RAM เดินตามรอย BDMS.!?

เป็นอีกดีลที่น่าจับตา !! กรณีบริษัท โรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน) หรือ RAM ทุ่มเงินกว่า 283 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้นของบริษัท โรงพยาบาลราชธานี จำกัด (มหาชน) หรือ RJH จำนวน 12 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 4% จนถือหุ้นเป็น11.94%


สำนักข่าวรัชดา

เป็นอีกดีลที่น่าจับตา !! กรณีบริษัท โรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน) หรือ RAM ทุ่มเงินกว่า 283 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้นของบริษัท โรงพยาบาลราชธานี จำกัด (มหาชน) หรือ RJH จำนวน 12 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 4% จนถือหุ้นเป็น11.94%

ทำให้ถูกตั้งคำถามว่า RJH มีดีอะไร ??  RAM จึงต้องเข้าไปถือหุ้น ??

ถ้าไปดูไส้ในงบการเงินของ RJH จะเห็นว่ารายได้และกำไรเติบโตทุกปี…

โดยปี 2559 มีกำไรสุทธิ 154.64 ล้านบาท จากรายได้รวม 1,224 ล้านบาท ปี 2560 มีกำไรสุทธิ 231.24 ล้านบาท จากรายได้รวม 1,424.24 ล้านบาท ปี 2561 มีกำไรสุทธิ 254.54 ล้านบาท จากรายได้รวม 1,611.05 ล้านบาท

ล่าสุดงวดไตรมาส 1/2561 มีกำไรสุทธิ 176.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 168% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 65.92 ล้านบาท และมีรายได้รวม 445.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 382.92 ล้านบาท

นั่นเท่ากับว่า RAM จะรับรู้ส่วนแบ่งรายได้และกำไรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีตามสัดส่วนการถือหุ้น RJH

รวมทั้งจะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาในรูปเงินปันผล ซึ่งปัจจุบันยีลด์อยู่ที่ 2.82%

แค่นี้ก็เป็นเหตุเป็นผลเพียงพอที่ RAM จะเข้าไปถือหุ้น RJH

แต่…อีกประเด็นสำคัญเป็นเรื่องของการ Synergy ธุรกิจระหว่างกัน

ก่อนหน้านี้ที่ RAM อยู่ภายใต้ชายคาบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS (เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่) แทบไม่เห็นการ Synergy ธุรกิจระหว่าง RAM กับ BDMS เลย

แต่…หลังจากมีการเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้น RAM มาอยู่ภายใต้กลุ่มโรงพยาบาลวิภาราม ก็เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนขึ้น

แน่นอนนอกจากจะเห็นการ Synergy ธุรกิจระหว่าง RAM และกลุ่มโรงพยาบาลวิภารามมากขึ้นแล้ว

คงได้เห็นการ Synergy ธุรกิจระหว่าง RAM และ RJH ด้วย

เนื่องจากการเข้าถือหุ้น RJH ในสัดส่วน 11.94% ทำให้ RAM ได้สิทธิ์ส่งคนเข้าไปนั่งในบอร์ด RJH ได้ 1 คน

นั่นเท่ากับว่า RAM สามารถเสนอนโยบายต่าง ๆ ให้บอร์ด RJH พิจารณาได้…

RAM เป็นโรงพยาบาลที่เน้นจับตลาดระดับไฮเอนด์ ลูกค้าเป็นกลุ่มคนเมืองและต่างชาติซะส่วนใหญ่

ขณะที่ RJH มีโรงพยาบาลในเครือ 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลราชธานี และโรงพยาบาลราชธานี โรจนะ ตั้งอยู่ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ในพื้นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 4 แห่ง

ลูกค้าหลักที่มาใช้บริการส่วนใหญ่จึงเป็นพนักงานในนิคมฯ

RAM สามารถอาศัยเครือข่ายของ RJH ในการขยายธุรกิจการแพทย์ไปสู่ต่างจังหวัดได้ง่ายขึ้น…

จะว่าไปก็คล้าย ๆ กับโมเดลกลุ่มโรงพยาบาลเครือโรงพยาบาลกรุงเทพที่ซื้อกิจการโรงพยาบาลต่าง ๆ มาไว้ในเครือ

เพื่อหวังเป็นฮับทางด้านเฮลท์แคร์…

ที่สำคัญ ทำให้จับลูกค้าได้ครอบคลุมทุกกลุ่ม

เช่น โรงพยาบาลพญาไท จับตลาดไฮเอนด์, โรงพยาบาลกรุงเทพจับลูกค้าเฉพาะทาง ส่วนโรงพยาบาลเปาโล จับลูกค้าระดับกลาง-ล่างและผู้ใช้บัตรประกันสังคม

จะเป็นไปได้มั้ย? ที่ RAM จะใช้โมเดลเดียวกับ BDMS

จึงเริ่มเห็นการขยับไปซื้อหุ้นในโรงพยาบาลอื่น ๆ

ก็ต้องติดตามกันต่อไป…

…อิ อิ อิ…

Back to top button