โกลด์แมน แซคส์ ในยุคทรัมป์ พลวัต 2017

อเท็จจริงที่โดนัลด์ ทรัมป์เปิดเผยธาตุแท้จนล่อนจ้อน เมื่อขึ้นสู่อำนาจในทำเนียบขาวแล้ว คือ ภาพลักษณ์ที่เขาสร้างไว้ในช่วงหาเสียงว่าเขาเป็นพวก "ต่อต้านทุนวอลล์สตรีทตัวเอ้" เป็นเพียงฉากละครที่สร้างขึ้นมาเท่านั้น


วิษณุ โชลิตกุล

 

ข้อเท็จจริงที่โดนัลด์ ทรัมป์เปิดเผยธาตุแท้จนล่อนจ้อน เมื่อขึ้นสู่อำนาจในทำเนียบขาวแล้ว คือ ภาพลักษณ์ที่เขาสร้างไว้ในช่วงหาเสียงว่าเขาเป็นพวก “ต่อต้านทุนวอลล์สตรีทตัวเอ้” เป็นเพียงฉากละครที่สร้างขึ้นมาเท่านั้น 

ตอนนี้ ประจักษ์ชัดแล้วว่า เบื้องหลังของทรัมป์หนีไม่พ้นคนของทุนวอลล์สตรีท  แถมยังมีจำนวนคนที่มากกว่าในช่วงประธานาธิบดีอเมริกันคนใดในช่วง 2 ทศวรรษเสียด้วย

ทีมงานด้านเศรษฐกิจของทรัมป์ปัจจุบันอัดแน่นไปด้วยอดีตเจ้าหน้าที่ของวาณิชธนกิจอันดับหนึ่งของสหรัฐที่ชื่อ โกลด์แมน แซคส์ จนสามารถพูดได้ว่านี่คือการ “ยกโกลด์แมน แซคส์เข้าทำเนียบขาว” ครั้งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์

คนอเมริกันที่ต่อต้านทุนการเงินในวอลล์สตรีทที่ไม่พึงพอใจฮิลลารี คลินตัน คงต้องก้มหน้าจ่ายค่าโง่อย่างเต็มที่ เพื่อให้ทุนวอลล์สตรีทขึ้นมาครอบงำนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐต่อไป

ในช่วงยี่สิบปีมานี้ อดีตผู้บริหารของ โกลด์แมน แซคส์ได้รับการ “เชื้อเชิญ” เข้าเป็นรัฐมนตรีคลังหรือที่ปรึกษาใหญ่ด้านเศรษฐกิจในทำเนียบขาวทั้งที่ลับและที่แจ้งต่อเนื่อง ไม่ว่าพรรคไหนจะขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี เพราะคนของโกลด์แมน แซคส์ นั้นสามารถใส่เสื้อได้ทุกพรรคไม่ว่าเดโมแครต หรือรีพับลิกัน รวดเร็วและแนบเนียนยิ่งกว่ากิ้งก่าที่เปลี่ยนสีได้

โรเบิร์ต รูบิน สร้างชื่อในสมัยบิลคลินตัน 2 สมัยนาน 8 ปี ทั้งในตำแหน่งที่ปรึกษาใหญ่ด้านเศรษฐกิจ และต่อมา รัฐมนตรีคลัง

เฮนรี่ พอลสัน อดีตโค-ซีอีโอร่วมกับรูบิน เข้าในทีมงานของบุช จูเนียร์ ในทั้ง 2 ตำแหน่งเช่นเดียวกับรูบิน นาน 8 ปี เช่นกัน

ในยุคของบารัค โอบามา โกลด์แมน แซคส์คือผู้บริจาคเงินหาเสียงหมายเลขหนึ่งทั้งสองสมัยให้กับโอบามา แม้จะไม่มีอดีตผู้บริหารเข้ามานั่งในทีมอย่างเปิดเผย แต่ก็ดาหน้ากันเข้ามามากขึ้นกว่าเดิมในตำแหน่งที่โอบามาแต่งตั้ง เป็นการหลบเรดาร์ทางการเมืองได้แนบเนียน 

มาถึงยุคของทรัมป์ คนของ โกลด์แมน แซคส์ ดาหน้าเข้ามาสร้างภาพลักษณ์ให้ทรัมป์ในฐานะ “นักต่อต้านวอลล์สรีทตัวเอ้” โดยต้นคิดสำคัญนี้ คือสตีฟ แบนนอน อดีตคนของโกลด์แมน แซคส์ ที่เป็นผู้จัดการหาเสียงของทรัมป์มาตลอดแต่ต้นจนจบ

หลังขึ้นสู่อำนาจ ทรัมป์อาจจะได้ชื่อว่า เป็นประธานาธิบดีสหรัฐโดยนิตินัย แต่คนที่ขับเคลื่อนอำนาจโดยพฤตินัย ย่อมหนีไม่พ้นอดีตคนของโกลด์แมน แซคส์ที่อยู่รอบกายทรัมป์นั่นเอง

ตอนนี้ สตีฟ แบนนอน ถอยไปอยู่ในทีมงานสร้างภาพลักษณ์ด้านนโยบายเศรษฐกิจ แต่มีความสำคัญต่อไปเสมอผ่านทีมงานทำเนียบขาว 

สตีเฟน มนูชิน เปลี่ยนจากประธานทีมกำหนดนโยบายหาเสียงด้านเศรษฐกิจของทรัมป์ มาเป็นรัฐมนตรีคลัง 

แกรี่ โคห์น อดีตผู้อำนวยการใหญ่ของโกลด์แมน แซคส์ (ตำแหน่งหมายเลข 2 รองจากซีอีโอ) เป็นหัวหน้าทีมที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของทำเนียบขาว

 แอนโทนี่ สคารามุคชี่ อดีตเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของโกลด์แมน แซคส์ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการสำคัญคัดเลือกตัวบุคคลเข้ารับตำแหน่งทีมรัฐมนตรีและผู้ช่วยรัฐมนตรีในทำเนียบขาว ของพรรครีพับลิกัน แม้จะไม่มีตำแหน่งหลังจากนั้นชัดเจน แต่เชื่อว่าอาจจะได้เป็นเอกอัครราชทูตประเทศสำคัญที่ใดที่หนึ่ง

ดิน่า เพาเวลล์ อดีตผู้บริหารงานวาณิชธนกิจเกี่ยวกับโครงการลงทุนในธุรกิจสร้างภาพลักษณ์ เป็นผู้ช่วยประธานาธิบดี และที่ปรึกษาอาวุโสด้านการริเริ่มทางนโยบายเศรษฐกิจ

จิม โดโนแวน อดีตเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงด้านกิจการกำกับดูแลภายในของธนาคาร จะมาเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีคลัง

ชื่อเหล่านี้ ทำให้ใครบางคนที่เคยอ้างซ้ำซาก (จะด้วยเหตุใดก็ตาม) ว่า ทรัมป์จะลดทอนบทบาททุนยิวในวอลล์สตรีท คงไม่อาจหลอกใครอื่นได้นอกจากตัวเองว่า ท้ายที่สุดแล้ว ทุนการเงินยิวอเมริกันไม่เคยหนีหน้าไปไหน

นักสังเกตการณ์ตลาดหุ้นนิวยอร์ก จึงระบุว่า นับแต่ทรัมป์เอาชนะฮิลลารี คลินตันมาได้ในต้นเดือนพฤศจิกายนปีก่อน ราคาหุ้นของโกลด์แมน แซคส์ พุ่งขึ้นมาถึงปัจจุบันมากกว่า 30% จากระดับหุ้นละ 150 ดอลลาร์มาปิดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา 250 ดอลลาร์ 

เหตุผลคือ โกลด์แมน แซคส์ จะได้รับประโยชน์เต็มที่จากนโยบายที่ทรัมป์ผลักดันให้ผ่อนคลายระเบียกติกาในการทำธุรกรรมการเงินโดยเฉพาะการแก้ไขกฎหมายการเงินสำคัญ Dodd-Frank ACT 2012 ที่เป็นหนามตำใจวาณิชธนกิจสำคัญโดยเฉพาะ โกลด์แมน แซคส์มาตลอดนับแต่เริ่มมีผลบังคับใช้

ทรัมป์ย้ำในนโยบายหาเสียงมาตั้งแต่ต้นว่า จะยกเลิกกฎหมาย Dodd-Frank เพราะมีกฎกติกาทำให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อยากขึ้นมาก ทำให้การจ้างงานไม่เพิ่ม แต่เบื้องหลังนั้นเป็นที่รู้ดีว่า กติกาสำคัญที่ขัดขวางการทำมาหากินของทุนยิว คือกฎว่าด้วย Volker’s Rule ในข้อที่สามของ Dodd-Frank นั่นเอง 

กฎหมาย Dodd-Frank ถูกออกแบบมาหลังวิกฤตซับไพรม์ ค.ศ. 2008 เพื่อปฏิรูปโครงสร้างและการกำกับดูแลสถาบันการเงิน มีเนื้อหายาวมากถึง 848 หน้า และครอบคลุม 8 ประเด็น ได้แก่

  1. การจัดตั้งหน่วยงานกำกับและพิทักษ์ผู้ลงทุน (Consumer Financial Protection Agency) เพื่อดูแลเรื่องสินเชื่อส่วนบุคคล การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต รวมทั้งการปล่อยสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน ที่เข้มงวดในเรื่องของเอกสารหลักฐาน ความมีตัวตน และความสามารถในการชำระหนี้คืนของลูกค้า
  2. การจัดตั้งสภาการกำกับเสถียรภาพของระบบการเงิน (The Financial Stability Oversight Council) เพื่อกำกับและดูแลตลาดทุนอย่างบูรณาการ เพื่อประเมินและบริหารความเสี่ยง
  3. การจัดทำกฎเกณฑ์ที่เรียกว่า Volcker Rule เพื่อกำหนดขอบเขตและขนาดของการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับอนุพันธ์ของธนาคาร ที่ใช้เงินของลูกค้าไปลงทุนในหลักทรัพย์เสี่ยง
  4. การกำกับธุรกิจอนุพันธ์ในตลาดโอทีซี โดยกำหนดให้ต้องชำระราคาผ่านสำนักหักบัญชี แทนการซื้อขายระหว่างกันเอง โดยเฉพาะ Credit Default Swaps
  5. การปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับผู้เล่นในตลาดอนุพันธ์ โดยกำหนดให้ Hedge Fund ที่มีขนาดใหญ่ ต้องขึ้นทะเบียนกับสำนักงาน ก.ล.ต.(SEC) 
  6. การปรับปรุงการกำกับดูแลบริษัทจัดอันดับเครดิต เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่สะท้อนความเป็นจริงของผู้ถูกประเมิน โดย SEC
  7. การจัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ AIG ในอดีต โดยเฉพาะการบริหารความเสี่ยง
  8. การปรับปรุงการทำงานของธนาคารกลาง เพื่อให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรม

หลังวิกฤตซับไพรม์ (ซึ่งโกลด์แมน แซคส์เป็น 1 ในจำเลยร่วม) สถาบันการเงินใหญ่ที่เป็นวาณิชธนกิจร่วมสร้างขึ้นจากการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ซับซ้อนด้วยปรัชญาความเชื่อว่า “ใหญ่เกินที่จะล้ม” (Too Big To Be Failed) จนรัฐบาลและเฟดต้องเอาเงินมาโอบอุ้มมหาศาลจนเงินท่วมโลกยาวนาน ถูกกติกาของ Volker’s Rule กดดันรุนแรง

จากเดิมที่ พฤติกรรมออกตราสารสารพัดของวาณิชธนกิจผ่านการควบรวมสถาบันการเงินจากกติกากฎหมาย Gramm-Leach-Bliley Act 1999 เอาเงินของลูกค้าในช่วงดอกเบี้ยต่ำที่รัฐบาลค้ำประกันให้ ไปลงทุนในสินทรัพย์สุ่มเสี่ยง ผ่าน 1) ช่องทาง Proprietary Trading 2) ผ่านบริษัทโฮลดิ้งจอมปลอม 3) ผ่าน Hedge fund และ 4) ผ่าน Private equity ทำให้ล้มและเกิดความเสียหาย ทำให้กฎหมาย Dodd-Frank Act งัดเอา Volker rule ที่ตามรอยกฎหมายเก่า Glass-Stellgall Act ที่ให้สร้างกำแพงเมืองจีนแบ่งแยกชัดระหว่างธนาคารพาณิชย์กับวาณิชธนกิจ เพื่อลดความเสี่ยง 

ผลของ Volker’s Rule คือ ปีศาจที่เคยเพ่นพ่านหากำไรอย่างละโมบด้วย “เงินของคนอื่น” อย่างสุ่มเสี่ยง ก็ถูกล่ามโซ่ในระดับหนึ่ง 

นโยบายยกเลิกกฎหมาย Dodd-Frank Act ของทรัมป์ และการดาหน้าเข้าคุมกลไกนโยบายเศรษฐกิจของอดีตคนจาก โกลด์แมน แซคส์ คือปฏิบัติการ “จิวยี่ถ่มน้ำลายรดฟ้า” ของคนอเมริกันอย่างแท้จริง

ชื่อของ โกลด์แมน แซคส์ บ่งบอกชัดเจนตั้งแต่ต้นเลยว่า เป็นบริษัทที่ผู้ก่อตั้งและถือหุ้นใหญ่เป็นยิวอเมริกัน แม้ปัจจุบันจะแปลงเป็นบริษัทมหาชนไปแล้ว แต่ก็ยังหนีไม่พ้นอำนาจจัดการเหนือกิจการในมือกลุ่มทุนยิวต่อไป

การเถลิงอำนาจครั้งล่าสุดของโกลด์แมน แซคส์ ในยุคของทรัมป์ เป็นแค่จุดเริ่มต้นของอำนาจทุนยิวเหนือทำเนียบขาวเท่านั้น

Back to top button