ตลท.สั่ง BYD แจงงบ Q1 ขาดทุนอ่วม-ทุนติดลบ เหตุตั้งด้อยค่าเงินกู้ “ไทยสมายบัส” 315 ล้าน

ตลาดหลักทรัพย์ฯ สั่ง BYD ชี้แจงผลขาดทุนไตรมาส 1/68 เพิ่มขึ้น 677% เหตุตั้งด้อยค่าเงินกู้บริษัทร่วม“ไทยสมายบัส” กว่า 315 ล้านบาท กระทบส่วนผู้ถือหุ้นต่ำกว่าทุน ถูกขึ้นเครื่องหมาย CB ส่อสัญญาณเสี่ยงต่อฐานะการเงิน ขีดเส้นแจงภายใน 17 มิ.ย.นี้


ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ขอให้บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน)  หรือ BYD ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินไตรมาสที่ 1 ปี 2568 โดยผู้สอบบัญชีมีข้อสังเกตเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของบริษัทที่ขาดทุนต่อเนื่อง 3 ปี และมีส่วนผู้ถือหุ้นน้อยกว่า 100% ของทุนชำระแล้ว เป็นเหตุให้ถูกขึ้นเครื่องหมาย CB รวมทั้งไตรมาสนี้บริษัทขาดทุนสุทธิ 241 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 677%

โดยมีสาเหตุหลักจากการบันทึกค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 315 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าเผื่อของเงินให้กู้ยืมกับบริษัทร่วมที่บริษัทให้เงินกู้ยืมในไตรมาสนี้

โดยขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2568 ในส่วนความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบขอให้ชี้แจงภายในวันที่ 24 มิถุนายน 2568 นอกจากนี้ขอให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลงบการเงินและติดตามคำชี้แจงของบริษัท

สรุปข้อมูลสําคัญในงบการเงินไตรมาสที่ 1 ปี 2568

1.ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ค่าเผื่อฯ) 272 ล้านบาท สําหรับให้เงินกู้ยืมกับบริษัทร่วม (44% ของ เงินให้เงินกู้ยืมสุทธิ) ซึ่งบริษัทให้กู้ยืมในไตรมาสที่ 1 นี้

2.ค่าเผื่อฯ สําหรับเงินให้กู้ยืมกับบริษัท ไทยสมายบัส จํากัด (TSB : บริษัทร่วมทางอ้อม) ซึ่งบริษัทให้กู้ยืมเมื่อปี 2566 และ เริ่มตั้งด้อยค่าในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 และเพิ่มอีก 73 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 1 นี้รวมเป็น 48% ของเงินให้กู้ยืม

ข้อมูลที่ให้บริษัทชี้แจงเพิ่มเติมจากข้อมูลข้างต้นในไตรมาสที่ 1 นี้ บริษัทมีการบันทึกค่าเผื่อฯ 131% ของขาดทุนสุทธิ โดยเป็นการบันทึกในระยะเวลาอันสั้นเป็นจํานวนที่มีนัยสําคัญ หรือมีความต่อเนื่อง ประกอบกับในงบการเงินประจําปี 2567 บริษัทมีผลขาดทุน 4,577 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการบันทึกค่าเผื่อฯ จากเงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับของ TSB

ดังนั้นการพิจารณาการให้กู้ยืมเงินและการตั้งค่าเผื่อฯจึงมีผลกระทบต่อฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ ตลาดหลักทรัพย์ฯจึงขอให้ชี้แจงข้อมูลดังนี

1.กระบวนการพิจารณาและผู้อนุมัติการให้กู้ยืม ซึ่งรวมถึงชื่อผู้กู้ สัดส่วนการถือหุ้นและสัดส่วนการให้กู้ ความสามารถใน การชําระหนี้ของผู้กู้ วัตถุประสงค์ของการให้กู้ ประโยชน์ต่อบริษัท เงื่อนไขการให้กู้และความสมเหตุสมผล แหล่งเงินที่ใช้เพื่อให้กู้ยืม รวมถึงการปฏิบัติตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

-ข้อมูลฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ณ วันที่ อนุมัติการให้กู้ และวันที่ตัดสินใจบันทึกค่าเผื่อฯ การวิเคราะห์ ความสามารถในการชําระหนี้ของผู้กู้ในอนาคตและผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดต่อบริษัท มาตรการและความคืบหน้าในการ ติดตามหนี

2.ตามที่บริษัทเคยชี้แจงถึงเหตุผลที่ตัดค่าเผื่อฯ TSB  จำนวน 4,909 ล้านบาท ว่าเป็นไปตามสถานการณ์ ข้อมูลที่ปรากฏ และปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่สามารถคาดการณ์ได้อย่างน่าเชื่อถือ ณ ช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ขอทราบข้อบ่งชี้ที่ทําให้บริษัท ต้องตั้งด้อยค่าเพิ่มเติม 73 ล้านบาท การวิเคราะห์ความสามารถในการชําระหนี้ของ TSB ในอนาคต ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดต่อบริษัทมาตรการและความคืบหน้าในการติดตามหนี้

3.นโยบายของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบต่อธุรกรรมการให้กู้ยืมเงินของบริษัท ความเหมาะสมของ กระบวนการพิจารณาอนุมัติและมาตรการกํากับดูแล

Back to top button