ส่องหุ้นแบงก์ก่อนปิดงบฯ Q2/62 โบรกฯฟันธง 5 หุ้น Top picks กลุ่มน่าเก็บ!

ส่องหุ้นแบงก์ก่อนปิดงบฯ Q2/62 โบรกฯฟันธง 5 หุ้น Top picks กลุ่มน่าเก็บ!


เข้าสู่โค้งสุดท้ายก่อนการปิดงบไตรมาส 2/62 ดังนั้นทีมข่าว “ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์”  จึงทำการสำรวจธุรกิจกลุ่มธนาคารมาเป็นข้อมูลในการเข้าลงทุน โดยครั้งนี้อาศัยข้อมูลจากบทวิเคราะห์โบรกฯเกอร์ชั้นนำของไทย อาทิ บล.ฟินันเซีย ไซรัส,บล.เคจีไอ,บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี และ บล.โนมูระ พัฒนสิน โดยโบรกเกอร์ส่วนใหญ่แนะนำ SCB,BBL,KBANK, TCAP,KKP เป็นหุ้น Top picks กลุ่มน่าลงทุนโดยระบุไว้ดังนี้

บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า  กลุ่มแบงก์จะกลับมา outperform ในครึ่งปีหลัง แม้ว่าสินเชื่อ 5 เดือนแรกแทบไม่ขยับ +0.78% YTD แต่กลุ่มแบงก์ซึมซับปัจจัยลบไปมากแล้ว ทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง สินเชื่อชะลอ รายได้ค่าธรรมเนียมหดตัว ทำให้ PBV ปัจจุบันอยู่ที่ 0.98 เท่า และดัชนี SETBANK (+2% YTD) laggard SET (+10% YTD) เชื่อว่าการจัดตั้งรัฐบาลและเดินหน้าโปรเจ็คต่างๆ จะปลดล็อกหุ้นกลุ่มแบงก์ให้กลับมา outperform ได้

โดย Top picks เป็น BBL (TP 245 บาท) KBANK (TP 212 บาท) และ TCAP (TP 60 บาท) ส่วน SCB (TP 137 บาท) แนะนำ Trading Buy และ KTB (TP 23 บาท) แนะนำซื้อ  

 

บล.เคจีไอ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า กลุ่มธนาคารพาณิชย์ น้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาดฯ” ประเด็นสำคัญจากงบดุลธนาคารฯเดือน พ.ค. i) เริ่มเห็นแนวโน้มของ KBANK ในการเพิ่มสถานะการลงทุนในตราสารหนี้ แต่การปล่อยกู้เริ่มชะลอ (ซึ่งเหมือนกันกับ BBL) แต่พบว่า SCB มีการขยายการลงทุนในตราสารหนี้ และการขยายสินเชื่อใหม่ (เช่นเดียวกับ KTB)

แต่อย่างไรก็ตาม ธนาคารขนาดเล็กขยายการลงทุนแค่ในตลาดตราสารหนี้ แต่ชะลอการปล่อยกู้ ซึ่งสะท้อนถึงการชะลอตัวของสินเชื่อเช่าซื้อ ii) แม้ธนาคารส่วนใหญ่จะยังคุม NPL ใหม่ได้อยู่ แต่สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันก็จะทำให้ธนาคารดึง NPL ลงได้ยาก

แนะนำเลือกซื้อ BBL และ SCB ในกลุ่มธนาคารใหญ่ เนื่องจากมีสัดส่วนสินเชื่อ SME ต่ำแค่ 11% และ 16% ของสินเชื่อรวม (ในขณะที่ของ KBANK สูงถึงประมาณ 35%) และสำหรับธนาคารเล็กเลือก KKP จากแนวโน้มการฟื้นตัวของกำไรไตรมาส 2/62 (ธุรกิจ IB และกำไรจากการค้าหลักทรัพย์)

 

บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี ระบุในบทวิเคราะห์ว่า BANKS ไตรมาส 2/62: ขยับเข้าใกล้การฟื้นตัวเต็มที่คาดว่า BBL,KTB และ TISCO จะสร้างกำไรสุทธิที่เติบโตแข็งแกร่งที่สุดทั้งฐานเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และเทียบไตรมาสก่อนหน้าในกลุ่มเดียวกัน

อย่างไรก็ตามยังคงให้เป็น Neutral เพราะผลประกอบการไตรมาส 2/62 ไม่น่าตื่นเต้นและการชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศ เพิ่ม SCB เข้ามาในกลุ่ม Top pick ของควบคู่ไปกับ BBL ตามที่คาดการรายได้จะดีขึ้นในไตรมาส 3/62

 

บล.โนมูระ พัฒนสิน   ระบุในบทวิเคราะห์ว่า  กลุ่มแบงก์ สินเชื่อเติบโตได้ดีขึ้นในเดือนพ.ค. ผลักดันจาก corporate โดยกลุ่มธ.พ. รายงานสินเชื่อในเดือนพ.ค. ที่เติบโตในอัตราเร่งขึ้นที่ +0.8% เทียบจากเดือนก่อนที่โต +0.2% ซึ่งเกือบทุกธนาคารมีสินเชื่อเพิ่มขึ้น นำโดย SCB ที่สินเชื่อโตดีที่สุด +1.6% เทียบเดือนก่อนหน้า มีเพียง TISCO ที่สินเชื่อลดลง -0.5% เทียบเดือนก่อนหน้า

โดยสินเชื่อของกลุ่มธ.พ.ที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อ corporate ทั้ง term loan และ working capital ประกอบกับสินเชื่อ auto ที่โตต่อเนื่อง รวมถึงสินเชื่อ credit card และ p-loan ที่เริ่มกลับมาเติบโต และสินเชื่อบ้านยังเติบโตได้เล็กน้อย

คงคำแนะนำ Neutral ต่อกลุ่มธนาคาร จากความกังวลต่อการเติบโตของรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ทั้งด้านรายได้ค่าธรรมเนียมที่เผชิญแรงกดดันจากยุค digital ประกอบกับธุรกิจประกันที่เผชิญความท้าทาย จากกฎของคปภ.และธปท.ที่เข้มงวดด้านการขายมากขึ้น

นอกจากนี้ outlook ในระยะสั้นไม่สดใส โดยคาดกำไรสุทธิไตรมาส 2/62 ลดลง  เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งคาดกว่าจะฟื้นตัวในครึ่งหลังปี 2562 โดยปรับ SCB ขึ้นเป็น Top pick (BUY, TP20F 164 บ.) แทน BBL (BUY, TP19F 244 บ.)

โดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB (TP19F 164*)Earnings outlook: ภาพธุรกิจจะกลับมาน่าสนใจใน ครึ่งหลังปี 2562 เพราะจบช่วง Transformation ทำให้ค่าใช้จ่ายดำเนินงานเพิ่มในอัตราชะลอตัว และคาดสินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันที่ SCB ต้องการรุกในปี 60 จะโตดีขึ้น โดยมองกลยุทธ์ระยะกลาง – ยาว สู่ Digital leader จะเพิ่มความสามารถแข่งขันที่ดี แม้คาดกำไรปีนี้จะโตต่ำ +4.7% โดยคาดกำไรไตรมาส 2/62 แม้ลด -7% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ผ่านจุดร้ายสุดมาแล้ว และดีขึ้น 13% เทียบไตรมาสก่อนหน้า

Valuation:มองเป็น Big cap ที่ยัง Laggard ราคาหุ้นอยู่ในจุดที่น่าสนใจโดยซื้อขายที่ PBV 1.14x ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 1.36x และต่ำกว่ากลุ่มฯที่ 1.19x

Catalyst: มอง SCB ดูน่าสนใจสุดในกลุ่มและปรับมาเป็น Top pick กลุ่ม bank + กระแส Fund flow เริ่มไหลกลับ มอง SCB ผ่านจุดต่ำสุดทั้งในเชิงเม็ดเงินออกจาก MSCI รวมถึง Valuation กลุ่มยังถูก + อยู่ระหว่างพิจารณาธุรกิจประกันชีวิตกับ FWD เป็น Upside risk ในช่วงถัดไป ประกอบกับ ยอดสินเชื่อเดือนพ.ค.19 โตเด่นสุด +1.6% เทียบเดือนก่อนหน้า

ด้าน ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) หรือ KKP คาดกำไรไตรมาส 2/62 เพียงทรงตัว เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยคาดกำไรสุทธิ ไตรมาส 2/62 ที่ 1,560 ลบ. (flat เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน, +27% เทียบไตรมาสก่อนหน้า) เพียงทรงตัว เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จากขาดทุนรถยึดที่สูงขึ้น ซึ่งมองว่าประเด็นขาดทุนรถยึดที่อยู่ในระดับสูงมา 2 – 3 ไตรมาสติดต่อกันเป็นความเสี่ยงที่ต้องติดตาม รวมถึงรายได้จากเงินปันผลลดลง เพราะปีก่อนได้รับเงินปันผลสูงกว่าปกติ

ส่วนกำไรที่กลับมาโตดี +27% เทียบไตรมาสก่อนหน้าคาดจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ฟื้นตัวตามภาวะตลาดทุน สามารถชดเชยด้านสินเชื่อที่คาดเพียงตัวได้ ในครึ่งปี 2562 คาดกำไรจะกลับมาโตได้ เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ยต่อเนื่อง แม้ภาพสินเชื่อปีนี้จะไม่เด่น แต่ได้อานิสงค์ของสินเชื่อที่โตดีจากปีก่อน ประกอบกับคาดรายได้ค่าธรรมเนียมโตจากฝั่ง IB ที่บันทึกรายได้งานที่ปรึกษา IPO

คงคำแนะนำ Neutral ที่ TP19F 76 บ. แม้ KKP ยังโดดเด่นด้านปันผลที่ yield สูง 7-8% ต่อปี แต่จาก upside ต่อราคาเป้าหมายจำกัด ประกอบกับความกังวลต่อขาดทุนรถยึด และคุณภาพสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงภาพกำไรในระยะสั้นที่เพียงทรงตัว เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จึงคงคำแนะนำ Neutral ที่ TP19F 76 บ.

ด้าน ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB  (NEUTRAL, TP 2.18 ) กำไรไตรมาส2/62 ยังอ่อนตัว กดดันจากรายได้ค่าธรรมเนียม คาดกำไรสุทธิไตรมาส 2/62 ที่ 1,830 ลบ. (-10% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน, +16% เทียบไตรมาสก่อนหน้า) กำไรยังลดลง -10% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน กดดันจากรายได้ค่าธรรมเนียมทั้ง bancassurance และ mutual fund แต่คาดกำไรฟื้นตัว +16% เทียบไตรมาสก่อนหน้า จากการลดลงของ employee benefit และรายได้ค่าธรรมเนียม bancassurance กลับมาโต เทียบไตรมาสก่อนหน้า จากการออกผลิตภัณฑ์ระยะสั้นที่ทำให้ขายง่ายขึ้น

คาดกำไรปกติไตรมาส 3/62 เริ่มทรงตัวได้ เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้คาดรายได้ค่าธรรมเนียมยังอ่อนตัว แต่ได้รับชดเชยจากรายได้ดอกเบี้ยที่โตตามสินเชื่อ แต่ด้านกำไรสุทธิจะลดลงแรง เพราะไตรมาส 3/61 มีกำไรพิเศษจากการขาย TMBAM คงคำแนะนำ Neutral ที่ TP19F 2.18 บ. มองว่า TMB ยังไม่น่าสนใจ จากกำไรสุทธิไตรมาส 2/62 ที่ยังลดลง และรายได้ค่าธรรมเนียมซึ่งเคยเป็นจุดเด่นของ TMB ในอดีตหดตัวแรง รวมถึง TMB อยู่ระหว่างการทำ due diligent กับ TBANK จึงยังมีความเสี่ยงเรื่องการเพิ่มทุน ที่ราคาเพิ่มทุนน่าจะต่ำกว่าราคากระดาน

*ทั้งนี้ข้อมูลที่มีการนำเสนอข้างต้น เป็นเพียงข้อแนะนำจากข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนเท่านั้น และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆการตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ ของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการใช้วิจารณญาณของผู้อ่าน

Back to top button