อุโมงค์ยักษ์(หลับ)

ยังคงตั้งรัฐบาลกันไม่ได้ง่าย ๆ หรอกครับ เสร็จตั้งนายกรัฐมนตรี ก็ยังต้องมาเจรจาโควตาพรรค เสร็จขั้นตอนโควตาพรรค ก็ยังต้องนัวเนียชิงเก้าอี้กันภายในพรรค ยิ่งนานวันยืดเยื้อ ตัวแปรอุปสรรคก็ยิ่งมากมายยิ่งขึ้น


ขี่พายุทะลุฟ้า : ชาญชัย สงวนวงศ์

ยังคงตั้งรัฐบาลกันไม่ได้ง่าย ๆ หรอกครับ เสร็จตั้งนายกรัฐมนตรี ก็ยังต้องมาเจรจาโควตาพรรค เสร็จขั้นตอนโควตาพรรค ก็ยังต้องนัวเนียชิงเก้าอี้กันภายในพรรค ยิ่งนานวันยืดเยื้อ ตัวแปรอุปสรรคก็ยิ่งมากมายยิ่งขึ้น

รัฐบาลร้อยพ่อพันแม่ตั้ง 18 พรรคเช่นนี้ คงได้เจอความยุ่งยากไปตลอดทาง

ยกแรกของการรับศึกน้ำในกทม.ถือว่า สอบตกไม่เป็นท่า แม้จะมีเครื่องมือวิเศษอุโมงค์ยักษ์ตั้งมากมายถึง 8 ตัวทั่วกรุงเทพฯ เพราะไม่มีน้ำไหลเข้าอุโมงค์แถมอุโมงค์ยักษ์หลับสนิทเพราะ ฟิวส์ขาด”

มันน่าเอาไม้เรียวหวดก้นผู้ว่าฯกทม.ที่คสช.แต่งตั้ง และผอ.สำนักการระบายน้ำไหมเนี่ย

เหตุการณ์เหมือนกับเปี๊ยบเลยกับเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 คืออุโมงค์ยักษ์ ซึ่งขณะนั้นมีอยู่แห่งเดียว คือ อุโมงค์คลองตันไม่มีน้ำเข้าอุโมงค์ไประบายออกแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณท่าเรือคลองเตย

มันไม่มีน้ำเข้าอุโมงค์ก็เพราะท่อระบายน้ำตีบตัน เต็มไปด้วยขยะที่แทบไม่มีการเตรียมพร้อมในการขุดลอกกันเลย อุโมงค์

ยักษ์ที่สามารถจะรับน้ำได้ในปริมาณมากและระบายออกไปด้วยอัตราที่รวดเร็วระดับ 60 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ก็เลยเป็นอุโมงค์ยักษ์หลับสนิทไป

ตอนนั้น รัฐบาลเป็นพรรคเพื่อไทย ส่วนรัฐบาลท้องถิ่นเป็นพรรคประชาธิปัตย์ ผมไม่รู้ว่าน้ำระบายไม่ออกเพราะการขบเหลี่ยมกันทางการเมืองหรือเปล่านะ เพราะมันมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นจริง ๆ ที่น้ำท่วมขังกรุงเทพฯต อนบนยาวนานมาก แต่พื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในแห้งสนิท

ตามลำคลองหลักที่สำคัญ อาทิ คลองแสนแสบ คลองเปรมประชากร คลองพระโขนง คลองผดุงกรุงเกษม คลองบางเขนฯลฯ ที่ระบายออกสู่เจ้าพระยาได้ ระดับน้ำอยู่ต่ำจากขอบตลิ่งเป็นอันมาก แสดงว่ายังสามารถจะรับน้ำที่ล้นเอ่ออยู่ทางตอนบนของกรุงเทพฯ ได้อีก แต่ก็ไม่มีน้ำไหลลงมา

การเตรียมการขุดลอกคูคลองท่อระบายน้ำสมัยนั้นแทบไม่มี ก็เลยไม่มีน้ำไปไหลเข้าอุโมงค์และแหล่งรับน้ำทางธรรมชาติทั้งหลาย

เดี๋ยวนี้กทม.มีอุโมงค์ยักษ์ตั้ง 8 แห่งแล้ว และภายในปี 2565 ก็ยังจะมีเพิ่มอีกเป็น 13 แห่ง แต่เหตุการณ์ฝนตกเมื่อวันศุกร์สยอง 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา พิสูจน์แล้วว่า อุโมงค์ยักษ์ทั้ง 8 แห่ง ที่กระจายอยู่ตามจุดต่าง ๆ และลงทุนกันไปเป็นหลายหมื่นล้านบาท ไม่มีน้ำยาจะรับมือกับน้ำฝนห่าเดียวได้เลย

นี่ขนาดเป็นน้ำท่วมจากน้ำฝนอย่างเดียวนะ ไม่มีน้ำท่วมจากน้ำท่าและน้ำทุ่งเหมือนปี 54 ยังรับมือกันไม่อยู่ ต้องไปตรวจเช็คสภาพการทำงานของอุโมงค์ยักษ์แต่ละอุโมงค์กันจริง ๆ ว่า มีสภาพพร้อมใช้งานกันมากน้อยแค่ไหน

อุโมงค์ยักษ์บางซื่อ  เพิ่งจะสร้างเสร็จเอาปลายปี 2560 แต่เพิ่งจะมาเปิดใช้งานเอาในปีนี้  จัดเป็นอุโมงค์ยักษ์จริง ๆ เพราะมีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 5 เมตร เป็นระยะทางยาวถึง 6 กิโลเมตร เริ่มต้นที่คลองบางซื่อ ถนนรัชดาฯ ผ่านถนนวิภาวดีฯ ถนนกำแพงเพชร ไปบรรจบคลองเปรมฯ ที่บางซื่อ แล้วไหลออกแม่น้ำ เจ้าพระยาบริเวณเกียกกาย

มีพื้นที่รับและระบายน้ำได้ถึง 56 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ถึง 6 เขต 6 ถนน อันมีเขตดุสิต บางซื่อ พญาไท จตุจักร ดินแดง และห้วยขวาง ความสามารถระบายน้ำในระดับ 60 ลูกบาศก์เมตร/วินาที

แต่อนิจจาฯ ทีแรกก็บอกว่าระบบไฟฟ้าไม่ทำงาน และกทม.ก็ไม่มีระบบไฟฟ้าสำรอง แต่ต่อมาก็พบว่า “ฟิวส์ขาด” เพราะไฟโหลด นี่แสดงว่า การทดสอบไม่ดี และผมก็ว่ายังไงก็ต้องมีระบบไฟสำรองและต้องเตรียมฟิวส์ให้พรักพร้อมนั่นแหละ แต่นี่ไม่มีการเตรียมการอะไรสักอย่าง

ถ้าอุโมงค์ยักษ์ทั้ง 8 กระจายอยู่ตามคลองสำคัญต่าง ๆ มีสภาพพร้อมใช้งาน ผมก็ว่าน่าจะ “เอาอยู่” คงไม่เกิดวิกฤตโกลาหลเช่นวันศุกร์สยองที่ผ่านมาหรอก เพราะเป็นน้ำท่วมจากน้ำฝนน้ำเดียว

แต่ผมก็ยังสงสัยอยู่เหมือนกันว่า กทม.ได้ทำการขุดลอกท่อระบายน้ำกันมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากระยะ 5-6 ปีมานี้ แทบไม่มีโอกาสได้เห็นชุดนักโทษมาขุดลอกท่อระบายน้ำในกรุงเทพฯกันเลย

ถ้าท่อตัน อุโมงค์ยักษ์ก็กลายเป็นอุโมงค์หลับไร้ค่า น่าสมเพช เพราะไม่มีน้ำไปเข้าอุโมงค์ได้นะ

Back to top button