โซลาร์ประชาชน เหมือนดี แต่ไม่คุ้ม..!?

“ดีแต่ไม่คุ้มหรือไม่” กับโครงการโซลาร์รูฟท็อปภาคประชาชน กลายเป็นคำถามที่มาพร้อมความลังเล..!! “คุ้มค่าหรือไม่” ที่ต้องควักเงินลงทุนก้อนโต 40,000-50,000 บาทต่อ 1 กิโลวัตต์ แต่รัฐมีสัญญารับซื้อไฟฟ้าเพียง 10 ปี..คุ้มทุนอาจพอได้เห็น..แต่คืนทุนนี่สิ..ไม่มีใครตอบได้


สำนักข่าวรัชดา

“ดีแต่ไม่คุ้มหรือไม่” กับโครงการโซลาร์รูฟท็อปภาคประชาชน กลายเป็นคำถามที่มาพร้อมความลังเล..!! “คุ้มค่าหรือไม่” ที่ต้องควักเงินลงทุนก้อนโต 40,000-50,000 บาทต่อ 1 กิโลวัตต์ แต่รัฐมีสัญญารับซื้อไฟฟ้าเพียง 10 ปี..คุ้มทุนอาจพอได้เห็น..แต่คืนทุนนี่สิ..ไม่มีใครตอบได้

“โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาภาคประชาชน” ปีละ 100 เมกะวัตต์จำนวน 10 ปี เป็นโครงการสำหรับเจ้าของบ้านและอาคารที่เป็นเจ้าของมิเตอร์ ประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่ต้องการติดตั้งแผงเซลล์ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้เอง สามารถเชื่อมกับระบบไฟฟ้าและขายผลผลิตไฟฟ้าส่วนเกินความต้องการใช้ เข้าสู่ระบบได้

มีการประเมินกันว่าแต่ละครัวเรือนที่ติดตั้งจะประหยัดเงินค่าไฟฟ้าประมาณ 100,000-300,000 บาทตลอดอายุแผง โซลาร์ 25 ปี กรณีติดตั้งเพื่อใช้เองและไม่ขายไฟฟ้าเข้าระบบ..

แต่กรณีติดตั้งเพื่อใช้เองและขายไฟฟ้าส่วนเกินเข้าระบบโซลาร์รูฟท็อปภาคประชาชน จะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ 10,000-30,000 บาท ตลอดเวลา 10 ปี

จากข้อมูลที่ว่า..การติดตั้งเพื่อใช้เอง ดูเหมือนมีความคุ้มค่าสูงกว่า..!!

นั่นเป็นเหตุที่ไม่น่าจูงใจ..ให้มีการยื่นขอ “ติดตั้งเพื่อใช้เองและขายไฟฟ้าส่วนเกินเข้าระบบ” อัตราค่ารับซื้อไฟฟ้าเพียง 1.68 บาทต่อหน่วย แต่ค่าติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ปัจจุบันอยู่ที่ 40,000-50,000 บาทต่อ 1 กิโลวัตต์

หากเป็นจริงที่ว่า..จะมีผู้มายื่นขอเข้าร่วมโครงการได้ครบ 100 เมกะวัตต์ต่อปีหรือไม่..!?

การปรับเงื่อนไข จึงน่าจะเป็นทางออกเพื่อสร้างแรงจูงใจ..ให้มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการมากขึ้น..!?

หนึ่งในข้อเสนอที่น่าสนใจ คือ การเพิ่มระยะเวลาการรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินจาก 10 ปี เป็น 25 ปี หรือตลอดอายุแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุนติดตั้ง..!!

หรือปรับอัตรารับซื้อไฟฟ้าจาก 1.68 บาทต่อหน่วยเป็น 2 บาทขึ้นไป..!!

เรื่อง “การขยายเวลารับซื้อไฟส่วนเกิน” ดูจะมีความเป็นไปได้มากว่า..จะปรับอัตรารับซื้อไฟฟ้าดังกล่าว

แต่รัฐจะยอมหรือไม่..เพราะนั่นหมายถึง..รัฐต้องรับซื้อไฟฟ้าต่ออีก 15 ปี

นั่นคือโจทย์ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)ในฐานะเจ้าภาพ..อาจต้องหยิบยกนำไปพิจารณาทบทวนหรือไม่..!?

“โครงการดีแค่ไหน..แต่ไม่คุ้มค่าลงทุน” มันก็คงไม่มีประโยชน์อะไร..!?

..อิ อิ อิ..

Back to top button