สลด! “เรือหลวงสุโขทัย” พบผู้เสียชีวิต 1 ราย ประสบเหตุเรืออับปาง

เศร้าสลด! กรณีเรือหลวงสุโขทัยพร้อมกำลังพล 106 นาย ของ กองทัพเรือ ประสบอุบัติเหตุอับปางจมใต้ทะเล พบผู้เสียชีวิต 1 ราย อีก 9 ราย มีสภาพอิดโรย โดยเรือยังไม่สามารถเข้าฝั่งได้เนื่องจากสภาพคลื่นลมแรงจัด


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีเรือหลวงสุโขทัย พร้อมกำลังพล 106 นาย ของ กองทัพเรือ ประสบอุบัติเหตุอับปางจมใต้ทะเลเมื่อช่วงดึกวันที่ 18 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยได้เร่งให้ความช่วยเหลือตลอดทั้งคืน และมีผู้สูญหาย 31 นาย

ขณะที่ล่าสุดมีรายงานเมื่อเวลา 12:40 น. ศรชล. ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมรับกำลังพล ของกองทัพเรือ ที่ได้รับการช่วยเหลือจากเรือ PATTARAVARIN 88 จำนวน 10 คน โดยพบเสียชีวิต 1 ราย อีก 9 ราย มีสภาพอิดโรย โดยเรือยังไม่สามารถเข้าฝั่งได้เนื่องจากสภาพคลื่นลมแรงจัด และน้ำมันเชื้อเพลิงไม่เพียงพอจึงจอดสมอบริเวณบังคลื่น เกาะเสม็ด จังหวัดชุมพร

สำหรับประวัติเรือหลวงสุโขทัย (ร.ล.สุโขทัย) จากสังกัดหมวดเรือที่ 1 กองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ หมายเลข 442 ประจำการตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2530 มีประวัติความเป็นมาจาก เรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ (2 ลำ) สร้างโดย TACOMA BOATBUILDING COMPANY ที่เมือง TACOMA ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเรือคอร์เวต โดยชื่อเดิม คือ RTN 252 FT PSMM MK-16#446 ได้รับการติดตั้งระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ และระบบอำนวยการรบที่ทันสมัย มีขีดความสามารถและประสิทธิภาพสูง พร้อมปฏิบัติการรบทั้ง 3 มิติ ในเวลาเดียวกัน คือ 1. การป้องกันภัยทางอากาศ 2. สงครามผิวน้ำ และ 3. สงครามปราบเรือดำน้ำ

โดยมีคุณลักษณะระวางขับน้ำ ปกติ 866.8 ตัน เต็มที่ 958.9 ตัน และมิติ (กว้าง*ยาว*สูง) 9.6*76.7*26.82 น้ำลึกหัว 3.81 เมตร ท้าย 3.07 เมตร โดมโซนาร์ 4.5 เมตร ขนาดเครื่องจักรใหญ่ ดีเซลจำนวน 2 เครื่อง ชนิด 4 Stroke, Single Action แบบ 20V 1163 TB 83 กำลัง 7,268 แรงม้า พร้อมเครื่องไฟฟ้า จำนวน 4 เครื่อง ชนิด Self-Regulating Brushless Alternators แบบ DKB 100/550-4TS ความเร็ว มัธยัสถ์ 16 นอต สูงสุด 24 นอต ส่วนระยะปฏิบัติการสูงสุด 3,568 ไมล์ทะเล

อย่างไรก็ตามภารกิจหลัก คือ การปราบเรือดำน้ำ, การลาดตระเวนตรวจการณ์, การคุ้มกันกระบวนเรือ และการสนับสนุนการยิงฝั่ง ส่วนภารกิจรอง คือ สนับสนุนภารกิจกองทัพเรือ

อีกทั้งขีดความสามารถในการระดมยิงฝั่งด้วยปืน 76/62 OTO MELARA 1 กระบอก, ต่อสู้อากาศยานด้วยปืนกล 40L70 มิลลิเมตร แท่นคู่ 1 กระบอก และการป้องกันระยะประชิดด้วยปืนกล 40L70 มิลลิเมตร แท่นคู่ ปืนกล 20 มิลลิเมตร 2 กระบอก และเครื่องทำเป้าลวง DAGAIE, ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น-สู่-พื้น แบบ HARPOON BLOCK 1C, ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น-สู่-อากาศ แบบ ASPIDE 2000 ด้วยแท่นยิง ALBATROS Mk2 9/T, ท่อตอร์ปิโด 2 แท่น MK 32 MOD5

ด้านยุทโธปกรณ์ คือ 1. ปืน 76/62 มิลลิเมตร จำนวน 1 กระบอก, 2. ปืน 40L70 มิลลิเมตร แท่นคู่ 1 กระบอก, 3. ปืน 20 มิลลิเมตร 2 กระบอก รวมถึงระบบอาวุธปราบเรือดำน้ำ 4. ท่อยิงตอร์ปิโด 2 แท่น MK 32 MOD5 (6 ท่อยิง) เป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถี

5. ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น-สู่-พื้น แบบ HARPOON BLOCK 1C 2 แท่น (8 ท่อยิง)

6. ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น-สู่-อากาศ แบบ ALBATROS 1 แท่น (8 ท่อยิง ASPIDE 2000) โดยมีระบบ SONAR DSQS 21 C MOD, ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ESM Harris Excellis 3601, ระบบต่อต้านอาวุธปล่อยนำวิถี DAGAIE EW/IR, ระบบตรวจการณ์- เรดาร์พื้นน้ำ SPERRY VISION MASTER FT, เรดาร์พื้นน้ำ FURUNO, เรดาร์พื้นน้ำ SCOUT, เรดาร์อากาศ DA05, IFF interrogator และ Link Y MK2, ระบบควบคุมการยิง- เรดาร์ควบคุมการยิงรุ่น WM25, ระบบควบคุมการยิง LIROD และระบบควบคุมการยิงตอร์ปิโด MK 309 Mod

Back to top button