โสภณพนิช กับ BBL ลูบคมตลาดทุน

ย้อนไปเมื่อครั้ง "โฆสิตปั้นเปี่ยมรัษฎ์"ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ หรือ BBLยังมีชีวิตอยู่ เขาเคยตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ถามว่าธนาคารพาณิชย์หลายแห่งต่างปรับกลยุทธ์ และยังได้รุกกลุ่มลูกค้ารายย่อย (Retail Banking) อย่างหนัก แล้วแบงก์กรุงเทพจะปรับหรือเคลื่อนตัวต่อไปอย่างไร


ธนะชัยณนคร

 

ย้อนไปเมื่อครั้ง “โฆสิตปั้นเปี่ยมรัษฎ์”ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ หรือ BBLยังมีชีวิตอยู่ เขาเคยตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ถามว่าธนาคารพาณิชย์หลายแห่งต่างปรับกลยุทธ์ และยังได้รุกกลุ่มลูกค้ารายย่อย (Retail Banking) อย่างหนัก แล้วแบงก์กรุงเทพจะปรับหรือเคลื่อนตัวต่อไปอย่างไร

คำตอบของอาจารย์โฆษิตณขณะนั้นคือ”แล้วจะรีบไปไหน” ซึ่งนั่นได้สะท้อนแนวทางการบริหารงานหรือยุทธศาสตร์ของแบงก์กรุงเทพหรือBBL ว่ายังคงสไตล์”อนุรักษนิยม” หรือConservative ไว้ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งนับเป็นการทำธุรกิจธนาคารที่”ตั้งการ์ด” ให้แน่นไว้ก่อน

แบงก์กรุงเทพเพิ่งแจ้งผลประกอบการในงวดไตรมาส3/59 ออกมา มีกำไรสุทธิ8,061 ล้านบาท กำไรที่ว่านั้น ปรับลง11% หากเทียบกับงวดไตรมาส3/58 แม้ตัวเลขกำไรจะออกมาไม่สวยนักแต่ก็ออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์กันไว้ ยังมีประเด็นที่น่าสนใจคือกำไรกว่า8,061 ล้านบาทดังกล่าวทำให้แบงก์กรุงเทพที่มีขนาดสินทรัพย์ใหญ่สุดในระบบ

ธนาคารพาณิชย์ของไทยคือ2.87 ล้านล้านบาทแต่กลับมีกำไรสุทธิลงมาอยู่อันดับ4 เป็นครั้งแรกในงวดไตรมาส3/59 หรือมีอันดับรองจากแบงก์ไทยพาณิชย์กสิกรไทยและกรุงไทย

หากนำประเด็นนี้ไปถามกับ”ชาติศิริโสภณพนิช” กรรมการผู้จัดการใหญ่ ก็เชื่อเช่นกันว่าคำตอบที่ได้รับนั้นไม่น่าจะแตกต่างเมื่อครั้งสมัยอาจารย์โฆษิตปั้นเปี่ยมรัษฎ์ยังมีชีวิตอยู่ซักเท่าไหร่ สไตล์การทำธุรกิจของแบงก์กรุงเทพแม้ว่าในส่วนของDetail ที่เป็นงานด้านMarketing จะต้องแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นๆอย่างมาก

ทว่าในด้านของBottom Line เหมือนว่าพวกเขาต้องการแข่งขันกับตัวเองมากกว่า เช่นเดียวกับการที่แบงก์กรุงเทพไม่เข้าไปเป็นแบงก์การันตีให้กับกลุ่มจัสมินหรือJAS เมื่อครั้งประมูลคลื่น4G ทั้งที่เป็นพันธมิตรกันมานาน และทำให้ช่วงหลังกลุ่มจัสมินเข้าไปใช้บริการทางการเงินกับแบงก์ไทยพาณิชย์ (SCB) แทน

แต่นั่นก็ดูเหมือนว่าไม่ได้ทำให้ค่ายดอกบัวแห่งนี้หวั่นไหว แบงก์กรุงเทพยังคงสไตล์การปล่อยสินเชื่อหรือรุกตลาดแบบตั้งการ์ดให้แน่นไว้เช่นเดิม การปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายใหญ่ยังคงมีสัดส่วนมากสุดและเป็นจุดแข็งมากสุดของแบงก์แห่งนี้ เช่นเดียวกับสินเชื่อกลุ่มเอ็มเอ็มอีที่ถือเป็นจุดแข็งเช่นกันแม้ในช่วงหลังจะเผชิญกับหนี้เสียมากขึ้นบ้างแต่ยังอยู่เกณฑ์ที่ควบคุมได้

ส่วนกลุ่มรายย่อยนั้นแบงก์กรุงเทพก็ยังคงเดินเกมไปตามที่ตนเองถนัด ณสิ้นไตรมาส3/59 แบงก์กรุงเทพมีอัตราค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือCoverage Ratio อยู่ที่159.5% ลดลงจาก164.5% ในไตรมาสที่2/59 ทว่ายังคงเป็นตัวเลขCoverage Ratio สูงสุดในระบบธนาคารพาณิชย์ของไทยอัตราส่วนเงินกองทุน19.2% ก็นับว่าสูงสุดเช่นเดียวกัน

ตัวเลขทั้ง2 ส่วนนี้จะเห็นว่าแบงก์กรุงเทพยังคงนโยบายการตั้งสำรองฯแบบอนุรักษนิยม ส่วนอัตราผลตอบแทนเงินปันผลหรือDividend Yield ในระดับ4.0% ต่อปีก็อยู่ในเกณฑ์ที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับความเสี่ยง กำไรที่ปรับลงและค่าใช้จ่ายด้านการตั้งสำรองฯยังเพิ่มขึ้นทำให้หุ้นBBL ราคาลดลงต่ำลงมาหลายเดือนและราคาปัจจุบัน ก็ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีที่ระดับ193 บาท

แต่ด้วยเงินกองทุนที่เข้มแข็งและผลตอบแทนเงินปันผลยังถือว่าสูงจึงเป็นหุ้นในกลุ่มแบงก์ที่นักลงทุนต่างชาติยังคงให้ความสนใจลงทุนเป็นอันดับต้นๆ นี่คือBBL ในสไตล์การบริหารของกลุ่มโสภณพนิชที่ยังคงอนุรักษนิยมไว้

 

 

 

 

Back to top button