AAV ต้นทุน-ค่าใช้จ่ายพุ่ง ฉุดงบ Q3 ขาดทุนเพิ่มเกือบเท่าตัว!

AAV เจอต้นทุน-ค่าใช้จ่ายเพิ่ม ฉุดงบไตรมาส 3/65 ขาดทุนเพิ่ม 93% มาที่ 4 พันลบ. ส่วนงวด 9 เดือนขาดทุนเพิ่ม 97% มาที่ 1.1 หมื่นลบ.


บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV รายงานผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 3 และงวด 9 เดือนแรกของปี 2565 มีกำไรสุทธิ ดังนี้

โดยในไตรมาสนี้ บริษัทมีผลการดำเนินงานหลักที่ดีขึ้น ทำให้บริษัทมีขาดทุน EBITDA ลดลงมาอยู่ที่ (601.1) ล้านบาท ซึ่งลดลงจากขาดทุน (665.9) ล้านบาท และ (1,046.5) ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสก่อน ตามลำดับ ต้นทุนทางการเงินอยู่ที่ 625.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 13 เทียบกับไตรมาสก่อน จากค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยของ หนี้สินตามสัญญาเช่า (TFRS 16) และต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น

ทั้งนี้ อัตราต้นทุนทางการเงินสุทธิ (effective interest rate) อยู่ที่ร้อยละ 5.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.4 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน รายได้ภาษีเงินได้อยู่ที่1,578.1 ล้านบาท โดยหลักมาจากผลขาดทุนทางภาษีในงวดที่นำไปใช้ได้ในอนาคต ทำให้โดยสรุปบริษัทรายผลขาดทุนส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทสำหรับงวดเท่ากับ (4,050.2) ล้านบาท เทียบกับผลขาดทุน (2,098.3) ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน และผลขาดทุน (4,723.6) ล้านบาท ในไตรมาสก่อน หรือคิดเป็นขาดทุนต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและปรับลดอยู่ที่ (0.35) บาท โดยบริษัทรับรู้ผลขาดทุนของ บจ. ไทยแอร์เอเชียที่ร้อยละ 100 ในไตรมาสนี้ เทียบกับร้อยละ 55 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2565 บริษัทรายงานรายได้รวมเท่ากับ 9,503.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 229 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต่อเนื่องมาจากไตรมาสที่แล้ว รายได้จากการขายและให้บริการอยู่ที่ 9,289.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 304 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยกว่าร้อยละ 52 มาจากรายได้ของไตรมาสนี้จำนวนเที่ยวบินเพิ่มขึ้นเป็น 40,597 เที่ยว จาก 15,670 เที่ยวในปีก่อน โดย บจ. ไทยแอร์เอเชีย ได้กลับมาบินเส้นทางในประเทศครบทุก เส้นทางที่เคยบินก่อนช่วงโควิด-19 และเพิ่มเที่ยวบินในประเทศจากสนามบินสุวรรณภูมิมากขึ้นนอกเหนือจากสนามบินดอนเมือง โดยเฉพาะเส้นทางบินที่ไปยังเชียงใหม่และภูเก็ต

นอกจากนั้น บจ. ไทยแอร์เอเชีย ได้เพิ่มเที่ยวบินในภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาค เอเชียใต้ที่ยังมีแนวโน้มการท่องเที่ยวที่โดดเด่น โดยในช่วงเก้าเดือนแรกของปีนี้ บจ. ไทยแอร์เอเชีย ขนส่งผู้โดยสาร 5.89 ล้านราย เทียบกับเป้าหมายที่คงไว้ทั้งปีที่ 10 ล้านราย อัตราการขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่ร้อยละ 80 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 64 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน และสามารถรักษาอัตราตรงต่อเวลาได้ที่ร้อยละ 95

ทั้งนี้ จากเที่ยวบินต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ทำให้รายได้จากบริการเสริมเติบโตร้อยละ 320 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็น 1,747.7 ล้านบาท หนุนจากรายได้บริการฝากสัมภาระใต้ท้องเครื่อง รายได้จากการขายสินค้าบนเครื่องบิน และรายได้ค่าธรรมเนียมอื่นๆ รายได้อื่นๆ อยู่ที่ 214.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 64 เทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน เนื่องจากบริษัทมีผลขาดทุนตราสารอนุพันธ์ในช่วงเก้าเดือนของปีนี้ ในขณะที่มีผลกำไรจากตราสารอนุพันธ์ในช่วงเก้าเดือนของปีที่แล้ว

ด้านค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 22,260.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 76 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเพิ่มของต้นทุนขายและการ บริการร้อยละ 115 และผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่รับรู้ร้อยละ 21 ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารอยู่ที่ 1,155.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากค่าบริการจัดจำหน่ายและรับชำระเงินสำหรับการขายตั๋วโดยสารแบบออนไลน์ให้แก่บริษัท AirAsia Com Travel ตามยอดขายที่เพิ่มขึ้น บจ. ไทยแอร์เชีย ได้ดำเนินการคืนเครื่องบินทั้งสิ้น 2 ลำทำให้ปัจจุบันมีฝูงบินรวม 58 ลำ โดย 35 ลำ เป็นเครื่องบินที่ปฏิบัติการบิน

ทั้งนี้ ยังคงแผนการคืนเครื่องบินอีก 5 ลำ ที่เหลือ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ขาดทุน EBITDA อยู่ที่ (2,906.8) ล้านบาท เทียบกับขาดทุน (2,374.1) ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ 1,735.3 ล้านบาท จากผลของ TFRS 16 และต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น รายได้ภาษีเงินได้อยู่ที่ 3,141.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 732.9 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยหลักมาจากผลขาดทุนทางภาษีในงวดที่นำไปใช้ได้ในอนาคต ทำให้โดยสรุปบริษัทมีผลขาดทุนส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทสำหรับงวดเท่ากับ (11,144.4) ล้านบาท เทียบกับผลขาดทุน (5,654.7) ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปัจจุบันบริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 ใน บจ. ไทยแอร์เอเชีย

Back to top button