กลุ่มโรงไฟฟ้าลุ้น กพช.ถกแผน PDP ฉบับใหม่วันนี้! ชู BGRIM เด่นสุด

กลุ่มโรงไฟฟ้าลุ้น กพช.ถกแผน PDP ฉบับใหม่วันนี้! ชู BGRIM เด่นสุด


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงพลังงานเตรียมเสนอแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (พีดีพี) ฉบับใหม่ต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณาในวันที่ 24 ม.ค.นี้

โดย เมื่อวันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานได้มีการหารือถึงร่างแผนพีดีพีในการประชุมกบง. ซึ่งได้มีการพิจารณาแนวทางการต่อสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้า SPP รวมทั้ง รมว.พลังงาน สั่งการให้ สนพ.เร่งทำความเข้าใจสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เนื่องจากในช่วงปลาย ธ.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ได้ทำหนังสือถึง ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ขอให้ทบทวนร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP) ฉบับใหม่ของประเทศใหม่ ในเรื่องนโยบายรับซื้อพลังงานหมุนเวียน ก่อนนำเข้าที่ประชุม กพช.

ทั้งนี้ แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การจัดทำแผนพีดีพีฉบับใหม่ในระยะสั้น 5 ปีแรก (2561-2565) จะยึดตามแผนพีดีพีเดิม ซึ่งจะใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนประมาณ 60% โดยจะเป็นการใช้ก๊าซในอ่าวไทยและนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านคิดเป็นสัดส่วนราว อีก 30% จะผลิตเป็นก๊าซแอลเอ็นจี เพื่อรองรับการเปิดเสรีการนำเข้าแอลเอ็นจี

ขณะที่การส่งเสริมพลังงานทดแทนจะมุ่งไปให้ความสำคัญกับการเปิดเสรีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา หรือโซลาร์รูฟท็อปมากขึ้น และให้คงสัดส่วนการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านไว้ที่ 25% ของกำลังการผลิตทั้งหมด

ส่วนการกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงนั้น การใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าจะยังคงให้ความสำคัญอยู่ที่ 20% แต่โรงไฟฟ้าถ่านหินที่เกิดขึ้นใหม่ จะถูกกำหนดอยู่ในช่วงกลางแผนพีดีพี โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้อาจจะไม่เกิดขึ้น เนื่องจากยังไม่เป็นที่ยอมรับ และยังคงถูกต่อต้านจากบางกลุ่ม แต่จะมีโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซแอลเอ็นจีจากการเปิดเสรีนำเข้า มาทดแทน ที่จะก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในปี 2565

สำหรับพีดีพีฉบับใหม่นี้จะมุ่งการตั้งโรงไฟฟ้าเป็นรายภาค เพื่อให้แต่ละภาคผลิตไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการใช้ในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเหนือ ภาคใต้ และกรุงเทพฯ ที่ยังมีกำลังการผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอ ดังนั้น จำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าใหม่เข้ามาเสริมระบบ ส่วนเชื้อเพลิงหลักนั้นยังคงเป็นก๊าซธรรมชาติ โดยเฉพาะการนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีมาผลิตไฟฟ้า ที่จะเปิดให้รายใหม่เข้ามาแข่งขัน นอกเหนือจากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่ปรับตัวสูงขึ้นตามมา เนื่องจากมีราคาผันผวนและสูงกว่าก๊าซในอ่าวไทย

อีกทั้งคาดว่าการพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาว (PDP) ฉบับใหม่ อาจจะมีการเพิ่มปริมาณไฟฟ้าเป็นราว 8,000 เมกะวัตต์ ในปี 2580

โดย “ผู้สื่อข่าว” คาดว่าจะส่งผลดีต่อกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กที่ขายไฟฟ้าตรงที่ขายไฟฟ้าให้กับกฟผ. อาทิ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF ,บริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ,บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM , บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW ,บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ EPCO ,บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPP เนื่องจากผู้ผลิตไฟฟ้ามีโอกาสที่จะได้รับงานขายไฟฟ้าให้กับกฟผ.เพิ่มสูงขึ้น

ขณะเดียวกันกลุ่มผู้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีจะเป็นอีกกลุ่มที่มีโอกาสได้รับงานเพิ่มจากการนำเข้าแอลเอ็นจีที่เพิ่มขึ้น อาทิ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ,บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF และบริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SGP

โดยแหล่งข่าวจากนักวิเคราะห์หลักทรัพย์เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 ม.ค.คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) จะจัดประชุมเพื่อพิจารณาแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP) ฉบับใหม่ (2561-2580) และ พิจารณาต่ออายุสัญญาโรงไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) ที่จะสิ้นสุดสัญญาในช่วงปี 60-68 คาดเป็น Sentiment บวกต่อผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า SPP อาทิ BGRIM ,GULF โดยมี BGRIM เป็น Top pick ของกลุ่ม

ด้าน บล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ลุ้นความคืบหน้าแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP) ของประเทศไทย ฉบับใหม่ปี 2561-2580 ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในวันพรุ่งนี้ (24 ม.ค.) ซึ่งแนวโน้มภาครัฐให้ความสำคัญขยายสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) โรงไฟฟ้าแบบ Conventional อาทิ โรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP)

ขณะที่กพช.จะมีการพิจารณาเรื่องการต่ออายุโรงไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) ในระบบ Cogeneration ด้วย ซึ่งจะส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า โดยในส่วนของหุ้นบมจ.บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) เด่น และได้อานิงสงส์เงินบาทแข็งค่า ซึ่งทุกการแข็งค่าของเงินบาท 1 บาท/ดอลลาร์ จะส่งผลกระทบต่อกำไรปกติปี 62 เท่ากับเติบโต 10%

นอกจากนี้ คาดกำไร 2562 ยังเป็นช่วงเติบโต 20.7% จากปีก่อนจากการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) โครงการ โซลาร์ฟาร์มในเวียดนาม และเติบโตต่อเนื่องถึงปี 2565 จนมีกำลังผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนร่วมทุนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากปี 2560 ขณะที่แรงกดดันจากการย้ายโรงไฟฟ้า BCPR1-2 และต่อสัญญา SPP ของ ABP1,2 และ BPLC1 ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และมี Upside จากโครงการเกาหลีใต้ และ CLMV อย่างไรก็ดีระยะสั้นคาดกำไรไตรมาส 4/61 ลดลงจากปีก่อน และจากไตรมาสก่อนจาก Unrealized FX loss และอัตรากำไรขั้นต้น จากต้นทุนก๊าซเพิ่มสูงขึ้น

ส่วนแนวโน้มกำไร 3 ปีนี้เติบโตดีมาก ทำให้ PE ratio ลดลงได้ในปีหลังๆ โดย P/E Ratio ปี 62 ลดลงเหลือ 22.4x อยู่ในระดับที่เหมาะสม

Back to top button