รู้ก่อนได้เปรียบ! บัตรประชาชนแนวใหม่ Any ID Card

หลังจากที่มีกระแสของการเปลี่ยนแปลงระบบบัตรเอทีเอ็มแบบใหม่ให้เป็นเป็นระบบชิปการ์ดไปเมื่อไม่กี่เดือนมานี้ ก็ถึงคิวของบัตรประชาชนบ้าง ซึ่งล่าสุดกระทรวงการคลังได้ออกมาเผยว่าจะเปลี่ยนแปลงระบบการชำระเงินแบบใหม่โดยการใช้บัตรประชาชนในรูปแบบของ Any ID ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.นี้เป็นต้นไป


หลังจากที่มีกระแสของการเปลี่ยนแปลงระบบบัตรเอทีเอ็มแบบใหม่ให้เป็นเป็นระบบชิปการ์ดไปเมื่อไม่กี่เดือนมานี้ ก็ถึงคิวของบัตรประชาชนบ้าง ซึ่งล่าสุดกระทรวงการคลังได้ออกมาเผยว่าจะเปลี่ยนแปลงระบบการชำระเงินแบบใหม่โดยการใช้บัตรประชาชนในรูปแบบของ Any ID ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.นี้เป็นต้นไป

ระบบบัตรประชาชนแบบใหม่ “Any ID” เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National E-Payment) ของรัฐบาล ซึ่งทางรัฐบาลต้องการข้อมูลเพื่อที่จะนำไปใช้ในการจ่ายสวัสดิการของรัฐและเกี่ยวกับการคืนเงินภาษีของกรมสรรพากรให้กับประชาชน โดยข้อมูลในบัตรประชาชนใหม่ ที่ต้องลงทะเบียนแบบ Any ID  นั้น จะประกอบไปด้วย

– เลขบัตรประจำตัวประชาชนผู้ถือบัตร จำนวน 13 หลัก

– เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้

– เลขบัญชีธนาคาร (ธนาคารที่สะดวกในการรับเงินและทำธุรกรรมการเงิน)

 

ทำไมต้องทำ Any ID?

นั่นก็เป็นเพราะว่า การให้สวัสดิการแก่ประชาชนแบบเดิมที่ผ่านๆมามีความยุ่งยากและใช้เวลาในการตรวจสอบดำเนินการนาน ทำให้เกิดความล่าช้า ประชาชนเดือดร้อนและไม่ทั่วถึง ถ้าเปลี่ยนเป็นระบบ Any ID นั้น จะได้รับการบริการในเรื่องของสวัสดิการ เบี้ยยังชีพ เงินบำนาญ เงินคืนภาษีจากสรรพากร เงินคืนจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้สะดวกขึ้น รวดเร็วยิ่งขึ้น  เงินจากรัฐบาลจะถูกโอนเข้าบัญชีธนาคารที่ผ่านการกรอกข้อมูลการโอนโดยใช้เลขบัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์ เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่ผูกกับระบบ Any ID ไว้ นั่นเอง

 

ใครบ้างที่ต้องลงทะเบียน Any ID? จำเป็นต้องลงทะเบียนทุกคนหรือไม่?

ตามจริงแล้ว กระทรวงการคลังไม่ได้กล่าวเป็นเชิงบังคับว่าต้องลงทะเบียนทุกคน แต่ขอให้ประชาชนได้ทำความเข้าใจว่า การลงทะเบียนในระบบ Any ID นั้น จะช่วยในเรื่องของความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลได้สะดวกอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น เป็นการลงทะเบียนแบบสมัครใจเพื่อลดความยุ่งยากของทั้งสองฝ่าย ดังนั้น ประชาชนที่เห็นสมควรจะต้องลงทะเบียนบัตรประชาชนแบบ Any ID ได้แก่ 

– พนักงานของรัฐ 

– บุคคลที่เข้ารับราชการ 

– ผู้ที่รับเงินบำนาญจากรัฐบาล 

– ประชาชนสูงอายุที่ต้องได้รับเบี้ยยังชีพ

– ประชาชนที่มีรายได้มากกว่า 150,000 บาทต่อปี ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับกรมสรรพากร

หรือบุคคลที่คิดว่า ตนเองจะมีความจำเป็นในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับได้รับสวัสดิการจากรัฐบาล เช่น เกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง หรือ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นต้น

ดังนั้น การลงทะเบียนบัตรประชาชนแบบ Any ID จึงมีความจำเป็นสำหรับบุคคลดังที่กล่าวมา ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบาย รวดเร็ว ได้รับการบริการอย่างทั่วถึง และเป็นการรักษาผลประโยชน์ของตนเองอีกด้วย

 

สำหรับการลงทะเบียนบัตรประชาชนแบบ Any ID นั้น บางธนาคารเริ่มที่จะเปิดให้ใช้บริการลงทะเบียนแล้ว เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ที่เปิดให้ลงทะเบียนล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ anyid.scb หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งมีการให้ทำแบบ คำขอลงทะเบียน Any ID และหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลลูกค้าในเบื้องต้นแล้ว เพื่อบริการให้กับประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่เพื่อประสานงานกับผู้นำชุมชนในหมู่บ้านนั้นๆ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันและไม่สับสน และอีกหนึ่งธนาคารคือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY ก็จะมีการเปิดให้ลงทะเบียนล่วงหน้าสำหรับบุคคลทั่วไปได้ ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.59 เป็นต้นไป

 

สิ่งสำคัญที่สุดในการลงทะเบียน Any ID

คือ เลขบัญชีธนาคาร ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า 1 Any ID จะสามารถผูกกับหมายเลขโทรศัพท์เพียง 1 หมายเลข และเลขบัญชีธนาคารได้เพียง 1 หมายเลขบัญชีเท่านั้น ฉะนั้นแล้วถ้าใครที่มีคุณสมบัติและมีความต้องการที่จะลงทะเบียนบัตรประชาชน Any ID นั้น จะต้องตรวจสอบเลขบัญชีธนาคารที่สะดวกต่อการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือเป็นเลขบัญชีที่ท่านใช้งานบ่อยๆ หรือเป็นเลขบัญชีที่ใช้รับโอนเงินค่าครองชีพ เงินเดือน หรือเลขบัญชีที่ผูกกับบัตรนักศึกษาเป็นต้น เพื่อความสะดวกสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้นและเพื่อความมั่นใจว่าประชาชนได้รับเงินค่าตอบแทนต่างๆ แล้ว หมายเลขโทรศัพท์เช่นกัน ต้องเป็นหมายเลขที่สามารถติดต่อได้และใช้งานเป็นประจำ ถ้าใครมีโทรศัพท์หลายเครื่องหลายเบอร์ ควรเลือกใช้เบอร์ที่ใช้ในการติดต่องานราชการได้จะดีที่สุด

 

นอกจากมีไว้เพื่อรับเงินช่วยเหลือและสวัสดิการจากรัฐบาลแล้ว สามารถทำธุรกรรมอย่างอื่นได้หรือไม่?

คำตอบคือ “ได้” อเช่น การโอนเงินข้ามธนาคาร เป็นต้น เราก็คงคุ้นเคยกันดีกับการโอนเงินข้ามธนาคารไม่ว่าจะเป็นการโอนผ่านธนาคาร ผ่านตู้เอทีเอ็ม หรือผ่านระบบแอพลิเคชั่นต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีข้อจำกัด เช่น โอนต่างธนาคารจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการโอน  ดังนั้นถ้าเราเปลี่ยนทุกอย่างเป็นระบบแบบ Any ID แล้ว ก็เหมือนกับว่าเราเปลี่ยนให้ใช้ระบบธุรกรรมการเงินแบบเดียวกัน แม้ว่าแต่ละ Any ID จะผูกกับเลขบัญชีธนาคารต่างกัน แต่เวลาเราโอนจะสามารถทำได้สะดวกขึ้น สามารถโอนเงินต่างธนาคารได้โดยที่อาจจะเสียค่าธรรมเนียมในการโอนน้อยลงหรือไม่เสียเลยนั่นเอง (ต้องติดตามข่าวอัพเดตอีกที)

 

การลงทะเบียน Any ID นั้น ตอนนี้เราอาจจะยังไม่เห็นความจำเป็นซะเท่าไหร่ แต่ในอนาคตไม่แน่ว่า เราอาจจะจำเป็นต้องใช้งาน ผ่าน Any ID ดังนั้นรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของตนเองน่าจะเป็นการดีที่สุด

 

ขอบคุณบทความจาก : moneyhub

ที่มา : MGR ONLINE

Back to top button