4 กลุ่มธุรกิจเสี่ยง ‘โควิด-19’ ยืดเยื้อ!

เศรษฐกิจไทยปี 63 มีทิศทางชะลอตัวจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะปัจจัยหลักเรื่องของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ยืดเยื้อ กระทบต่อภาคการส่งออก, ท่องเที่ยว และการเมือง


เส้นทางนักลงทุน

มีการประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปี 2563 มีทิศทางชะลอตัว จากหลายปัจจัยรุมเร้า !!

อาทิเช่น ปัจจัยหลักเรื่องของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ยืดเยื้อ กระทบต่อภาคการส่งออกและท่องเที่ยว การเมือง การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า และปัญหาภัยแล้ง เป็นต้น

ผลดังกล่าวเป็นบ่อเกิดทำให้มีความเสี่ยงที่อาจเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย

ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2563 ที่ผ่านมา ทางสถาบันจัดอันดับฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ปรับลด Outlook ประเทศไทยจาก Positive (+) เป็น Stable (0) และคง Credit rating ที่ BBB+ และยังปรับลด GDP Growth ปี 2563 ลงมาเหลือ 1% จากเดิมคาด 2.4%

เมื่อเทียบกับฝ่ายวิจัยบล.เอเซีย พลัส ที่คาด GDP Growth ปี 2563 โต 1.6% จากงวดเดียวกันของปีก่อน VS. Consensus คาดหดตัว 0.3% จนถึงโต 2.8%

โดยประมาณการ GDP Growth อยู่ภายใต้สมมุติฐานที่ว่าส่งออก ติดลบ 1.5% และนำเข้า ติดลบ 0.5%, การบริโภคครัวเรือน บวก 1.7%, การลงทุนรัฐ บวก 2%, การลงทุนเอกชน บวก 1.5%, การใช้จ่ายภาครัฐ บวก 2.5% และราคาน้ำมันดิบที่ 65 เหรียญ/บาร์เรล

ขณะที่หลายฝ่ายก็ได้คาดการณ์ GDP Growth ปี 2563 ของไทยหดตัวลงเช่นกันอย่างสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เดิมเดือน ก.พ.63 ประเมิน GDP Growth ของปี 2563 โต 2.8% และมีการประเมินใหม่ในเดือน มี.ค.63 ว่า GDP Growth ของปี 2563 โต 2.8%

ต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทย เดิมเดือน ก.พ.63 ประเมิน GDP Growth ของไทยปี 2563 โต 2.8% และมีการประเมินใหม่ในเดือน มี.ค.63 ว่า GDP Growth ของปี 2563 โต 2.8%

รวมถึงสภาพัฒน์ (สศช.) เดิมเดือน ก.พ.63 ประเมิน GDP Growth ของไทยปี 2563 โต 2.0% และมีการประเมินใหม่ในเดือน มี.ค.63 ว่า GDP Growth ของปี 2563 โต 2.0%, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เดิมเดือน ก.พ.63 ประเมิน GDP Growth ของไทยปี 2563 โต 2.8% และมีการประเมินใหม่ในเดือน มี.ค.63 ว่า GDP Growth ของปี 2563 โต 1.1%

สภาอุตสาหกรรม (สอท.) เดิมเดือน ก.พ.63 ประเมิน GDP Growth ของไทยปี 2563 โต 2.3% และมีการประเมินใหม่ในเดือน มี.ค.63 ว่า GDP Growth ของปี 2563 โต 1.8%, ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจไทยพาณิชย์ (EIC) เดิมเดือน ก.พ.63 ประเมิน GDP Growth ของไทยปี 2563 โต 1.8% และมีการประเมินใหม่ในเดือน มี.ค.63 ว่า GDP Growth ของปี 2563 หดตัว -0.3%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch) เดิมเดือน ก.พ.63 ประเมิน GDP Growth ของไทยปี 2563 โต 2.7% และมีการประเมินใหม่ในเดือน มี.ค.63 ว่า GDP Growth ของปี 2563 โต 0.5%, ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) เดิมเดือน ก.พ.63 ประเมิน GDP Growth ของไทยปี 2563 โต 1.9% และมีการประเมินใหม่ในเดือน มี.ค.63 ว่า GDP Growth ของปี 2563 โต 1.9%

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO Economic Strategy Unit) เดิมเดือน ก.พ.63 ประเมิน GDP Growth ของไทยปี 2563 โต 1.7% และมีการประเมินใหม่ในเดือน มี.ค.63 ว่า GDP Growth ของปี 2563 โต 0.8%, IMF ดิมเดือน ก.พ.63 ประเมิน GDP Growth ของไทยปี 2563 โต 3.0% และมีการประเมินใหม่ในเดือน มี.ค.63 ว่า GDP Growth ของปี 2563 โต 3.0%,

Worid Bank เดิมเดือน ก.พ.63 ประเมิน GDP Growth ของไทยปี 2563 โต 2.7% และมีการประเมินใหม่ในเดือน มี.ค.63 ว่า GDP Growth ของปี 2563 โต 2.7% และบริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส เดิมเดือน ก.พ.63 ประเมิน GDP Growth ของไทยปี 2563 โต 2.8% และมีการประเมินใหม่ในเดือน มี.ค.63 ว่า GDP Growth ของปี 2563 โต 1.6%

อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทย มี Downside จะถูกปรับลงอีก โดยฝ่ายวิจัยบล.เอเซีย พลัส เห็นว่ายังมีความเสี่ยงมาจากสมมุติฐานส่งออก และการบริโภคครัวเรือน ที่มีโอกาสหดตัวมากกว่าคาด ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงทบทวนประมาณการ ประเมินเบื้องต้นหากปรับลดการส่งออกหดตัวเป็น 5.5% และการบริโภคครัวเรือน ติดลบ 2% โดยกำหนดให้ปัจจัยอื่นคงที่ จะทำให้ GDP Growth พลิกกลับมาหดตัว 0.6%

ผลดังกล่าว คาดว่ารัฐบาลไทยจำเป็นต้องเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยในส่วนที่คาดว่าจะช่วยเหลือได้จะมาจากมาตรการคลังมากกว่า ตลาดคาดว่าจะเห็นการลดอัตราภาษี ฯลฯ ขณะที่นโยบายการเงินคาดหวังจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงไม่น้อยกว่า 0.50% จากปัจจุบันอยู่ที่ 1% โดยการประชุมกนง.กำหนดไว้วันที่ 25 มี.ค.63

ถึงอย่างไรจากความกังวล COVID-19 ที่เห็นชัดมากขึ้น จากการออกมาตรการควบคุมต่าง ๆ ของหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงไทย ขณะเดียวกันบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ต่าง ๆ ยังตระหนักถึงประเด็นดังกล่าวมากขึ้น ส่งผลให้กิจกรรมทางธุรกิจลดลงอย่างเห็นได้ชัดหาก COVID-19 ลากยาวออกไปเกิน 3-4 เดือน ถือเป็นความเสี่ยงต่อประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ.) โดยแบ่งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหลัก ๆ ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

  1. หุ้นกลุ่มพลังงาน มี Market Cap ขนาดใหญ่ที่สุดและถือเป็นฐานกำไรหลักของตลาดโดยคาดกำไรสุทธิปี 2563 อยู่ที่ 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งประเมินสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบปี 2563 เฉลี่ย 40 เหรียญ/บาร์เรล ทั้งนี้ราคาน้ำมันที่ต่ำกว่าสมมุติฐานทุก ๆ 5 เหรียญ จะกระทบต่อกำไรบจ.ราว 1 หมื่นล้านบาท

ล่าสุด ราคาน้ำมันเฉลี่ยดูไบจากต้นปีถึงปัจจุบัน อยู่ที่ 54.3 เหรียญ/บาร์เรล และหากให้ราคาน้ำมันดิบยืนในระดับต่ำตามราคาปัจจุบันที่ 32.5 เหรียญ/บาร์เรลจนถึงสิ้นปี 2563 ราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ 37.5 เหรียญ/บาร์เรล ถือยังเป็น Downside ต่อประมาณการกลุ่มพลังงาน

  1. กลุ่มแบงก์พาณิชย์ คาดมีกำไรสุทธิปี 2563 อยู่ที่ 1.8 แสนล้านบาท หากกนง.ปรับลดดอกเบี้ยลงทุก ๆ 0.5% จะส่งผลต่อประมาณการกำไรราว 1 หมื่นล้านบาท รวมถึงยังมีความเสี่ยงจากค่าใช่จ่ายตั้งสำรองหนี้สูญ (ECL) ที่อาจเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันสมมุติฐาน ECL กลุ่มฯ อยู่ที่ 1.23% (ราว 1.5 แสนล้านบาท) ทั้งนี้ ทุก ๆ 0.1% ของ ECL ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้กลุ่มเพิ่มประมาณ 8% และทำให้กำไรสุทธิกลุ่มต่ำลงจากประมาณการเดิม 5%

  1. กลุ่ม ICT เป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของตลาด คาดมีกำไรสุทธิปี 2563 อยู่ที่ 5.5 หมื่นล้านบาท หากเศรษฐกิจชะลอลง ถือเป็นความเสี่ยงต่อรายได้ที่ลดลงตาม เนื่องจากรายได้ของหุ้นในกลุ่มมักจะเติบโตได้ดีกว่าตัวเลข GDP 2-3% หากเศรษฐกิจชะลอถือเป็นความเสี่ยงต่อประมาณการ
  2. กลุ่มขนส่งทางอากาศ และโรงแรม คาดมีกำไรสุทธิปี 2563 อยู่ที่ 5.3 พันล้านบาท เดิมประเมินว่า COVID-19 ยืดเยื้อ 3-4 เดือน ซึ่งหากยืดเยื้อ ประเมินขยายไปทุก ๆ 1 -2 เดือน จะกดดันกำไรบริษัทจดทะเบียนราว 1 หมื่นล้านบาท

โดยสรุป ตราบใดที่ COVID-19 ยืดเยื้อ ก็จะกดดันต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และถือเป็นความเสี่ยงต่อประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ.)

Back to top button