IPO ‘ไทยประกันชีวิต’

น่าจะพอทราบกันแล้วว่า “ไทยประกันชีวิต” หรือ TLI กำลังนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ


น่าจะพอทราบกันแล้วว่าไทยประกันชีวิตหรือ TLI กำลังนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

มี บล.เกียรตินาคินภัทร และ บล.โนมูระ พัฒนสิน เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน หรือ  FA

ล่าสุด กำหนดราคาเสนอขายหุ้น IPO ออกมาแล้วที่ 16.00 บาท

มูลค่าการะดมทุน (รวมหุ้นกรีนชู) อยู่ที่ประมาณ 3.7 หมื่นล้านบาท

วัตถุประสงค์ของการใช้เงิน หลัก ๆ คือ ไปทำเรื่อง Digital Transformation หรือคล้าย ๆ กับกรณีธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของไทยหลายแห่งได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้

Digital Transformation มีกรอบเวลาดำเนินการช่วงปี 2565-2567

นอกเหนือจากนั้น ยังนำเงินไปสร้างความเข้มแข็งในช่องทางการขายผ่านพันธมิตร

และยังนำไปช่วยสร้างความแข็งแกร่งของเงินทุนให้เพิ่มขึ้นไปอีก

ปัจจุบัน TLI มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับสองของธุรกิจประกันชีวิต (รองจาก AIA)

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 มีสินทรัพย์รวมกว่า 534,628 ล้านบาท

ปี 2562 มีกำไรสุทธิ 6,777 ล้านบาท

ปี 2563 กำไรสุทธิ 7,692 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.50%

ปี  2564 กำไรสุทธิ 8,393 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.11%

ปี  2565 ช่วง 3 เดือนแรก (มกราคม-มีนาคม) กำไรสุทธิจำนวน 3,793 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 15%

คาดการณ์จากนักวิเคราะห์ถึงกำไรปี 2565 จะอยู่ที่ 9,826 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17%

ปี  2566 กำไรขึ้นแตะระดับหมื่นล้านบาทครั้งแรก หรือ 11,227 ล้านบาท

และปี 2567 จะขยับขึ้นไปอีกที่ 12,621 ล้านบาท

กำไรที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นค่อนข้างก้าวกระโดดในปีนี้ มาจากผลตอบแทนพันธบัตร หรือ Bond yield กลับตัวเข้าสู่ขาขึ้น

รวมถึงผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ที่ TLI ทำได้โดดเด่นสุดในอุตสาหกรรม

และรวมถึงค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่จะลดลง

เมื่อมีการทำบทวิเคราะห์เพื่อทำ SWAT Analysis เพื่อดูจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค

TLI มีจุดแข็งด้านเครือข่ายตัวแทนที่แข็งแกร่ง

มีผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลาย

มีอัตรากำไรจากธุรกิจใหม่ หรือ VONB Margin มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากการปรับกลยุทธ์การขาย

และยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมากจากเครือข่ายตัวแทนที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด และเป็นตลาดที่ยังสามารถเข้าไปสร้างโอกาสในการขายเบี้ยประกันอีกเยอะมาก

ช่องทางการขายผ่านตัวแทนจะมีข้อได้เปรียบเหนือการขายผ่านสาขาธนาคาร

เริ่มจาก มีความคล่องตัวการเข้าถึงลูกค้า, สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในระยะยาว

ส่วนความเสี่ยงหรืออุปสรรค จะมาจากภาพรวมอุตสาหกรรมของประกันชีวิต หรือเป็นปัจจัยภายนอก

แม้ว่า TLI จะมีเครือข่ายตัวแทนแข็งแกร่ง หรือกว่า 6.4 หมื่นคน

ทว่า TLI ยังสร้างโอกาสด้วยการมีช่องทางขายผ่านธนาคารเข้ามาด้วย

ที่ผ่านมา TLI จะมีผลิตภัณฑ์สำหรับการขายผ่านธนาคารโดยเฉพาะ หรืออยู่ในกลุ่ม Investment Link เช่น Unit-link และ Universal life

มีการวิเคราะห์ถึงโอกาสว่า หาก TLI สามารถเพิ่มการขายสัญญาเพิ่มเติม

จะทำให้ VONB Margin มีโอกาสขยับขึ้นมาและใกล้เคียงกับคู่แข่งขันอย่าง AIA

คาดการณ์แนวโน้ม VONB Margin ของ TLI จะเฉลี่ยอยู่ที่ 48%

ที่ผ่านมา ไทยประกันชีวิต ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ ด้วยการยกเลิกการขายสินค้าแบบเก่าที่มี VONB Margin ต่ำ ทดแทนด้วยสินค้าใหม่ที่มี VONB Margin สูงขึ้น

เน้นการขายประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ แบบมีส่วนร่วมในเงินปันผล

รวมถึงขายสินค้าที่ตลาดมีความต้องการมากขึ้น เช่นกลุ่ม Investment Link

มีการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของ TLI ปีนี้ว่าจะอยู่ระหว่าง 2.30–2.44 แสนล้านบาท

Back to top button