โควิด วิกฤตศรัทธา และคูตูซอฟ

ดัชนี SET เดินหน้าบวกต่อไปไม่ไหวเสียแล้ว เมื่อยอดตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มเกินวันละ 1.1 หมื่นคนวานนี้ แถมพ่วงด้วยยอดผู้เสียชีวิตใหม่เพิ่มเป็น 81 คน เป็นสถิติใหม่ที่ไม่น่ายินดีเอาเสียเลย


ดัชนี SET เดินหน้าบวกต่อไปไม่ไหวเสียแล้ว เมื่อยอดตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มเกินวันละ 1.1 หมื่นคนวานนี้ แถมพ่วงด้วยยอดผู้เสียชีวิตใหม่เพิ่มเป็น 81 คน เป็นสถิติใหม่ที่ไม่น่ายินดีเอาเสียเลย

ปัจจัยลบจากตัวเลขการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ตอกย้ำความล้มเหลวของรัฐบาลในการจัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมาช่วยเหลือประชาชน

ความล้มเหลวที่ชัดเจน นอกจากสะท้อนถึงการทำงานที่ล้มเหลว ยังตอกย้ำเรื่องความเพิกเฉยต่อสุขภาพของประชาชน จนถึงเมื่อจวนตัวก็ทำการล็อกดาวน์และการยกระดับมาตรการคุมเข้มการแพร่ระบาดโควิด-19 ทั้งเพิ่มพื้นที่สีแดงเข้ม-จำกัดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไร้การบริหารจัดการ และลนลาน

มาตรการที่ ศบค.นำมาใช้เพื่อให้เกิดความยุ่งยากในการเดินทางบนพื้นที่เสี่ยง ถือเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุทั้งสิ้น โดยในช่วงเวลาระหว่าง 14 วันนี้ในพื้นที่ทั้ง 13 จังหวัดจะมีความยุ่งยากในการเดินทาง และคนที่อยู่ใน 13 จังหวัดนี้ จะถูกบล็อกไว้เพื่อไม่ให้ออกนอกพื้นที่ เพราะถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง ส่วนคนที่อยู่นอกพื้นที่ 13 จังหวัดยังสามารถ เดินทางเข้ามาได้ แต่ต้องมีความจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น

ความคาดหวัง “ในการแก้ปัญหาเพื่อหวังว่า จะได้ใช้ 13 จังหวัดนี้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และทำให้เต็มที่ใน 14 วันนี้ ซึ่งกราฟขึ้นโด่งส่วนใหญ่อยู่ใน 13 จังหวัดนี้ทั้งหมดเลย ถ้าเราดึงมาได้จะมีโอกาสทำให้การติดเชื้อน้อยลงได้” ถือเป็นการบังคับให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจระงับไปอย่างกะทันหัน ด้วยข้อห้ามเพื่อให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดงดภารกิจการเดินทางออกนอกเคหะสถานโดยไม่จำเป็น ไม่เฉพาะ ช่วงเวลาเคอร์ฟิวเท่านั้น แต่ช่วงเวลากลางวันก็จะต้องทำ  เว้นแต่การเดินทางจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรง ชีวิต อาหาร ยาหรือเวชภัณฑ์ การเดินทางเพื่อเข้าพบแพทย์และบริการสาธารณสุข การเข้ารักษาพยาบาล และการเข้ารับ วัคซีนป้องกันโรค หรือการปฏิบัติงานที่ไม่สามารถ Work Form Home ได้

มาตรการเหล่านี้ มีคนจำนวนมาก รวมทั้งนักวิเคราะห์ มองว่ายังไม่เพียงพอที่จะทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศลดลงได้

ความเข้มงวดของมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด ทั้งการเพิ่มพื้นที่สีแดงเข้มเป็น 13 จังหวัด และจำกัดกิจกรรม  ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความกังวลตามมาว่า เศรษฐกิจโลกและในประเทศกลับมาชะลอหลังเจอโควิดกลายพันธุ์ระบาดอีกรอบ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นว่าต้องหาแนวรับมากกว่าแนวต้าน

ค่าดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลง แต่บาทกลับอ่อนลงมากกว่า จากกระแสฟันด์โฟลว์ที่ไหลออกต่อเนื่อง กดดันให้ดัชนีของตลาดและราคาหุ้นรายตัวย่อต่ำลงเพราะขาดแรงซื้อกลับ

มีคำถามตามมาว่า หากใช้แผนนี้แล้วไม่ได้ผล แผนต่อไปคืออะไร….ยังไร้คำตอบจาก ศบค.

เมื่อเป็นเช่นนี้ ยามนี้นักลงทุนรายย่อยควรทำอย่างไร

มีคนอวดรู้กลุ่มหนึ่งบอกว่าต้องเล่นหุ้นเก็งกำไรประเภท “เสี่ยงสูง กำไรสูง” ด้วยการเข้าเร็ว ออกเร็วตามสัญญาณเทคนิคทำนอง “เล่นหุนขาลง”   แต่มีบทพิสูจน์มาแล้วว่า นั่นคือเส้นทางแห่งหายนะ

กลยุทธ์ที่เหมาะสมในยามนี้คือกลยุทธ์ “ถอยเพื่อตีโต้กลับหรือกลยุทธ์คูตูซอฟ” ที่เคยได้ผลมาแล้ว

เดือนมิถุนายน ปี 1812 พระเจ้านโปเลียนที่หนึ่งแห่งฝรั่งเศส ยาตราทัพมหึมา ด้วยกำลังพล 5 แสน รุกมาทางตะวันออก ผ่านโปแลนด์ เข้าสู่แผ่นดินรัสเซีย

ยามนั้น กองทัพรัสเซียภายใต้การนำทัพของจอมพลคูตูซอฟถอยกรูด กระทั่งทิ้งกรุงมอสโคว์ให้ร้าง

เดือนกันยายน นโปเลียนซึ่งหวังไว้สูงสุดว่าจะได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่เยี่ยงผู้พิชิตจากรัสเซียผู้แพ้ กลับต้องขมขื่นผิดหวังที่ไม่พบใครเลย ทหารฝรั่งเศสเข้ายึดมอสโคว์สบาย ๆ เกิดไฟไหม้มอสโคว์วอดวาย นโปเลียนเข้าเมือง ออกคำสั่งต่าง ๆ นานาในฐานะผู้ปกครอง และรอคอยให้ผู้แพ้มามอบเมือง แต่สิ่งที่รอคอยนั้นไม่เคยมาถึง

ระหว่างนั้น คูตูซอฟตั้งทัพนิ่งสนิทไม่ขยับ วัน ๆ ท่านจอมพลเดินเล่น อ่านนิยายประโลมโลกย์แล้วงีบหลับ ทำให้ทหารขุ่นเคืองกันมาก พยายามรบเร้าขอขับไล่ผู้รุกราน คำตอบของจอมพลคือสองนักรบผู้แกร่งกล้าที่สุด คือ “ความอดทน” และ “กาลเวลา”

พอย่างเดือนพฤศจิกายนอากาศหนาวในรัสเซียหฤโหด ทหารฝรั่งเศสขาดเสบียง ขาดเครื่องนุ่งห่ม ในที่สุดต้องถอยจากมอสโคว์อย่างทุลักทุเล พ่ายแพ้ย่อยยับในการศึกมุ่งตะวันออก และเป็นก้าวแรกของนโปเลียนที่เดินลงสู่ความเสื่อมถอย

จอมพลมิคาอิล คูตูซอฟคือ คุณตาของผู้เขียนนวนิยาย “สงครามและสันติภาพ” อย่าง ลีโอ ตอลสตอย ที่ในทางทหารถือว่าเหนือกว่าขงเบ้งหลายเท่า

นักลงทุนที่อยากรวย ย่อมรู้จักความอดทนและกาลเวลาที่ดี เช่นเดียวกับคูตูซอฟ

Back to top button