตื่นตระหนกทั้งโลก จนกลายเป็นปฐมเหตุที่องค์กรภาครัฐ เอกชน นักลงทุนทั่วโลกหันมาให้ความสนใจเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) อย่างจริงจังชัดเจน จากเดิมเรื่องการกำกับดูแลกิจการ (Corporate governance :CG) เป็นเรื่องที่ทำกันมานานแล้ว เพียงแต่ไม่ได้เป็นเรื่องหลักที่บริษัทให้ความสำคัญเท่านั้นเอง


พลวัตปี 2017 : สุภชัย ปกป้อง (แทน)

การล่มสลายของบริษัทชั้นนำในอเมริกา เช่น Enron Corporation และ Worldcom ได้สร้างความตื่นตระหนกทั้งโลก จนกลายเป็นปฐมเหตุที่องค์กรภาครัฐ เอกชน นักลงทุนทั่วโลกหันมาให้ความสนใจเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) อย่างจริงจังชัดเจน จากเดิมเรื่องการกำกับดูแลกิจการ (Corporate governance :CG) เป็นเรื่องที่ทำกันมานานแล้ว เพียงแต่ไม่ได้เป็นเรื่องหลักที่บริษัทให้ความสำคัญเท่านั้นเอง

การมี CG ที่ดี ถูกตีความได้หลากหลายมุมแต่แก่นแท้คือการดำเนินกิจการที่มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่ง ใส มีจริยธรรม ตรวจสอบได้ มุ่งเพิ่มคุณค่าให้ผู้ถือหุ้นระยะยาว และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ แน่นอนว่า CG ที่ดีจะสามารถสร้างการเติบโตได้อย่างยั่งยืน

สำหรับต่างประเทศนักลงทุนสถาบันที่พิจารณาลงทุนในบริษัทใดก็ตาม จะเน้นให้ความสำคัญเรื่อง CG เป็นอันดับแรก ขณะที่กองทุนฯบางแห่ง มีการพิจารณาละเอียดถึงขั้นบริษัทหรือหุ้นตัวไหนได้คะแนน CG ต่ำ จะมีข้อกำหนดไม่ลงทุนบริษัทหรือหุ้นตัวนั้นทันที

ส่วนนักลงทุนสถาบันของไทยมีการร่วมมือกัน เพื่อจัดตั้งและเปิดจำหน่ายกองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย เบื้องต้นมีบริษัทจัดการกองทุนรวม 11 แห่ง ได้แก่ 1)บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมกรุงไทย 2)บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมกรุงศรี 3)บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมทหารไทย 4)บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมทาลิส 5)บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมทิสโก้ 6)บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมไทยพาณิชย์ 7)บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบัวหลวง 8)บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมยูโอบี (ประเทศไทย) 9)บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมกสิกรไทย 10)บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมเอ็มเอฟซี 11)บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบางกอกแคปปิตอล

โดย “กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย” มีนโยบายลงทุนตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) หรือตลาดรองอื่นๆ ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

“กองทุนฯจะลงทุนในบริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยพิจารณาจากการจัดอันดับ CG Scoring ที่ได้รับการรับรองเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (CAC) ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรรมการบริษัทไทย (IOD) ที่ต้องได้รับ Thai IOD (CGR) rating ตั้งแต่ 4 ดาวขึ้นไป”

สำหรับผลสำรวจคะแนน CGR ประจำปี 2560 บริษัทจดทะเบียนไทย 620 บริษัท ที่จัดทำโดยสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) โดยการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) พบว่า บริษัทจดทะเบียนไทย มีคะแนนเฉลี่ยระดับดีมาก คือ 80% เป็นระดับสูงสุดรอบ 7 ปี สูงกว่าปี 2559 ที่มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 78% จากการเพิ่มขึ้นของคะแนนเฉลี่ย 2 หมวดสำคัญ คือ การคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียและความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

โดยหากพิจารณาคะแนนเฉลี่ยรายหมวด พบว่าทุกหมวดได้รับคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 70% ขึ้นไป โดยหมวดสิทธิของผู้ถือหุ้น 93% การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน 92% การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส 84% และการคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย 78% ส่วนหมวดความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ได้รับคะแนนเฉลี่ยระดับดีเป็นปีแรก มีคะแนนเฉลี่ย 71%

เมื่อเปรียบเทียบจำนวนบริษัทตามผลการสำรวจที่ได้รับแต่ละระดับ มีการประกาศผล ตามจำนวนสัญลักษณ์ของคณะ กรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ  พบว่า มีบริษัทจดทะเบียน 507 บริษัทที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 70% หรือระดับดีขึ้นไป จำนวนนี้มีบริษัทที่ได้รับคะแนน  90% หรือระดับดีเลิศ 110 บริษัท มีบริษัทที่ได้รับคะแนน 80-89% หรือระดับดีมาก 226 บริษัท และบริษัทที่ได้รับคะแนน 70-79% หรือระดับดี 171 บริษัท

ประเด็นสำคัญจากผลสำรวจปีนี้ พบว่า บริษัทจดทะเบียนมีการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG) มากขึ้น สอดคล้องกับความคาดหวังของนักลงทุน ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการบริษัทที่แสดงบทบาทนำในเรื่องที่สำคัญ เช่น กลยุทธ์ การสรรหากรรมการและจริยธรรมธุรกิจ การให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจ ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน

จากข้อมูลข้างต้นเห็นได้ชัดว่า ผู้บริหารและบริษัทจดทะเบียน นักลงทุนสถาบัน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญกับเรื่อง CG และพยายามยกระดับ CG ไทย เพื่อให้เท่าเทียมมาตรฐานสากล เห็นได้ชัดจากการเข้าร่วมโครงการประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านบรรษัทภิบาลของธนาคารโลก (CG-ROSC) ตั้งแต่ปี 2547

แหละนั่น..ทำให้ “หุ้นธรรมาภิบาล” จะเป็นทางเลือกของนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนทั่วไปมากขึ้น นอกเหนือไปจากที่มีการพิจารณาเรื่องแผนธุรกิจ งบการเงิน หรืออัตราส่วนทางการเงินต่างๆ นั่นหมายถึงนับจากนี้ไป “หุ้นกำไรดีแต่ CG ต่ำ” จะมีข้อจำกัดต่อการเลือกลงทุนด้วยเช่นกัน

Back to top button