“เครือซีพี” จับมือ “ทรู-โลตัส” ขับเคลื่อนโมเดล “BCG” ดันไทยสู่ยุค 4.0

เครือซีพีจับมือ 4 พันธมิตร “ซีพีเอฟ-ซีพีออลล์-ทรู-โลตัส” มุ่งขับเคลื่อนโมเดล “BCG” ในงาน FTI Expo 2022 หวังนำประเทศไทยสู่ Thailand 4.0 ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก


นายวิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ ประธานคณะผู้บริหาร ด้านกิจการองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า จากโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Bio-Circular-Green Economy : BCG ที่รัฐบาลได้ผลักดัน เพื่อนำประเทศไทยสู่ Thailand 4.0 ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมให้เศรษฐกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด ช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมของไทยให้สมบูรณ์

ทั้งนี้ทำให้ไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDG) ขององค์การสหประชาชาตินั้น ทางเครือซีพีได้บูรณาการหลักการเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน  (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มาใช้บริหารจัดการธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และตอบโจทย์การผลิต การบริโภค

รวมถึงการเติบโตของธุรกิจ ด้วยการนำแนวคิดทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับทุกธุรกิจในเครือฯ  ซึ่งในงาน FTI EXPO 2022 ทางเครือฯ ได้นำนวัตกรรมต่างๆ มาร่วมแสดง เพื่อสื่อให้เห็นถึงความตั้งใจและความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจภายใต้การพัฒนาที่ยั่งยืน

เครือเจริญโภคภัณฑ์เติบโตก้าวสู่ 100 ปีที่สอง ด้วยการสานต่อค่านิยมขององค์กรทั้ง 6 ประการ ซึ่งครอบคลุมถึงความกตัญญูและการสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับทุกประเทศที่ไปลงทุน ให้กับประชาชนและสังคม สุดท้ายเกิดประโยชน์ต่อองค์กรอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาโดยตลอดระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ” นายวิเชาวน์ กล่าว

สำหรับการก้าวต่อไปของเครือเจริญโภคภัณฑ์ตามความตั้งใจของท่านประธานอาวุโส “ธนินท์ เจียรวนนท์” คือการขยายธุรกิจที่ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกและพฤติกรรมมนุษย์ และพัฒนาศักยภาพขององค์กรให้เกิดความยั่งยืนในทุกมิติ โดยเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการลดโลกร้อน ตามที่ทางเครือฯ ได้ประกาศความมุ่งมั่นว่าจะเป็น “องค์กรที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2573 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2593

โดยเครือซีพีดำเนินธุรกิจและขยายผลยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG หรือ Bio-based, Circular และ Green Economy อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการสนับสนุนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ พลังงานสะอาด อุตสาหกรรมพื้นฐาน ชีวภาพ และธุรกิจมูลค่าสูงที่สร้างมลพิษต่ำ อีกทั้งยังเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

รวมถึงรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Resilience) จากการปรับรูปแบบการปฏิบัติงานให้เกิดการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด และนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยนำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับทุกธุรกิจในเครือฯ และได้ตั้งเป้าหมายปลูกต้นไม้ 20 ล้านต้น ภายในปี 2568 รวมถึงโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทยใน 5 ลุ่มแม่น้ำหลัก ด้วยตามยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG

ขณะที่ในวันนี้กลุ่มธุรกิจต่างๆ ภายใต้เครือซีพี จึงได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาร่วมแสดงในงาน FTI EXPO 2022 ซึ่งจัดโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) โดยนำเสนอด้วยแนวคิด “MAKING TODAY A BETTER TOMORROW” โมเดลธุรกิจเพื่อความยั่งยืนจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ภายใต้นโยบาย BCG Economy ที่ขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่ออนาคต

โดยการนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ช่วยลดการใช้พลังงานจาก บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ CPF, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE , บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL, และ บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จํากัด (โลตัส) แบ่งเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

สำหรับโซนท่าแพ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “MAKING TODAY A BETTER TOMORROW” แสดงโมเดลธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ด้วยวิสัยทัศน์เครือเจริญโภคภัณฑ์ “องค์กรที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างอาหารคน อาหารสมอง โอกาสในการเข้าถึงคุณค่า เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคน” และการดำเนินธุรกิจด้วยนโยบาย BCG Economy

ทั้งนี้ CPF นำเสนอแนวคิด SMART FEED-FARM-FOOD For Bio-Circular Green ในกระบวนการผลิตจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม อาทิ การใช้ AI Automation และ Robotics เพื่อเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และวางแผนการผลิต, Smart Farming ที่มีการใช้ Silo Censor วัดปริมาณอาหารโรงเลี้ยงไก่ Combox แสดงข้อมูลโรงเลี้ยงไก่ และกล้อง Burdoo วัดน้ำหนักไก่  รวมถึงการนำของเสียมาแปรเป็นพลังงาน

นอกจากนี้ยังนำเสนอนวัตกรรม “PLANT-TEC Innovation” ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อทางเลือก โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง CPF RD Center และผู้เชี่ยวชาญระดับโลกจากหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ทางอาหารจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และนำไปสู่ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช MEAT ZERO เนื้อทางเลือกที่สมบูรณ์แบบทั้งลักษณะ รสชาติ กลิ่น และเนื้อสัมผัส ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหลากหลายรูปแบบ

ขณะที่ TRUE ในฐานะผู้นำโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและดิจิทัล นำศักยภาพระบบนิเวศดิจิทัล ทั้งเทคโนโลยี Cloud, IoT, AI, Blockchain และ Robotics ร่วมยกระดับคุณภาพชีวิต ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุข ได้แก่ “ทรู เฮลท์” (True HEALTH) แพลตฟอร์มดูแลสุขภาพอัจฉริยะที่เชื่อมโยงบริการทั้งออนไลน์และออฟไลน์แบบไร้รอยต่อด้วยแอปพลิเคชัน หมอดี (MorDee) หมอประจำบ้านในมือคุณ ให้คนไทยหาหมอออนไลน์ได้ทุกที่โดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล

รวมถึง True 5G Digital Solution for Bio-Circular โดยการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี Smart Farm Automation Solution และหุ่นยนต์กลับแกลบมาใช้ควบคุมสภาพแวดล้อมในโรงเรือนปศุสัตว์ให้เหมาะสม ปลอดเชื้อ เพื่อช่วยเกษตรกรรุ่นใหม่ลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรค ตลอดจนเสริมประสิทธิภาพผลผลิตตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ

ส่วน CPALL มาพร้อมแนวคิด Smart Retail นำเสนอ IoT ที่สามารถตรวจสอบความผิดปกติต่างๆ อาทิ อุณหภูมิ กระแสไฟฟ้า หรือแรงดัน เพื่อให้ทราบความผิดปกติและเข้าแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีก่อนการเกิด Breakdown โดยนอกจากจะทำให้อุปกรณ์การขายต่างๆ เหล่านี้ ตอบสนองธุรกิจได้อย่างไม่ขาดช่วงแล้ว ยังช่วยประหยัดพลังงาน ลดโลกร้อน และแปรเป็น Carbon credit ให้กับองค์กรได้อีกด้วย

รวมถึงมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุดตรวจ Mine Gene ซึ่งนำเทคโนโลยีระดับห้องปฏิบัติการมาให้ทดสอบได้เองที่บ้าน ด้วยชุดทดสอบ NUTRITION เพื่อนำสารลับใน DNA มาไขรหัสพันธุกรรมถึงปฏิกิริยาตอบสนองต่ออาหารและวิตามินของร่างกาย ซึ่งจะสามารถนำมาปรับพฤติกรรม การเลือกรับประทานอาหาร วิตามิน และอาหารเสริมให้สอดรับกับกลไกการทำงานของร่างกาย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดีของทุกคน

นอกจากนี้ยังมี บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จํากัด (โลตัส) นำเสนอกระบวนการบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน (ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ (Farm to Fork) ในโซน A102 ด้วยเป้าหมายขยะอาหารเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2573 คือ “แหล่งเพาะปลูก” ด้วยโครงการรับซื้อตรงจากเกษตรกร (Direct sourcing), สร้างโรงแพคใกล้กับแหล่งเพาะปลูก ซึ่งช่วยยืดอายุผลิตภัณฑ์กว่า 10 ชั่วโมง และขั้นตอนการแพคและขนส่งมีการควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งช่วยลดปริมาณการสูญเสียถึง 2%

ส่วนของ “สาขา” ด้วยการลดราคาสินค้าเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าที่ใกล้วันหมดอายุก่อน (Reduce to Clear), นำอาหารส่วนเกินบางส่วนไปทำการแปรรูปเป็นอาหารพร้อมทาน และบริจาคอาหารส่วนเกินภายใต้โครงการ “กินได้ไม่ทิ้งกัน” และในส่วนของ “ครัวเรือน” ซึ่งสร้างความตระหนักถึงปัญหาขยะอาหารในกลุ่มผู้บริโภค อีกทั้งมีกิจกรรมที่ผู้เข้าชมงาน สามารถนำขวดพลาสติก PET 2 ขวด มาหย่อนที่ตู้รับคืนขวด และแลกรับไข่ไก่ 1 ฟอง

โดยงาน FTI EXPO 2022 มหกรรมแสดงสินค้าและนวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย นับเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญของภาคอุตสาหกรรมไทย ผสานความร่วมมือขององค์กรชั้นนำ อาทิ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เพื่อร่วมขับเคลื่อนประเทศอีกครั้งหลังวิกฤตการณ์ COVID-19 และภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยมุ่งเน้นการแสดงศักยภาพ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคปกติใหม่ พร้อมเสนอทิศทาง มุมมอง กลยุทธ์ใหม่ๆ ด้านธุรกิจในบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมชมงานได้ตั้งแต่วันที่ 29 มิ.ย. – 3 ก.ค. 65 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ จังหวัดเชียงใหม่

Back to top button