“พจน์ อร่ามวัฒนานนท์” จี้รัฐเร่งเจรจา “ภาษีสหรัฐ” เหลือเวลา 50 วัน หวั่นส่งออกไทยสะดุด

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย เตือนรัฐบาลเร่งเจรจาภาษีสหรัฐฯก่อนสิ้นสุดช่วงผ่อนผันภายเหลือเวลา 50 วัน หวั่นส่งออกไทยสะดุด-สูญตลาดสำคัญ ภาคธุรกิจส่งออกเรียกร้องรัฐขอขยายระยะเวลามาตรการภาษีออกไปอีก 90 วัน หลังไทยล่าช้าเทียบเวียดนาม-ฟิลิปปินส์ เพื่อให้สามารถวางแผนการผลิต-ส่งออกได้ชัดเจน


นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยบนเวทีเสวนาในงาน Thailand’s Capital Market Forum 2025 เกี่ยวกับ “โอกาสและความท้าทายลงทุนไทย” ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์ข่าวหุ้นธุรกิจ เมื่อวันนี้ ( 17 พ.ค.68) ว่าสถานการณ์การส่งออกของไทยเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของมาตรการผ่อนผันทางภาษีจากสหรัฐอเมริกา โดยเหลือเวลาเพียง 50 วัน ก่อนครบกำหนด 90 วัน ตามประกาศมาตรการขึ้นภาษีของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ส่งออกไทย โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเกษตรและอาหาร ต้องเร่งหาทางออกเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและคำสั่งซื้อที่อาจชะลอตัว

นายพจน์ ผู้แทนจากภาคเอกชน ระบุว่า ปัจจุบันเรือที่ขนส่งสินค้าจากไทยไปยัง East Coast ของสหรัฐฯ ต้องใช้เวลาเดินทางประมาณ 50 วัน หากออกเดินทางหลังจากนี้อาจไม่ทันช่วงสิ้นสุดระยะเวลาผ่อนผันภาษีในวันที่ 27 พฤษภาคม ซึ่งจะทำให้ต้องเสียภาษีนำเข้าสูงถึง 10% ขณะที่สินค้าบางกลุ่มอาจถูกจัดเก็บภาษีถึง 36% หากเกินกรอบเวลา 90 วันที่กำหนดไว้จนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2568

ทั้งทีแม้จะมีการให้เวลา 90 วันสำหรับอัตราภาษี 36% แต่ด้วยระยะเวลาการขนส่งทางเรือไปยังสหรัฐฯ โดยเฉพาะ East Coast (เช่น นิวยอร์ก) ที่ใช้เวลาประมาณ 50 วัน ทำให้เมื่อนับจากวันที่ประกาศ (9 เมษายน) เวลา 90 วันที่ให้มานั้น หมดแล้ว สำหรับเส้นทาง East Coast

ส่วน West Coast (เช่น LA) ยังพอมีเวลาให้ลงเรือได้ถึงประมาณวันที่ 25 พฤษภาคม เพื่อให้เรือไปถึงทันภายในกรอบเวลา 90 วัน ปัญหานี้ทำให้คำสั่งซื้อที่อยู่นอกกรอบเวลาดังกล่าวไม่สามารถลงเรือได้ทัน

สถานการณ์นี้ทำให้การส่งออกในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม มิถุนายน จนถึงต้นเดือนกรกฎาคมอาจ ไม่ค่อยดีคำสั่งซื้อเก่าๆ ที่ค้างอยู่ไม่สามารถส่งได้  คำสั่งซื้อใหม่ก็ยังไม่เข้ามาจนกว่าจะหาทางออกได้ แม้สินค้าบางประเภท เช่น อาหารแช่แข็ง หรือผลไม้แปรรูป อาจไม่เสียภาษีตามเงื่อนไขนี้สำหรับประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม โอกาสของตลาดก็หายไป เพราะเกิดความไม่แน่นอนและความยากในการวางแผน

การเปลี่ยนแปลงราคาในตลาดสหรัฐฯ ปกติใช้เวลานาน (1-3 ปี) เนื่องจากการจัดการเรื่องต่างๆ เช่น บาร์โค้ดทำให้ผู้ค้าในสหรัฐฯ ไม่เคยคาดคิดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงภาษีแบบกะทันหันเช่นนี้ และแม้สินค้าบางประเภท เช่น อาหารแช่แข็ง หรือผลไม้แปรรูป อาจไม่เสียภาษีตามเงื่อนไขนี้สำหรับประเทศไทยแต่อย่างไรก็ตาม โอกาสของตลาดก็หายไป เพราะเกิดความไม่แน่นอนและความยากในการวางแผน

อย่างไรก็ตามการเดินหน้าเจรจากับภาครัฐสหรัฐฯ ยังมีอุปสรรคจากการตีความมาตรการภาษีที่ไม่ชัดเจนจะใช้วันใดเป็นเกณฑ์นับในการบังคับใช้ภาษี อีกทั้งยังพบว่าออเดอร์ใหม่บางส่วนไม่สามารถเดินหน้าได้ เนื่องจากความไม่แน่นอนของนโยบายภาษีในขณะนี้

“ภาคธุรกิจส่งออกเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งเจรจาขอขยายระยะเวลามาตรการภาษีสหรัฐฯ ออกไปอีก 90 วัน เพื่อให้สามารถวางแผนการผลิต-ส่งออกได้ชัดเจน และรักษาอัตราภาษีต่ำ 10% โดยกังวลว่าความล่าช้าของไทยในการเจรจาเมื่อเทียบกับเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินเดีย อาจทำให้สูญเสียโอกาสทางการตลาดช่วงสำคัญ” นายพจน์กล่าวเพิ่มเติม

นายพจน์ กล่าวอีกว่า สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหามีความหวังที่จะมีการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหานี้แนวคิดที่มีการพูดถึงคือการขอ ขยายระยะเวลา 90 วันออกไปอีก 90 วัน เป้าหมายของการขอขยายเวลาคือ หากไม่สามารถลดอัตราภาษีได้ อย่างน้อยก็เพื่อให้ผู้ส่งออกมีเวลาในการวางแผนและปรับตัว ซึ่งอาจทำให้สินค้าไปถึงสหรัฐฯ ในช่วงที่เข้าเงื่อนไขอัตราภาษีที่ต่ำกว่า (เช่น 10%)

อย่างไรก็ตามกระบวนการเจรจาของประเทศไทยมีความล่าช้า กว่าประเทศอื่นๆ เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินเดีย ที่ได้เริ่มไปเจรจาแล้วทุกฝ่ายในสหรัฐฯที่เกี่ยวข้อง สาเหตุของความล่าช้าคาดว่ามาจาก เงื่อนไขบางอย่างซึ่งเราแกะอยู่” ที่ต้องอาศัยการตัดสินใจในระดับสูงเงื่อนไขเหล่านี้ เชื่อว่าอาจอยู่นอกเหนือเรื่องการค้าโดยตรง ซึ่งทำให้กระบวนการล่าช้าออกไป โดยผู้ประกอบการไทยย้ำว่าขณะนี้มีความพร้อมทั้งในแง่ของสินค้าและศักยภาพการส่งออก แต่ต้องการความชัดเจนจากนโยบายรัฐและช่องทางเจรจาร่วมกัน เพื่อไม่ให้ประเทศสูญเสียโอกาสเชิงพาณิชย์ที่สำคัญ

โดยประเทศไทยกำลังเผชิญภาวะท้าทายทางเศรษฐกิจหลายด้าน โดยเฉพาะการส่งออกที่ลดลงกว่า 18% ซึ่งส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนทั่วโลก และกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย เกิดการแย่งกันขายสินค้า จากที่เคยขายให้ทางแรกทางเดียว อาจต้องขายทางขายทางอื่นเพื่อความอยู่รอดในภาวะเศรษฐกิจนี้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาจากความไม่มั่นใจของนักลงทุนต่างชาติที่กำลังชะลอการตัดสินใจลงทุนในไทย

ขณะที่นักลงทุนไทยเองก็เผชิญกับข้อจำกัดหลายประการ รวมถึงต้นทุนที่สูงขึ้นจาก ข้างในของซัพพลายเชน อย่างสินค้าหนึ่งชิ้น ต้องแบกรับค่า วัสดุ เคมีภัณฑ์ ฉลาก เครื่องจักร ค่าบำรุงรักษา การทำความสะอาด น้ำยาทำความสะอาด โรงงาน เป็นต้น เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นในประเทศทั้งหมด ถ้าไม่มีต้นทุนสิ่งเหล่านี้ อาจต้องต้องลดคนงาน ลดโอที บริษัทอาจจะต้องปิดตัว ทุกอย่างมีความเกี่ยวข้องกันทั้งหมด การแข่งกันในการขายสินค้าก็มีเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ เช่นกัน

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงความจำเป็นที่รัฐบาลต้องมีท่าทีที่ชัดเจนในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจและการส่งเสริมการลงทุน ทั้งในระดับมหภาคและรายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการจัดการร่วมกันระหว่างทุกกระทรวง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการดำเนินงานภาคเอกชน

ทั้งนี้ การส่งเสริมความเชื่อมั่นต้องเกิดจากการทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง ทั้งจากภาครัฐ เอกชน และการเจรจาการค้ากับต่างประเทศโดยใช้แนวทาง CEO ที่เป็นรูปธรรมเพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนใหม่เข้าสู่ประเทศ พร้อมย้ำว่า หากไม่ปรับตัวทันการณ์ ไทยอาจพลาดโอกาสสำคัญในการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจภูมิภาค

Back to top button