รู้จักกับ FoMO

ปรากฏการณ์ที่ดัชนีตลาดหุ้นพุ่งแรงสองวัน กว่า 35 จุดเมื่อต้นสัปดาห์นี้  โดยเฉพาะวันอังคารที่มียอดมูลค่าซื้อขายมากถึง 9.56 หมื่นล้านบาท มีส่วนเปิดฉากสถานการณ์อีกแนวหนึ่งด้านเศรษฐกิจ ให้กับยุคหลังการจากไปของอดีตนายกรัฐมนตรี นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ดีพอสมควร อย่างน้อยที่สุดก็สามารถสร้างประเด็น “ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์” ได้เพิ่มขึ้น (นอกเหนือจากเรื่อง “หูหนี”)


พลวัตปี 2017 : วิษณุ โชลิตกุล

ปรากฏการณ์ที่ดัชนีตลาดหุ้นพุ่งแรงสองวัน กว่า 35 จุดเมื่อต้นสัปดาห์นี้  โดยเฉพาะวันอังคารที่มียอดมูลค่าซื้อขายมากถึง 9.56 หมื่นล้านบาท มีส่วนเปิดฉากสถานการณ์อีกแนวหนึ่งด้านเศรษฐกิจ ให้กับยุคหลังการจากไปของอดีตนายกรัฐมนตรี นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ดีพอสมควร อย่างน้อยที่สุดก็สามารถสร้างประเด็น “ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์” ได้เพิ่มขึ้น (นอกเหนือจากเรื่อง “หูหนี”)

การดาหน้าออกมาตีฆ้องร้องป่าวว่า การสิ้นสุดของตระกูลชินวัตรในแวดวงอำนาจการเมืองไทย ที่นำโดยนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และรองนายกฯสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่ออกมาระบุว่า “ฟ้าสีทอง” ของเศรษฐกิจไทยได้บังเกิดขึ้นแล้วจากการพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นไทย เพราะความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติกลับคืนมารวดเร็วมากเมื่อสิ้น “ตัวซวย” (แม้จะไม่มีการใช้คำนี้ แต่ก็แสดงท่าทีโดยนัยทำนองเดียวกัน)

นายสมคิด ถึงกับระบุโดยใช้คำประดิษฐ์ของนักการตลาดผู้ช่ำชองว่า เงินหรือฟันด์โฟลว์ต่างชาติที่ไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทยยามนี้นั้นเป็น real money (ซึ่งเป็นการฉีกตำราการเงินที่ศึกษากันมายาวนานออกเป็นชิ้นๆ)

โดยข้อเท็จจริง เงินทุนเก็งกำไรที่ไหลเข้ามาในตลาดหุ้น ล้วนไม่มีใครถือว่าเป็นทุนระยะยาว เพื่อการลงทุนภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง (การผลิตและบริการ) หรือ FDI ดังนั้น จึงเป็น portfolio capital หรือ speculative capital ที่แยกเด็ดขาดจากเงินทุนเพื่อการผลิตและบริการ ที่นำไปสู่การจ้างงานและเพิ่มกำลังซื้อผู้บริโภค อันถือเป็น real-sector capital

real money ที่นายสมคิดนิยาม จึงคลุมเครือเสียเหลือเกิน ว่ามีความหมายที่แท้จริงอย่างไร….หรือจะเป็นเฉกเช่นเดียวกับคำว่า ประชารัฐ หรือ เศรษฐกิจ 4.0

หากเรามองข้ามการตีฆ้องร้องป่าวที่อ้างว่า การพุ่งขึ้นชั่วคราวของตลาดหุ้นไทยต้นสัปดาห์นี้ เป็นความสำเร็จของรัฐบาลปัจจุบัน จะเห็นชัดเจนถึงพฤติกรรมของนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยว่า มีจำนวนไม่น้อยที่แสดงกาลงทุนตรงกับนิยามล่าสุดที่ทันสมัย คือ FoMO (ย่อมาจาก Fear of Mising Out หรือ ภาวะกลัวตกขบวน)

คำนี้แม้จะเป็นคำประดิษฐ์ใหม่ (เช่นเดียวกับ real money ของนายสมคิด) แต่ความหมายที่แท้จริงถือว่า มีสาระเดียวกับคำที่ประดิษฐ์ก่อนหน้าคือ ความคลั่งของฝูงชน (madness of crowd) หรือ ผลสะเทือนขบวนแห่แหน (bandwagon effect) หรือ สัญชาตญาณฝูงแกะเลี้ยง (herd instinct)

สาระของความหมายที่ใกล้เคียงกัน แค่ต่างเฉพาะคำที่ใช้ ซึ่งขึ้นกับยุคสมัย ไม่ได้มีนัยสำคัญมากมาย

ชาร์ลส แมคเคย์ ชาวอังกฤษ เคยเขียนถึงความคลั่งที่ไร้เหตุผลของฝูงชนในปรากฏการณ์สำคัญหลายครั้งของโลกที่ทำให้เกิดโศกนาฏกรรมโดดเด่น นับตั้งแต่ สงครามครูเสด ในยุคกลาง เรื่อยมาถึงฟองสบู่ดอกทิวลิปในฮอลแลนด์ และ ฟองสบู่หุ้นกู้ South Seas ในอังกฤษ

ส่วนนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ต่อมาพบว่า หากให้ปลาเงินปลาทองตัวเมียเลือกคู่ของมันเอง มันจะเลือกปลาทองเพศผู้ที่ลำตัวมีสีสันสดใส  แต่ในมุมกลับ สามารถสร้างเงื่อนไขให้ หากปลาตัวเมียนั้นทิ้งคู่ธรรมชาติได้ ด้วยการให้ปลาทองเพศเมียตัวอื่นๆ รุมตอมปลาทองเพศผู้ซึ่งมีสีสันที่สดใสน้อยกว่า มันก็จะหันเห ย้ายตามไปร่วมรุมตอมปลาทองเพศผู้ตัวนั้นเช่นกัน

คนเลี้ยงแกะในนิวซีแลนด์พบว่า ฝูงแกะเลี้ยงจะมีสัญชาตญาณเกาะกลุ่มกัน และหากล้อมคอกฝูงแกะไว้ แล้วบังเอิญมีแกะตัวหนึ่งเกิดแตกแถวหลุดไปนอกคอก ตัวที่อยู่ข้างนอกจะไม่ยอมหนีไปไหน จะวนเวียนอยู่ข้างคอกนั้น

เช่นเดียวกันกับพฤติกรรมการลงทุน นักลงทุนรายย่อยจำนวนหนึ่งที่ขาดความเชื่อมั่นในความสามารถของตน มักจะเลือกเอาการเฮโลสาละพา ลงทุนด้วยอารมณ์ สุดแท้แต่กระแสมวลชน หรือนักวิเคราะห์จะพาไป ซึ่งหากเจาะลึกทางจิตวิทยา ก็พบว่า นักลงทุนเหล่านี้ได้ใช้การรับรู้ทางอารมณ์ มากกว่าการใช้ความคิดหรือเหตุผล  ด่วนตัดสินใจ เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ตามที่ได้รับรู้มา โดยหลอกตนเองว่าเป็นวิจารญาณที่แท้จริง ทั้งที่เป็นมายาคติ

นักลงทุนเช่นนี้แหละ มักจะตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์ FoMO เสมอ เพราะเมื่อเห็นหุ้นตัวใดหรือกลุ่มใด กำลังมีวอลุ่มโป่งพองขึ้น เริ่มรับรู้ว่าหุ้นตัวนี้จะวิ่ง ก็รีบกระโจนเข้าใส่ เพราะกลัวตกขบวนโดยไม่ตรึกตรองว่า หุ้นที่ลงทุนซื้อมาถือมีพื้นฐานดีหรือไม่ หรือเคยรู้จักศึกษาที่จะเข้าลงทุนมาก่อนหรือไม่

ผลลัพธ์คือเจตนาเดิมเริ่มแรกเข้าตลาดหุ้น เพื่อจะเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่าตามแนวทางของเบนจามิน แกรห์ม หรือวอร์เร็น บัฟเฟตต์ ก็กลายเป็นแค่แมงเม่าปีกหักธรรมดา

เข้าสู่สูตร “ผู้ล่ากลายเป็นผู้ถูกล่า”

ผลลัพธ์ของพฤติกรรม FoMO (หรือชื่ออื่นใดที่มีพฤติกรรมทำนองเดียวกัน) มักจะมีโน้มนำไปสู่สภาวะ ความไร้เหตุผลในการลงทุน หรือพฤติกรรมบกพร่องของตลาด (misbehavior of the market) ตามที่นัสซิม ทาเล็ย เอ่ยถึงไว้ในทฤษฎี “หงส์ดำ” อันโด่งดัง นั่นเอง

Back to top button