ตลท.เปิดเฮียริ่งเกณฑ์ควบคุมตลาดฯ รับมือหุ้นผันผวน

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. ระบุว่า เพื่อบรรเ …


ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. ระบุว่า เพื่อบรรเทาผลกระทบของผู้ลงทุนจากสภาวะความผันผวนของตลาดจากสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ปรับปรุงเกณฑ์ขายชอร์ต (Short Selling) รวมทั้งเกณฑ์หยุดทำการซื้อขาย (Circuit Breaker) ของตลาดหลักทรัพย์ และเกณฑ์ราคาเสนอซื้อขายสูงสุดต่ำสุดประจำวันของหุ้นแต่ละตัว (Ceiling & Floor) เพื่อบังคับใช้เป็นการชั่วคราว ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงได้พิจารณาถึงมาตรการอื่น ๆ ที่ควรพิจารณาใช้ในกรณีมีเหตุที่กระทบต่อตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้นำมาใช้เป็นมาตรการชั่วคราวในการลดผลกระทบจากสภาพการซื้อขายที่ผิดปกติหรือจากเหตุอื่นที่กระทบต่อการดำเนินงานปกติของตลาดหลักทรัพย์

รวมทั้งเพิ่มโอกาสแก่ผู้ลงทุนในการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเพื่อตัดสินใจลงทุนได้มากขึ้น โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจ ดังนี้

โดยการดำเนินการกรณีมีเหตุที่กระทบต่อตลาด (Market Disruption) เช่น มีเหตุที่ทำให้ Circuit Breaker ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำงานหรือมีเหตุขัดข้องที่กระทบต่อการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามปกติ โดยให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถกำหนดมาตรการที่จำเป็นเร่งด่วน และบังคับใช้เป็นการชั่วคราว

ทั้งนี้เพื่อให้มีความคล่องตัวในการดำเนินการ อันจะช่วยลดผลกระทบในภาวะการซื้อขายที่ผิดปกติได้อย่างเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์การปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการหยุดทำการซื้อขายหลักทรัพย์ (Circuit Breaker) เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพตลาดในปัจจุบัน ลดความตื่นตระหนก โดยให้ผู้ลงทุนมีโอกาสศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน และสอดคล้องกับแนวทางของตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยเสนอปรับเกณฑ์ Circuit Breaker จาก 2 ระดับ เป็น 3 ระดับ และระยะเวลาหยุดซื้อขาย รวมทั้งอนุญาตให้ใช้ Program Trading หลังเกิด Circuit Breaker ได้ ดังนี้

ระดับ ปัจจุบัน ข้อเสนอ

Index หยุดซื้อขาย Index หยุดซื้อขาย

ระดับที่ 1 -10% 30 นาที -8% 30 นาที

ระดับที่ 2 -20% 60 นาที -15% 30 นาที

ระดับที่ 3 – – -20% 60 นาที

สำหรับผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถติดตามเอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวได้ที่เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ https://www.set.or.th/th/regulations/consult/market_consultation_p1.html

เลือกหัวข้อ “การดำเนินการกรณีมีเหตุที่กระทบต่อตลาดหลักทรัพย์” โดยแสดงความคิดเห็นได้ทาง e-mail: [email protected] จนถึงวันที่ 30 มีนาคม 2563

Back to top button