สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 26 เม.ย. 2566

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 26 เม.ย. 2566


ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันพุธ (26 เม.ย.) ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันวันที่ 2 เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและวิกฤตการณ์ในภาคธนาคารของสหรัฐ อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq ปิดในแดนบวก เนื่องจากผลประกอบการที่ดีเกินคาดของบริษัทไมโครซอฟท์และอัลฟาเบทเป็นปัจจัยหนุนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,301.87 จุด ลดลง 228.96 จุด หรือ -0.68%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,055.99 จุด ลดลง 15.64 จุด หรือ -0.38% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,854.35 จุด เพิ่มขึ้น 55.19 จุด หรือ +0.47%

ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลงในวันพุธ (26 เม.ย.) เป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน โดยถูกกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มเฮลท์แคร์ หลังจากสหภาพยุโรป (EU) เปิดเผยร่างข้อเสนอในการปฏิรูปกฎหมายเพื่อกำกับดูแลอุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์

ทั้งนี้ ดัชนี STOXX 600 ปิดที่ 463.21 จุด ลดลง 3.87 จุด หรือ -0.83%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 7,466.66 จุด ลดลง 64.95 จุด หรือ -0.86%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 15,795.73 จุด ลดลง 76.40 จุด หรือ -0.48% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,852.64 จุด ลดลง 38.49 จุด หรือ -0.49%

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลดลงในวันพุธ (26 เม.ย.) เป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน และแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 3 สัปดาห์ ขณะที่การแข็งค่าของเงินปอนด์ถ่วงหุ้นกลุ่มเภสัชภัณฑ์ร่วงลง

ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,852.64 จุด ลดลง 38.49 จุด หรือ -0.49%

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในวันพุธ (26 เม.ย.) โดยนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และผลกระทบของการที่ธนาคารกลางหลายแห่งเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งความกังวลดังกล่าวได้บดบังปัจจัยบวกจากรายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่ลดลงมากกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว

ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. ร่วงลง 2.77 ดอลลาร์ หรือ 3.6% ปิดที่ 74.30 ดอลลาร์/บาร์เรล

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ดิ่งลง 3.08 ดอลลาร์ หรือ 3.8% ปิดที่ 77.69 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (26 เม.ย.) เนื่องจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเป็นปัจจัยฉุดสัญญาทองคำร่วงหลุดจากระดับ 2,000 ดอลลาร์

ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 8.50 ดอลลาร์ หรือ 0.42% ปิดที่ 1,996 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 0.60 เซนต์ หรือ 0.02% ปิดที่ 24.876 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 7.80 ดอลลาร์ หรือ 0.71% ปิดที่ 1,106 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 27.50 ดอลลาร์ หรือ 1.9% ปิดที่ 1,508.40 ดอลลาร์/ออนซ์

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (26 เม.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1 ของสหรัฐในวันนี้ รวมทั้งดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ในวันศุกร์

ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.39%

ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1038 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0971 ดอลลาร์ในวันอังคาร (25 เม.ย.) ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.2457 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2406 ดอลลาร์

ดอลลาร์ค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 133.5200 เยน จากระดับ 133.60 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8906 ฟรังก์ จากระดับ 0.8920 ฟรังก์

อย่างไรก็ดี ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3646 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3643 ดอลลาร์แคนาดา และแข็งค่าเมื่อเทียบกับโครนาสวีเดน ที่ระดับ 10.3410 โครนา จากระดับ 10.3205 โครนา

Back to top button