“ธีรพงศ์ จันศิริ” มอง ESG เป็นทางรอด-โอกาส ยามวิกฤต “เศรษฐกิจโลก” อ่อนแอ

นายธีรพงศ์ จันศิริ มองนโยบาย ESG เป็นเรื่องการลงทุน ไม่ใช่ค่าใช้จ่าย ต้องทำเพื่อความอยู่รอด ถ้าไม่ทำเราไม่สามารถค้ากับคู่ค้าได้ รวมถึงโอกาสในยามวิกฤตเศรษฐกิจโลกอ่อนแอ


นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU กล่าวในงานสัมมนา “Battle Strategy แผนฝ่าวิกฤติ พิชิตสงคราม EPISODE V : วิกฤติมาทุกทิศ โอกาสมีทุกทาง” ว่าในช่วงที่ผ่านมาไทยยูเนี่ยน พยายามเพิ่มธุรกิจการทำกำไรที่สูงขึ้น สินค้า core business คือ ปลาทูน่ากระป๋อง กุ้งแช่แข็ง จะเป็นธุรกิจทำกำไรค่อยข้างต่ำ ทางบริษัทฯจึงขยายการทำธุรกิจที่มีอัตราทำกำไรสูง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ธุรกิจอาหารกุ้ง มีการตั้ง business unit ใหม่ในกลุ่ม ingredients มาพัฒนาสินค้า เช่น น้ำมันปลาทูน่า คอลลาเจนที่ผลิตจากหนังปลาทูน่าที่ใช้นวัตกรรมมาใช้ในธุรกิจมากขึ้น

ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่าปัจจุบันตลาดโลกประสบกับภาวะที่ไม่เคยเห็นมาก่อนที่เจอเศรษฐกิจอเมริกาอ่อนแอ เศรษฐกิจจีนอ่อนแอ และเศรษฐกิจหลายภูมิภาคในแอฟริกา ในขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจอ่อนแอ แต่เงินเฟ้อสูงทำให้ราคาสินค้าสูงประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงทุกภูมิภาค ทำให้มีผลกระทบต่อกำลังการซื้อของผู้บริโภค จึงเป็นสิ่งที่ต้องติดตาม

“ความซับซ้อนของสภาวะธุรกิจเร็วและซับซ้อนมากขึ้น และต้องดูว่าต้องตั้งรับอย่างไร ช่วงที่เศรษฐกิจดีเน้นเชิงรุก การทำการตลาด นวัตกรรม สร้างสินค้าใหม่ แต่ในช่วงเศรษฐกิจขาลง อาจจะต้องตั้งรับมากขึ้น ใช้โอกาสในการทบทวนให้ธุรกิจลีน และมี cost ที่แข็งแกร่งมากขึ้น ทำอย่างไรให้ดิจิทัลมากขึ้น พัฒนากระบวนการทำงานมากขึ้น” นายธีรพงศ์ กล่าว

นายธีรพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงที่ดอกเบี้ยแพง ทำอย่างไรในที่ให้เรื่องหนี้ต่ำไม่เป็นภาระ และติดตามการตลาดและใกล้ชิดลูกค้ามากขึ้น เมื่อมี balance sheet ที่ดี มีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง ก็พร้อมอยู่รอโอกาสที่จะเกิดขึ้น เราอาจจะเห็นการปรับตัวของอุตสาหกรรมอีกรอบ รอบของการ “แพ้คัดออก”

สำหรับประเทศไทยมีจุดแข็ง ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพแรงงาน สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมที่สนับสนุนการส่งออก โดยคงต้องขึ้นอยู่กับแต่ละธุรกิจที่ต้องหาจุดยืนของตัวเอง

นอกจากนี้ ESG ธุรกิจในไทยที่ไม่ได้ค้ากับต่างชาติ อาจมองว่าไกลตัว แต่จริงๆ แล้วจำเป็นต้องศึกษาติดตาม ซึ่งทาง TU ก็ commit net zero ในปี 50 เช่นกัน ซึ่งเรื่องเหล่านี้ต้องทำเพื่อความอยู่รอด ถ้าไม่ทำเราไม่สามารถค้ากับคู่ค้าได้

อีกทั้งผู้บริโภคมีความรู้มากขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นความต้องการของ stakeholder ทั้งหมดรวมถึงนักลงทุนและผู้ถือหุ้นด้วย และรวมถึงพนักงานบริษัทที่มาสมัครงานก็อยากเห็นนโยบาย ESG ของบริษัท ซึ่งบริษัทที่ทำมีโอกาส แต่บริษัทที่ไม่ทำอาจถูกคัดออก

ทั้งนี้อยากให้มอง ESG เป็นเรื่องการลงทุน ไม่ใช่ค่าใช้จ่าย ต้องทำเพื่อความอยู่รอด หลายเรื่องใน ESG เป็นเรื่องดี เช่น การใช้พลังงานทดแทน ทำให้ต้นทุนเราลดลงด้วย เช่น ของ TU จะไม่มีการปล่อยน้ำออกจากอุตสาหกรรมเลย เรียกว่า zero discharge

ดังนั้นทุก cycle ไม่ว่าจะ UP หรือ Down เฉลี่ยจะอยู่ที่ 8 ปี ซึ่งบริษัทอยู่มาแล้ว 4-5 ปี ในช่วงที่เหลือบริษัทต้องมาทบทวนองค์กร และธุรกิจทุกส่วน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อรอโอกาสที่รุกได้ดีในอนาคต

“ในมุมผู้บริหารต้องคิดว่าทำอย่างไรให้ธุรกิจยั่งยืน มีอนาคต มีการเติบโต มีความสามารถในการทำกำไรที่สม่ำเสมอ” นายธีรพงศ์ กล่าว

Back to top button