อภิชาตบุตร โอบอุ้ม TPOLYแฉทุกวัน ทันเกมหุ้น

บริษัท ไทยโพลีคอนส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPOLY ทำธุรกิจก่อสร้าง แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯว่าคณะกรรมการบริษัท มีมติให้ทำการขายหุ้นที่ลงทุนในบริษัทลูกคือ บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TPCH จำนวนหนึ่ง


บริษัท ไทยโพลีคอนส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPOLY ทำธุรกิจก่อสร้าง แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯว่าคณะกรรมการบริษัท มีมติให้ทำการขายหุ้นที่ลงทุนในบริษัทลูกคือ  บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง  จำกัด (มหาชน) หรือ TPCH จำนวนหนึ่ง

TPOLY จะขายหุ้นที่ถือใน TPCH รวม 37.5 ล้านหุ้น หรือ 935% ของหุ้นรวมของ TPCH ให้กับ “นักลงทุนที่สนใจโดยตรง” ผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ในราคาตามที่ตกลงกันตามกลไกตลาด โดยแต่ละครั้งที่ขาย จะให้ราคาที่คำนวณจากราคาเฉลี่ย 15 วันทำการย้อนหลัง โดยตั้งเป้าขายคนซื้อไม่เกิน 50 คน

โดยราคาขั้นต่ำสุดที่คำนวณได้คือหุ้นละ 15.97 บาท ดังนั้น เท่ากับราคาขั้นต่ำที่จะขายคือ 16.20 บาท หรือไม่ก็ใช้ราคายุติธรรมตามที่ประเมินแล้วโดยที่ปรึกษาการเงินอิสระ

สุดแท้แต่ว่าราคาไหนสูงกว่า ก็เอาราคานั้น

การขายหุ้นครั้งใหญ่นี้ เพิ่มเติมจากที่เคยขายไปแล้วในวันที่ 30 กันยายน TPOLY ออกไปแล้ว 2.5 ล้านหุ้น หรือ 0.62%

รวมความแล้ว TPOLY จะลดการถือครองหุ้นใน TPCH ลงจากสัดส่วนเดิม 51.39% เหลือเพียง 41.26% โดยแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯอีกว่า จะไม่ขายเพิ่มอีกแล้ว

การตัดสินใจขายหุ้นดังกล่าว ด้วยเป้าหมายชัดเจนที่ประกาศออกมา “ต้องการเงินทุน ใช้สำหรับการขยายธุรกิจในอนาคตและเพื่อล้างขาดทุนให้บริษัทมีกำไรและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท” ไม่เป็นที่น่าประหลาดใจ เพราะรู้กันดีว่า TPOLY ต้องการแก้ปัญหาการเงินที่รุมเร้าบริษัทมานานหลายปี เนื่องจากการเพิ่มทุนครั้งล่าสุดที่ผ่านมา ไม่เพียงพอ ต้องการเงินสดอีกมาก เพื่อแก้ปัญหา สภาพคล่อง และชำระหนี้พร้อมกันไป หลังจากมีตัวเลขขาดทุนมายาวนานกว่า 3 ปีเศษแล้วจากธุรกิจก่อสร้าง

สิ้นสุดเดือนธันวาคม 2557 TPOLY มีส่วนผู้ถือหุ้นเหลืออยู่เพียง  25.70 ล้านบาทเท่านั้น  และปีนี้ก็เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิม 503.90 ล้านบาท  เป็นทุนใหม่ 566.89 ล้านบาท แม้จะขายในราคาสูงกว่าพาร์ คือ 4 บาทต่อหุ้น (พาร์ 1 บาท) ก็ทำให้มีส่วนผู้ถือหุ้นใหม่เพียงแค่ 192.61 ล้านบาท ไม่เพียงพอสำหรับการดำเนินธุรกิจก่อสร้างขนาดใหญ่

ธุรกิจก่อสร้างนั้น เป็นธุรกิจที่มีขึ้นลงไม่แน่นอน  และมีมาร์จิ้นต่ำมาก บางช่วงอาจขาดทุน เพราะต้องบันทึกรายได้ เมื่อส่งมอบงานแต่ละช่วงเสร็จแล้ว  เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง

การตัดสินใจขายเงินลงทุนใน TPCH จึงเป็นทั้งความจำเป็น และเป็นทางออกเพื่อก้าวสู่อนาคต เพราะราคาขาย TPCH เป็นราคาที่จะทำให้ได้เงินสดเข้ามายัง TPOLY อย่างน้อย 615 ล้านบาท เท่ากับทำให้มีเงินสดมาใช้หนี้ระยะสั้น (ซึ่งสิ้นไตรมาส 2 มีเงินเบิกเกินบัญชีมากถึง 1,003.92 ล้านบาท)

การขายเงินลงทุนใน TPCH ไม่ได้ทำให้ TPOLY หมดอำนาจการควบคุมบริษัทลูกจนหมดสิ้น เพราะยังมีสัดส่วนหุ้นใหญ่เหมือนเดิม และยังมีหุ้นส่วนของคนในตระกูลจันทร์พลังศรี ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ TPOLY ถืออยู่อีกส่วนหนึ่ง ไม่ต้องห่วงว่าจะถูกใครมาเทกโอเวอร์ไป

ที่สำคัญ คนที่จะซื้อหุ้น TPCH ไปนั้น ถูกกำหนดเงื่อนไขเอาไว้ล่วงหน้าว่า ไม่ใช่ใครหน้าไหนก็ได้ แต่ต้องเป็นผู้ที่มีศักยภาพช่วยส่งเสริมเกื้อกูลธุรกิจของ TPCH ได้ด้วย

โล่งไปเปลาะใหญ่ๆ ทีเดียว

ธุรกรรมขายเงินลงทุนใน TPCH เพื่อแก้ปัญหาให้กับบริษัทแม่เช่นนี้ สะท้อนให้เห็นวิสัยทัศน์อันยาวไกลของผู้ก่อตั้งกิจการที่เสียชีวิตไปแล้วของ TPOLY คือ เจริญ จันทร์พลังศรี วิศวกรผู้หันมาทำธุรกิจก่อสร้าง เมื่อหลายปีก่อนอย่างชัดเจนว่า ลึกซึ้งยิ่งนัก

ต้นปี 2555 ก่อนเสียชีวิตไม่นาน เจริญ ได้ทำการปรับโครงสร้างของ TPOLYครั้งใหญ่ โดยแยกธุรกิจออกเป็น 3 ส่วนคือ ธุรกิจก่อสร้างเดิม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจพลังงานทางเลือก ซึ่งอย่างหลังนี้ แยกเป็นธุรกิจออกมาต่างหาก ในนามของ TPCH เพราะทั้งสองธุรกิจใหม่ มีมาร์จิ้นสูงกว่าธุรกิจก่อสร้างชัดเจน ช่วยกระจายความเสี่ยงมากกว่า

การจากไปของเจริญ ไม่ได้ทำให้ธุรกิจของ TPOLY สะดุดหยุดลงก็จริง แต่กลับปรากฏตัวเลขขาดทุนต่อเนื่อง 4 ปีรวด จนส่วนผู้ถือหุ้นร่อยหรอลง ในขณะที่ธุรกิจลูก TPCH โตวันโตคืนและมีกำไรต่อเนื่องจนสามารถเข้าระดมทุนในตลาด mai ได้ในต้นปีนี้เอง

มรดกตกทอดของยุคสมัย เจริญ จันทร์พลังศรี เป็นผู้นำ เมื่อหลายปีก่อน จึงกลายมาเป็นอภิชาตบุตรให้กับ TPOLY  ในยามยาก ที่ต้องก้าวข้ามไปให้ได้

Back to top button