BCPG บุ๊กพิเศษ-รายได้ขายไฟโต หนุนกำไร Q1 ทะยาน 160% แตะ 1.36 พันลบ.

BCPG รายงานกำไร Q1/65 ทะยาน 160% แตะ 1.36 พันลบ. จากปีก่อนกำไร 523 ลบ. หลังบุ๊กพิเศษ-รายได้ขายไฟโตหนุน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) หรือ BCPG รายงานกำไรไตรมาส 1/65 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค.65 มีกำไรสุทธิ ดังนี้

โดยบริษัทมีกำไรสุทธิเติบโตจากการรับรู้ผลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ “Nam San 3A” และ “Nam San 3B” เพิ่มขึ้นจากปริมาณฝนที่ตกมากขึ้นจากการเกิดพายุฤดูร้อนในระหว่างไตรมาส รวมถึงการรับรู้ผลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น จากการเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ของโครงการ ชิบะ 1 (20 เมกะวัตต์) เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564

นอกจากนี้ บริษัทมีการบันทึกส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ประเทศฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น จากการรับรู้อัตราค่าไฟเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 1/2565 กลุ่มบริษัทฯ มีส่วนแบ่งกำไรจากการดำเนินงาน (หลังหักค่าตัดจำหน่าย) จากโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ประเทศ ฟิลิปปินส์อยู่ที่ 33.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.3 และร้อยละ 536.3 จากไตรมาส 1/2564 และไตรมาสที่ 4/2564 ตามลำดับ

ขณะที่ในไตรมาสที่ 1/2565 กลุ่มบริษัทฯ มี EBITDA จากการดำเนินงาน 1,057.1 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 11.5 จากไตรมาสที่ 1/2564 เนื่องจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศ ญี่ปุ่นและโรงไฟฟ้าพลังน้ำในสปป.ลาว รวมถึงส่วนแบ่งกำไรจากโครงการพลังงานลมในประเทศฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้นดังกล่าวข้างต้น

นอกจากนี้ในไตรมาสที่ 1/2565 กลุ่มบริษัทฯ ได้จำหน่ายเงินลงทุนทั้งหมดในบริษัท Star Energy Group Holdings Pte. Ltd. ให้แก่บริษัท Springhead Holdings Pte. Ltd. เป็นจำนวนเงิน 440 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือประมาณ 14,551.32 ล้านบาท) เป็นผลให้กลุ่มบริษัทฯ รับรู้ กำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและภาษีเป็นจำนวน 1,644.6 ล้านบาท

พร้อมกันนี้ในไตรมาส 1/2565 กลุ่มบริษัทฯ ตั้งสำรองค่าเผื่อการด้อยค่า 2 รายการ รวม 628.7 ล้านบาท ได้แก่ การตั้งสำรองค่าเผื่อการด้อยค่าของ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดกำลังการผลิตตามสัญญาซื้อขายไฟ 10 เมกะวัตต์ แห่งหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากโครงการ ดังกล่าวซึ่งอยู่ในระหว่างช่วงการขอใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องเพื่อเริ่มการก่อสร้างและมีความเสี่ยงที่อาจไม่สามารถได้รับใบอนุญาตทันตาม กำหนดเวลา จนส่งผลต่อการปรับลดอัตราค่าไฟฟ้า (Feed-in Tariff) ของโครงการ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเนื่องถึงความเป็นไปได้ที่จะดำเนิน โครงการต่อ และการตั้งสำรองค่าเผื่อการด้อยค่าลูกหนี้เนื่องจากลูกหนี้การค้ารายหนึ่ง มียอดคงค้างเกินกำหนดชำระเงินเป็นเวลานาน กลุ่ม บริษัทฯ จึงตั้งสำรองค่าเผื่อจากการด้อยค่าลูกหนี้ดังกล่าวเพิ่มขึ้นเพื่อสะท้อนถึงฐานะความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกหนี้รายดังกล่าว

Back to top button