ประวัติศาสตร์ กับ ทุนพลวัต2015

สำหรับนักลงทุน คงจะตื่นเต้นเป็นพิเศษกับดีลซื้อขายกิจการ ที่บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART เข้าซื้อกิจการของบริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER เจ้าของฉายา ราชาเงินผ่อน พร้อมกับให้ความสนใจว่า ราคาหุ้นของทั้งสองบริษัทจะมีราคาเป้าหมายใหม่หลังซื้อขายที่เท่าใด อาจจะมองข้ามโดยไม่ใส่ใจว่า ดีลนี้คือ การเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยที่มีความหมายอย่างยิ่งของทุนนิยมโลก


สำหรับนักลงทุน คงจะตื่นเต้นเป็นพิเศษกับดีลซื้อขายกิจการ ที่บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART เข้าซื้อกิจการของบริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER เจ้าของฉายา ราชาเงินผ่อน พร้อมกับให้ความสนใจว่า ราคาหุ้นของทั้งสองบริษัทจะมีราคาเป้าหมายใหม่หลังซื้อขายที่เท่าใด อาจจะมองข้ามโดยไม่ใส่ใจว่า ดีลนี้คือ การเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยที่มีความหมายอย่างยิ่งของทุนนิยมโลก

ข้อเท็จจริงก็คือ เจ้าของที่แท้จริงเบื้องหลัง SINGER ที่เป็นอเมริกันนั้น อยากจะขายหุ้นเครือข่ายบริษัทนี้ทั่วโลกมาตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2557 แล้ว แต่เพิ่งมาสบจังหวะขายในไทยเมื่อมีคนสนใจซื้อ เกิดเป็นผลสำเร็จส่วนหนึ่งของวิศวกรรมการเงินโดยเจ้าของกิจการที่เป็นกลุ่มทุนการเงิน ซึ่งไม่ได้สนใจอะไรมากไปกว่าคำว่า มูลค่าของกิจการ (corporate valuation) ตามประสาคนที่ถนัดการซื้อขายกิจการในตลาดหุ้นอันช่ำชอง

ตามนิตินัย ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ SINGER ในไทยก่อนที่จะมีดีลนี้เกิดขึ้นคือ Retail Holdings N.V. (ชื่อย่อคือ REHO) ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้ง จดทะเบียนมีสำนักงานใหญ่ตั้งที่อาณานิคมเก่าของเนเธอร์แลนด์ ชื่อคาราเคา (ชื่อเดิมคือิ้ เกาะแอนทีลีส) ในทะเลแคริบเบียน ซึ่งเป็นหนึ่งศูนย์กลางการเงินนอกฝั่งที่ใช้เพื่อวางแผนของบริษัทข้ามชาติทั้งหลาย

 บริษัทดังกล่าวเปลี่ยนชื่อจากเดิมว่า Singer Company N.V. (ซึ่งก็เปลี่ยนจากชื่อเก่าแก่ Singer N.V. อีกทีหนึ่ง) ในปี ค.ศ. 2004  เพราะขายกิจการจักรเย็บผ้าและเครื่องหมายการค้า Singer ออกจากมือให้กับรายอื่นไปหมดแล้ว กลายเป็นบริษัทโฮลดิ้งอย่างเดียว ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นอัมสเตอร์ดัม โดยมีบริษัทในเครือที่ซับซ้อนจำนวนมากในชาติกำลังพัฒนาทั่วโลกหลายแห่ง แต่เน้นทำธุรกิจ 3 อย่างเชื่อมโยงกัน คือ 1) ธุรกิจขายสินค้าเงินผ่อนในนาม Sewko Holdings Limited (“Sewko”) ทำธุรกรรมผ่านบริษัทลูกอีกแห่งชื่อ Singer Asia Limited รวมทั้งในไทยด้วย 2) บริษัทโฮลดิ้ง SVP Notes เข้าถือหุ้นในกิจการทั่วไป 3) ธุรกิจค้าขายที่เน้นเงินสดเท่านั้น

ในปี 2557 ที่ผ่านมา บริษัทนี้มีรายได้รวม 487.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีกำไรสุทธิ 18.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 620 ล้านบาท โดยรับเงินปันผลจากบริษัทในเครือข่ายทั้งหมด ซึ่งถือว่ากำไรค่อนข้างต่ำ

ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Retail Holdings N.V. ได้แก่ SVP Worldwide ซึ่งเป็นบริษัทในสหรัฐ ที่ถือหุ้นใหญ่โดย Kohlberg & Company LLC ซึ่งเป็นบริษัทเจ้าของกองทุนหุ้นเอกชน (private equity) รายใหญ่ของสหรัฐที่ทำหน้าที่ซื้อขายกิจการเป็นหลัก  

อาจจะเป็นเพราะกำไรค่อนข้างต่ำของ Retail Holdings N.V. นี่เอง ที่ทำให้บริษัทแม่อย่าง Kohlberg & Company ซึ่งมีกองทุนบริหารในมือขนาดใหญ่ถึง 6 กอง มีมูลค่าสินทรัพย์รวมระดับโลกมากถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไม่รวมบริษัทจดทะเบียนในตลาดแนสแด็กอย่าง Kohlberg Capital Corporation มองไม่เห็นประโยชน์ที่จะถือกิจการกำไรต่ำอย่างนี้ในกำมือให้รกรุงรัง

ความพยายามจะเสนอขายกิจการของ Singer ทั่วโลก จึงเริ่มต้นตั้งแต่เดือนมีนาคม 2557 มาแล้ว โดยให้วาณิชธนกรระดับโลก ทำหน้าที่กระจายกันจัดการผู้ซื้อที่เหมาะสม เพราะผู้บริหารของบริษัทแม่ ไม่ได้มองเห็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของ Singer มากไปกว่ามูลค่าทางการเงิน

ประวัติศาสตร์ของ Singer คือการปฏิวัติทางด้านการตัดเย็บเสื้อผ้าของโลก ที่ทำให้ธุรกิจแฟชั่นขยายตัวเติบใหญ่ เริ่มตั้งแต่ยิวอเมริกัน ไอแซค เมอร์ริต ซิงเกอร์ ทำการจดทะเบียนสิทธิบัตรจักรเย็บผ้าเครื่องแรกของโลก ในค.ศ. 1851 ในสหรัฐ แล้วร่วมกับนักกฎหมายหุ้นส่วนก่อตั้งบริษัท I. M. Singer & Co. เพื่อจำหน่ายและทำการตลาดจักรเย็บผ้าจนกระทั่งแพร่หลายไปทั่วโลก (ก่อนจะเพิ่มความเข้มข้นด้วยจักรเย็บผ้าไฟฟ้าในปี ค.ศ. 1885 ที่ทำให้ยอดขายเข้าสู่อุตสาหกรรมเสื้อผ้าพุ่งเป็นจรวด) ต่อยอดของธุรกิจสิ่งทอให้ใหญ่โตมากขึ้น และทำให้ปารีส กลายเป็นศูนย์กลางของแฟชั่นโลกมาจนถึงทุกวันนี้

แม้จะเริ่มต้นธุรกิจด้วยการผลิตและจำหน่ายจักรเย็บผ้า แต่เส้นทางธุรกิจของ Singer ยุคหลังจากเริ่มต้นบุกเบิกกิจการ ไม่ได้มีรายได้หลักจากการขายจักรเย็บผ้า แต่พวกเขาระดมเงินในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท แล้วแตกไลน์ธุรกิจไปทำอสังหาริมทรัพย์จนเป็นรายได้หลัก โดยประคองธุรกิจจักรเย็บผ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งระดับโลก ที่มีสัดส่วนรายได้ต่ำกว่า 30% ก่อนที่ธุรกิจของทายาทรุ่นต่อๆ มา จะเปลี่ยนมือไปสู่เจ้าของใหม่ตามวัฏจักรของทุนนิยม แล้วหมุนเวียนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มทุนการเงินอย่าง Kohlberg & Company

หลังจากเข้าซื้อกิจการจาก Singer เรียบร้อยแล้ว ผู้บริหารของ Kohlberg & Company ได้จัดการแต่งตัวธุรกิจใหม่ ทำการควบรวมกิจการของSinger เข้ากับ Swedish VSM Group ผู้ผลิตและจำหน่ายจักรเย็บผ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าคู่แข่งสวีเดนเจ้าของยี่ห้อ  Husqvarna Viking และ Pfaff เป็นบริษัทใหม่ SVP Worldwide ด้วยข้ออ้างสร้างพลังผนึกตามถนัดในปี ค.ศ. 2006 นี้เอง ก่อนที่จะพบว่า แบรนด์ Singer นั้นมีคุณค่าต่ำลงในสายตาของผู้บริโภคทั่วโลก การขายแบรนด์และกิจการเกี่ยวข้อง จึงตามมาเป็นระลอก

สำหรับเมืองไทย จักรเย็บผ้า Singer เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างยาวนาน โดยมีคู่แข่งขันสำคัญจากยุโรปคือ พาฟ(Pfaff) มาแย่งกันยึดครองส่วนแบ่งการตลาดยาวนานหลายทศวรรษ จนกระทั่งเมื่อธุรกิจเสื้อผ้าสำเร็จรูปเข้ามาทำลายร้านตัดเย็บเสื้อผ้า และแม่บ้านไทยลดเลิกตัดเย็บเสื้อผ้าเองในปัจจุบัน

ธุรกิจของซิงเกอร์ (ประเทศไทย) ครั้งหนึ่งเคยเติบใหญ่ระดับหัวแถวของไทย และเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยในยุคแรกๆ เน้นการขายสินค้าเงินผ่อน โดยเฉพาะธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อ Singer เป็นหลัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป แบรนด์ Singer ได้รับความนิยมน้อยลง ต้องหันมาขายยี่ห้ออื่นๆ ควบคู่ไปด้วย ภาพลักษณ์ของผู้ขายจักรเย็บผ้าชั้นนำ จึงลบเลือน เหลือเพียงโมเดลธุรกิจขายสินค้าเงินผ่อน

หลายปีมานี้ ผู้บริหารของซิงเกอร์ประเทศไทย พยายามประคองรักษาธุรกิจเอาไว้ให้มีกำไรดีต่อเนื่อง โดยมีรายได้ระดับ 3.5-3.8 พันล้านบาทต่อปี มีอัตรากำไรสุทธิปีละ 7-9% ซึ่งถือว่าดีพอประมาณ แต่เมื่อเทียบกับสัดส่วนเดิมพันของธุรกิจของกลุ่มทุนการเงินใหญ่อย่าง Kohlberg & Company ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า เหตุใดพวกเขาจึงพร้อมจะขายกิจการเพื่อนำไปแปลงเป็นเงินโดยทิ้งประวัติศาสตร์และความทรงจำของผู้บริโภคอย่างสิ้นเยื่อใย

เงินรายได้ประมาณ 1.5 พันล้านบาท หรือ 44.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการขายหุ้น 40% ที่ถืออยู่ในซิงเกอร์ (ประเทศไทย) รวมทั้งการยินยอมให้ได้สิทธิใช้เครื่องหมายการค้า Singer ต่อไป ที่ Retail Holdings N.V. ได้รับไปจากดีลขายกิจการนี้ อาจจะน้อยนิดอย่างมาก แต่มันก็ช่วยปลดเปลื้องภาระในการลงทุนอันยาวนานของนักการเงินยุคร่วมสมัยที่กู้เงินมาซื้อกิจการ ที่หวังผลตอบแทนรวดเร็ว

ส่วนอนาคตของซิงเกอร์ (ประเทศไทย) นั้น คงต้องมีอนาคตขึ้นกับโมเดลธุรกิจของ JMART ว่าจะทำงานได้ดีเพียงใด

ดีลธุรกิจนี้ จึงสมประโยชน์ทั้งฝั่งผู้ขายที่อยากผ่องถ่ายธุรกิจให้กลายเป็นทุนหมุนเวียน และกลุ่มผู้ซื้อที่อยากได้ธุรกิจใหญ่กว่าเดิมมาต่อยอดธุรกิจเดิมทางลัด

ส่วนที่แน่นอนคือ จากนี้ไป ซิงเกอร์ จะเหลือไว้ให้คนทรงจำแค่ตำนานเท่านั้น

 

X
Back to top button