คัด 7 หุ้นส่งออกพื้นฐานแกร่ง เตรียมเด้งรับอานิสงส์บาทอ่อนหนุนกำไรโต!

คัด 7 หุ้นส่งออกพื้นฐานแกร่ง เตรียมเด้งรับอานิสงส์บาทอ่อนหนุนกำไรโต!


“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ได้ทำการสำรวจและรวบรวมบทวิเคราะห์ที่เกี่ยวกับการลงทุนในกลุ่มส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่น คือการส่งออก สินค้าเกษตร-อาหาร ซึ่งถือเป็นหุ้นที่มีปัจจัยบวก และได้รับอานิสงส์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง

อีกทั้งยังเป็นหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง โดยมีการคาดการณ์ตัวเลขว่า ค่าเงินบาททุกๆ 1 บาท ที่อ่อนค่า จะหนุนกำไรหุ้นในกลุ่มส่งออกเพิ่มขึ้นราว 2 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็น กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 500 ล้านบาท (แต่หุ้นส่วนใหญ่เต็มมูลค่าพื้นฐานแล้ว) , กลุ่มเกษตรและอาหาร 1.5 พันล้านบาท

โดย บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ (21 ก.ค.2563) กลยุทธ์การลงทุน เงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่า ทำให้ Fund Flow จากนักลงทุนต่างชาติไม่ไหลเข้า ในทางตรงข้ามอาจเห็นการไหลออกแทน ทำให้หุ้น Market Cap กลาง-เล็ก มีโอกาสที่จะ Perform มากกว่า ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่เด่นคือการส่งออก สินค้าเกษตร-อาหาร

บาทอ่อน ถือเป็นอุปสรรคต่อ Fund Flow ชอบ CPF, MCS, DCC

เดือน ก.ค. 63 นี้ ประเทศไทยเผชิญกับแรงกดดันเฉพาะตัว 3 เรื่อง

– การพบผู้ติดเชื้อโควิด ในจังหวัดระยองและกรุงเทพ (หลังจากไม่พบผู้ติดเชื้อมานานกว่า 2 เดือน)

– การเมืองที่ร้อนแรง จากการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษาพร้อมข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล

– ยังอยู่ในช่วงรอยต่อการปรับ ครม. ที่ดูเหมือนว่าจะมีการปรับในหลายตำแหน่ง

ทั้งนี้ประเด็นกดดันเฉพาะตัวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้ค่าเงินบาทในเดือน ก.ค. พลิกกลับมาอ่อนค่า 2.9% นับตั้งแต่ต้นเดือน ซึ่งอ่อนค่าแรงเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาค

โดยการกลับมาอ่อนค่าของเงินบาท ส่งผลให้ต่างชาติอาจลังเลในการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเพิ่มขึ้น เพราะนักลงทุนต่างชาติมีโอกาสขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และยังสอดคล้องกับสถิติในอดีตย้อนหลัง 5 ปี คือ ทุกๆค่าเงินบาทอ่อนค่าเฉลี่ย 1% จะส่งผลให้เงินทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นเฉลี่ยราว 7.8 พันล้านบาท

ทั้งนี้ Fund Flow ต่างชาติอาจลดน้อยลง ส่งผลให้การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นไทยต่อจากนี้ค่อนข้างจะจำกัด และต้องหวังพึ่งแรงผลักดันจากนักลงทุนในประเทศเป็นหลัก

ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนแบ่งออกเป็น 2 ธีม

  1. เน้นหุ้นส่งออกพื้นฐานแข็งแกร่ง แถมยังได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าแรง จากสมมุติฐานของฝ่ายวิจัยฯ ค่าเงินบาททุกๆ 1 บาท ที่อ่อนค่า จะหนุนกำไรหุ้นในกลุ่มส่งออกเพิ่มขึ้นราว 2 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็น กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 500 ล้านบาท (แต่หุ้นส่วนใหญ่เต็มมูลค่าพื้นฐานแล้ว) , กลุ่มเกษตรและอาหาร 1.5 พันล้านบาท แนะนำ CPF (รายได้จากต่างประเทศ 70%), STA (ส่งออกสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ 80%), STGT (ส่งออกสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ 90%)
  2. หุ้นขนาดกลาง-เล็กพื้นฐานแข็งแกร่ง ถือเป็นเป้าหมายอันดับต้นของการนักลงทุนในประเทศ และน่าจะ Outperform ตลาดต่อเหมือนช่วงที่ผ่านๆ มา แนะนำ MCS, DCC, SCCC และ INSET

ด้าน บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส แนะนำ เก็งกำไรหุ้นกลุ่มส่งออกเมื่อบาทอ่อน- DELTA,HANA,KCE,CPF,TU

*อนึ่งข้อมูลที่มีการนำเสนอข้างต้น เป็นเพียงข้อแนะนำจากข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนเท่านั้น และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆการตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ ของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการใช้วิจารณญาณของผู้อ่าน

 

Back to top button