พาราสาวะถี

ไม่ได้มีปัญหาอะไรให้ติดขัดทุกอย่างว่ากันตามกระบวนการ ทำกันเป็นพิธีกรรม ดังนั้น การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ในวาระสองและสามของสภาผู้แทนราษฎร จึงไม่ได้มีอะไรติดขัด การอภิปรายของส.ส.พรรคฝ่ายค้านก็เป็นเพียงแค่การได้แสดงให้ฝ่ายที่สนับสนุนได้เห็นว่ามีการทักท้วง ติติงในสิ่งที่เห็นว่าไม่ชอบแล้ว สุดท้ายก็พ่ายแพ้เสียงข้างมากลากไป ซึ่งก็ถือเป็นวิธีปกติของกลไกที่ใช้เสียงข้างมากในสภา


อรชุน

ไม่ได้มีปัญหาอะไรให้ติดขัดทุกอย่างว่ากันตามกระบวนการ ทำกันเป็นพิธีกรรม ดังนั้น การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ในวาระสองและสามของสภาผู้แทนราษฎร จึงไม่ได้มีอะไรติดขัด การอภิปรายของส.ส.พรรคฝ่ายค้านก็เป็นเพียงแค่การได้แสดงให้ฝ่ายที่สนับสนุนได้เห็นว่ามีการทักท้วง ติติงในสิ่งที่เห็นว่าไม่ชอบแล้ว สุดท้ายก็พ่ายแพ้เสียงข้างมากลากไป ซึ่งก็ถือเป็นวิธีปกติของกลไกที่ใช้เสียงข้างมากในสภา

หลังจากผ่านความเห็นชอบของสภาล่างแล้ว สภาลากตั้งก็เตรียมรับไม้ต่อพิจารณายกมือผ่านกันในวันที่ 21 และ 22 กันยายนในทันที ใช้เวลาพิจารณาศึกษารายละเอียดทั้งหมดแค่ 3 วันคือ 18-20 กันยายน ทั้งที่ตามกฎหมายระบุไว้ว่าส.ว.มีเวลาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณในวาระสองและสามถึง 20 วัน แต่เมื่อมันชัดเจนอยู่แล้วว่า ทุกอย่างต้องว่ากันไปตามใบสั่ง ดังนั้น หากเนิ่นช้าออกไปสภาก็จะปิดสมัยประชุม และต้องกลับมาพิจารณากันอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนโน่น หากไม่มีการเปิดประชุมสมัยวิสามัญ

แค่ตามเงื่อนเวลาที่เป็นอยู่เวลานี้ก็ทำให้งบประมาณปี 2564 ไม่ทันใช้ในการเริ่มต้นปีงบประมาณคือ 1 ตุลาคมนี้แล้ว จนที่ประชุมครม.ต้องมีมติขอใช้งบประมาณของปี 2563 ไปพลางก่อน มันจึงไม่มีทางเลือกอื่นสำหรับส.ว.ลากตั้ง ด้วยเหตุนี้ สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกกต.จึงโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กชี้ไทม์ไลน์ของการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณว่า ใครช้าและใครชุ่ย สรุปคือ รัฐบาลช้าและส.ว.ชุ่ย ไม่ได้มีปัญหาในชั้นการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ที่มีความพยายามจะยัดเยียดความผิดให้กับฝ่ายค้านแต่อย่างใด

ขณะที่ผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจใช้เวลาในช่วงเช้าของวันที่มีการอภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณในวาระสอง พบปะกับนักเศรษฐศาสตร์ จากองค์กรวิจัยอิสระ มหาวิทยาลัย และสถาบันการเงิน ก่อนที่จะคุยฟุ้งว่ามีหลายเรื่องที่ได้คุยกัน เช่น นโยบายการเงินการคลัง ระบบภาษี การกระตุ้นการจ้างงาน และการปรับทักษะแรงงาน รวมถึงสถานการณ์และมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลต้องเตรียมการเพื่อรับมือในอนาคต หลายเรื่องได้เริ่มทำไปแล้วหรืออยู่ระหว่างการดำเนินการเพราะตรงกับยุทธศาสตร์ชาติที่มี

ก่อนที่จะลากเข้าประเด็นความใจกว้างของตัวเอง ด้วยการอธิบายว่า หลายเรื่องเป็นประโยชน์ที่ช่วยให้ตนสามารถตัดสินใจและกำหนดแนวทางการดำเนินการของรัฐบาลต่อไป รู้สึกดีใจที่ได้เห็นความเต็มใจของทุกคนที่พร้อมจะเข้ามาช่วยเหลือประชาชนและประเทศชาติ ตนยืนยันว่ารัฐบาลพร้อมที่จะรับฟังทุกภาคส่วน ต้องบอกว่าเอาที่สบายใจ หากได้ฟังแต่สิ่งที่ได้คัดสรรกันมาเพื่อเอาใจแล้วคิดว่าทำถูกต้อง แต่ปัญหาที่เป็นจริงยังคงอยู่

อย่าลืมเป็นอันขาดมุมมองในเชิงวิชาการหรือมุมวิเคราะห์ของบรรดากูรู ผู้รู้ทั้งหลายแหล่นั้น บางครั้งไม่สามารถหยิบจับเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ มันต้องไปสัมผัสกับความเดือดร้อน อดอยากของประชาชนอย่างแท้จริง จะได้รู้ว่าหลายสิ่งนั้นไม่ได้มีในตำรา หลายเรื่องมันไม่สามารถเดินตามข้อเสนอแนะที่เป็นนามธรรมได้ ใช่ว่าคนเหล่านั้นจะไม่เก่ง แต่คำถามก็ถือผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจก็ใช้บริหารของคนเหล่านี้มาตลอดช่วงเวลากว่า 6 ปีไม่ใช่หรือ ไม่เห็นจะมีอะไรดีขึ้น

เวลานี้แทนที่จะไปเพ้อฝันกับข้อเสนอแนะที่ตัวเองพึงพอใจ ควรจะเร่งหาตัวผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ให้ได้ก่อนจะดีกว่าไหม ตำแหน่งนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญในการที่จะขับเคลื่อนงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล อย่ามาอ้างว่ามีรัฐมนตรีช่วยว่าการที่สามารถปฏิบัติหน้าที่แทนได้อยู่ ถ้าทำได้ดีขนาดนั้น จะต้องหาคนใหม่มาให้เมื่อยตุ้มทำไม ไม่แต่งตั้งคนที่มีอยู่ไปเสีย จะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปทาบทามและต้องถูกปฏิเสธซ้ำซาก

รายชื่อที่ปรากฏอยู่ขณะนี้ ก็มีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น อยู่ที่ว่าแต่ละรายที่ได้รับทาบทามจะมองในมิติไหน หากประสงค์จะเข้ามาช่วยประเทศชาติ เพื่อประคับประคองสถานการณ์ให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตินี้ไปให้ได้ ก็ไม่ต้องคิดมาก แต่หากเห็นว่าเข้ามาแล้วไม่ได้ก่อประโยชน์อะไรให้กับประเทศชาติและประชาชน มิหนำซ้ำ ยังต้องมาเผชิญกับแรงกดดันทางการเมืองของพรรคสืบทอดอำนาจ สู้อยู่บ้านเฉย ๆ หรือใช้ความรู้ ความสามารถไปในทางอื่นจะดีกว่า

อย่างไรก็ตาม จนถึงเวลานี้ 2 ใน 3 รายชื่อไม่ได้ตอบรับหรือปฏิเสธนั่นก็คือ ชาติชาย พยุหนาวีชัย อดีตผู้อำนวยการธนาคารออมสิน และ สมชัย สัจจพงษ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง ทั้งหมดคงจะเกิดความชัดเจนภายในเดือนนี้ โดยที่คงต้องรอดูสถานการณ์อันเนื่องมาจากการชุมนุมใหญ่ของกลุ่นแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 19 กันยายนนี้ก่อน ดูท่าทีของฝ่ายกุมอำนาจแล้วชัดเจนว่าหวั่นไหวกันอยู่ไม่น้อย

แรงกดดันจะหนักหน่วงหรือไม่อยู่ที่จำนวนตัวเลขของผู้มาร่วมชุมนุม เชื่อแน่ว่าฝ่ายความมั่นคงก็คงจะติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ ทั้งประเทศ และแน่นอนว่าน่าจะได้ข้อมูลข่าวไปในทิศทางเดียวกันคือ มีการระดมพลกันแทบทุกจังหวัดเพื่อที่จะเข้าร่วมกับขบวนการของคนหนุ่มสาว ยังไม่นับรวมนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชน ที่จะเดินทางมาร่วมการชุมนุมด้วยตัวเอง ดังนั้น ที่ทางแกนนำขอกันไว้เพื่อการตัดสินใจในการขับเคลื่อนต่อที่ 5 หมื่นคนก็น่าจะไม่ห่างไกลความจริง

สิ่งที่สร้างความหนักใจให้กับฝ่ายการข่าวและงานด้านความมั่นคงคือ ไม่อาจประเมินได้ในส่วนของคนหนุ่มสาว เพราะคนเหล่านี้ไม่ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน แต่เมื่อถึงเวลาจะเดินทางมาเข้าร่วมจากทุกทิศทาง นี่คือความยากของม็อบที่ไร้แกนนำหลัก หรือม็อบจัดตั้ง จึงได้ยินผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจตอกย้ำอยู่หลายหน รัฐบาลต้องดูแลลูกหลานของทุกคนเหมือนลูกหลานตัวเอง ดีไม่ดีจำนวนไม่น้อยก็คือลูกหลานของผู้ปฏิบัติงานในการดูแลม็อบนั่นเอง

จุดยุทธศาสตร์ที่ผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจสั่งการเจ้าหน้าที่คือทำเนียบรัฐบาล ห้ามไม่ให้ม็อบเข้าใกล้โดยเด็ดขาด บางทีภาพในอดีตมันคงตามมาหลอกหลอน เพราะพี่รองของตัวเองก็เคยสนับสนุนม็อบให้ทำแบบนี้ พร้อมกับเรียกร้องให้ผู้นำประเทศในเวลานั้นลาออกด้วย โดยที่ตัวเองยังสวมหัวโขนเป็นผู้นำกองทัพ นี่แหละ กงเกวียนกำเกวียน บางทีกรรมยุคใหม่มันก็ตามมาราวีได้เร็วเหมือนกัน

Back to top button