BBL แข็งสุดในกลุ่มแบงก์

โลกของการลงทุนเป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบในการซื้อขายหุ้นให้ทันท่วงที เพราะการนั่งอยู่เฉย ๆ ทั้งที่ปัจจัยรอบด้านเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ย่อมทำให้พอร์ตของนักลงทุนลดลงตามไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจารย์ให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด


ตีแผ่บจ.ดัง

คุณอุไร จากรามคำแหง กรุงเทพฯ เล่าให้ฟังว่า ตนเองเป็นนักลงทุนมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มลงทุนเมื่อ 2 ปีก่อน จึงมีคนแนะนำให้หันไปดู BBL หรือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เพราะเป็นธนาคารยักษ์ใหญ่ที่ทำกำไรได้เสมอต้นเสมอปลาย และราคาหุ้นมักวิ่งกลับขึ้นมาใกล้เคียงกับมูลค่าทางบัญชีเป็นประจำ และในวันนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า หุ้นแบงก์รายนี้แข็งสุดในกลุ่มแบงก์ด้วยกัน จึงอยากให้อาจารย์ช่วยเป็นกระบอกเสียงผ่านไปยังนักลงทุนรายอื่นให้รู้ว่า BBL น่าเล่นสุดในภาวะผันผวนค่ะ

 

โลกของการลงทุนเป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบในการซื้อขายหุ้นให้ทันท่วงที เพราะการนั่งอยู่เฉย ๆ ทั้งที่ปัจจัยรอบด้านเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ย่อมทำให้พอร์ตของนักลงทุนลดลงตามไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจารย์ให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด

เนื่องจากหลักปฏิบัติของการเป็นนักลงทุนที่ดี มักว่าด้วยเรื่องการทำกำไรให้ได้ทุกโอกาส และต้องรู้จักจำกัดความเสียหายที่เกิดจากการลงทุนที่ผิดพลาด อาจารย์ถึงมองการกระทำของ คุณอุไร เป็นเรื่องของการวางโพซิชั่นยาว ๆ มากกว่าสั้น ๆ ขณะเดียวกัน ก็ควรทำความเข้าใจรูปแบบการลงทุนดังกล่าวด้วยครับ

เหมือนกับการลงทุนในหุ้น BBL หรือ  ถ้ามองว่าจุดแข็งของหุ้นตัวนี้อยู่ที่ความแข็งแกร่งของตัวธนาคาร และเป็นธนาคารที่อยู่คู่กับเศรษฐกิจไทยมาเป็นเวลานาน น่าจะเข้าใจถึงไซเคิลของธุรกิจที่เริ่มตั้งแต่ “ฟื้นตัว เติบโต ถดถอย ตกต่ำ” ล้วนเป็นตัวบอกให้นักลงทุนรู้ว่า ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เกิดขึ้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะธุรกิจธนาคารเกี่ยวข้องโดยตรงกับเศรษฐกิจในประเทศ หากช่วงไหนเศรษฐกิจของประเทศดี กำไรของธนาคารก็จะดีตามไปด้วย ซึ่งจะผลักดันให้ราคาหุ้นทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในทางกลับกันหากพบว่า เศรษฐกิจของประเทศกำลังถดถอย กำไรของธนาคารก็จะลดลงตามไปด้วย ซึ่งจะกดดันให้ราคาหุ้นอ่อนตัวอย่างต่อเนื่อง

นั่นหมายความว่า นับตั้งแต่ปี 2537-2560 ประเทศไทยเจอวิกฤตเศรษฐกิจหนัก ๆ 2 ครั้งด้วยกัน ย่อมทำให้ BBL ได้รับผลกระทบอย่างหนักหนาสาหัสพอสมควร โดยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 2540 ซึ่งเป็น “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ธุรกิจภาคการเงิน อสังหาริมทรัพย์ล้มเป็นโดมิโน ส่วนครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อปี 2551 ซึ่งเป็น “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” ธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีปัญหา ธุรกิจส่งออกติดขัดอย่างหนักนะครับ

ที่น่าสนใจคือ ในระหว่างทางก็มีปัญหาหลายอย่างเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมใหญ่ ปัญหาภัยแล้ง ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ ล้วนเป็นตัวแปรที่ส่งผลโดยตรงกับความสามารถในการทำกำไรของ BBL และยังทำให้ราคาหุ้นแกว่งตัวขึ้น ๆ ลง ๆ ตามข่าวที่เข้ามากระทบอีกด้วย

ถึงกระนั้นก็ต้องยอมรับว่า BBL เป็นหุ้นแบงก์ที่แข็งแกร่งสุด ๆ จริง ๆ และราคาหุ้นมักจะวิ่งกลับขึ้นมาใกล้มูลค่าทางบัญชีประจำ เมื่อทุกคนมองภาพของหุ้นตัวนี้ไปในทางเดียวกัน จึงไม่มีใครคิดจะเทขายหุ้นออกมาหนัก ๆ เพราะมองว่าราคาหุ้นมีโอกาสวิ่งขึ้นมากกว่าวิ่งลงนะครับ

สรุปคือ วันนี้อาจารย์ไม่จำเป็นต้องพูดอะไรให้มากความ เพราะกลไกของตลาดหุ้นได้ทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวของหุ้น BBL ได้อย่างชัดเจนมากที่สุดแล้ว ที่เหลือก็แค่นักลงทุนได้สังเกตเห็นเรื่องราวดังกล่าวหรือเปล่า ?

สภาแมงเม่า : ดร.สมชาย

Back to top button