EFORL เล่นท่ายากแฉทุกวัน ทันเกมหุ้น

วิศวกรรมการเงินล่าสุดของ บริษัท อี ฟอร์ แอล เอม จำกัด (มหาชน) หรือ EFORL ทำเอาคนที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ถือหุ้นของบริษัทพากันงงว่า ธีรวุทธิ์ ปางวิรุฬห์รักข์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการบริษัทกำลังทำอะไรที่“เล่นท่ายาก”เกินจำเป็นอะไรหรือไม่


วิศวกรรมการเงินล่าสุดของ บริษัท อี ฟอร์ แอล เอม จำกัด (มหาชน) หรือ  EFORL ทำเอาคนที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ถือหุ้นของบริษัทพากันงงว่า ธีรวุทธิ์ ปางวิรุฬห์รักข์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการบริษัทกำลังทำอะไรที่“เล่นท่ายาก”เกินจำเป็นอะไรหรือไม่

 สำหรับคนที่ทราบดีถึงรากเหง้าความเป็นมาของ EFORL ที่ทำแบ็กดอร์ บริษัท แอปโซลูท อิมแพค จำกัด (มหาชน) หรือ AIM ที่มีปัญหาการเงินเมื่อปี 2556 พร้อมธุรกิจขายเครื่องมือแพทย์ของเดิมมาเป็นทรัพย์สิน  แต่หลังจากเข้ามาไม่นาน ก็คิดโตทางลัดเข้าซื้อหุ้นของ บริษัท วุฒิศักดิ์ คลินิก อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด (WCIG)

WCIG  แม้จะมีงบการเงินที่ดี แต่ก็มีหนี้สินตกค้างประมาณ 1 พันล้านบาท จากการขยายตัวธุรกิจเกินขนาด โดยมีเจ้าหนี้คือ Wise Thai Company Limited

การเข้าซื้อ วุฒิศักดิ์ ที่มีขนาดธุรกิจใหญ่กว่า ของ EFORL ที่เข้าข่าย “ปลาเล็กกินปลาใหญ่” จึงมีทางเลือก 3  ทางในยามนั้น ซึ่งทาง EFORL เลือกที่จะใช้สูตรผสมระหว่างใช้เงินสดที่มีบางส่วน และกู้เงินบางส่วนจึงปิดดีลได้ โดย2 เจ้าหนี้รายใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคาร CIMBT  (ซึ่งมีบริษัทลูก คือ บล.กสิกรไทย และบล. CIMBS เป็นที่ปรึกษาการเงินของดีล) พร้อมปล่อยกู้ร่วม 2,000 ล้านบาท  

ดีลนี้ ถือเป็น LBO -leverage buyout เพราะกู้เงินมาซื้อ  

บทสรุปของดีลคือ (ตามภาพประกอบ) EFORL ตั้งบริษัทลูกขึ้นมาชื่อว่า บริษัท ดับบลิวซีไอ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ WCIH จำนวนหุ้นทั้งหมด 100 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท รวมทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท แล้วให้ WCIH ไปถือหุ้น 60% ใน WCIG

จากนั้น EFORL ก็จะให้ WCIG กู้ยืมเงิน 1 พันล้านบาท เปลี่ยนการกู้ยืมภายนอกมาเป็นยืมกันเอง

เมื่อดีลจบ ก็เดินหน้าทำธุรกิจ ทำให้รายได้ของ EFORL พุ่งชัดเจน จากรายได้สิ้นปี 2556 ที่ 170 ล้านบาท กระโดดมาเป็น 1,490.21 ล้านบาทสิ้นปี 2557 และครึ่งแรกของปี 2558 นี้ก็พุ่งขึ้นอีก เป็น 2,299.73 ล้านบาท

ส่วนกำไรสุทธิ ที่เคยต้วมเตี้ยม 26.46 ล้านบาท ในสิ้นปี 2556 มาเป็น  240.73 ล้านบาทในปี 2557 และครึ่งแรกของปีนี้ 123.31 ล้านบาท

กำไรที่เพิ่มขึ้น ถือว่าไม่ถูกใจผู้บริหารเพราะพุ่งน้อยกว่ารายได้ อัตรากำไรสุทธิต่ำลง เพราะปัญหาแบกภาระหนี้จากธุรกรรม LBO ซึ่งกดดันให้อัตรากำไรสุทธิกำไร EFORL ถดถอยลง

การแก้ปัญหากำไรปกติโตช้ากว่ารายได้ จึงต้องทำ 2 อย่างพร้อมกันซึ่งล้วนเป็นทางลัดคือ 1) ลดหนี้ 2) สร้างกำไรด้วยวิธีพิเศษ

ถ้าไม่ทำ มีหวังราคาหุ้นของ EFORL คงต้องย่ำอยู่แถว 1.00 บาท หรือต่ำกว่า อีกนานหลายปี

วิธีพิเศษที่ว่า คือ การเก็บเกี่ยวเร็วกว่ากำหนด (early harvest) ซึ่งทำโดยขายเงินลงทุน ซึ่งมีให้เลือกหลายทาง จากสูตรภาคบังคับของการถอดสลักLBO

ทางเลือกที่บอร์ด EFORL สรุปได้คือ การขายหุ้นที่ EFORL ถือใน WCIH ออกไป 2 ครั้ง 9 ล้านหุ้น หรือ  9% ที่ราคาขาย 55 บาทต่อหุ้น ส่วนหนึ่งเอาคืนหนี้ แต่อีกส่วน จะให้ WCIH เพิ่มทุน อีก 16 ล้านหุ้น แล้ว EFORL จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนทั้งหมด ในราคาหุ้นละ 50 บาท

สรุปแล้ว EFORL ก็ยังถือหุ้นใน WCIH ในสัดส่วน 92% มากกว่าหลังขายหุ้นออกด้วยซ้ำ  

หลายคนคงตั้งคำถามว่า ทำไมต้อง“เล่นท่ายาก”

คำตอบพื้นๆ คือ ตอนขาย 9 ล้านหุ้น ทำให้ EFORL บันทึกในงบกำไรขาดทุนสิ้นปีว่า ขายเงินลงทุนได้กำไร หุ้นละ 30 บาท รวมแล้วกำไร 270 ล้านบาท เป็นการเสกกำไรทันตาเห็น กำไรต่อหุ้นและเงินปันผลของ EFORL ปีนี้ กระฉูดแน่นอน

ส่วนเงินที่เอามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนใหม่ของ WCIH จะไม่บันทึกในงบกำไรขาดทุน แต่จะบันทึกในงบดุลในฐานะเงินลงทุนใหม่แทน ซึ่งทำให้มาร์เก็ตแคปและบุ๊คแวลูของ WCIH เพิ่มขึ้น เพราะขายหุ้นเพิ่มทุนมีส่วนเหลื่อมมูลค่าหุ้นสูงกว่าพาร์

บุ๊คแวลูที่เพิ่มขึ้นของ WCIH จะทำให้บุ๊คแวลูของ EFORL เพิ่มขึ้นอีกต่อหนึ่ง

งานนี้ มีแต่ได้กับได้ เพียงแค่หมุนเงินจากกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา

สุดดดด..ยออออออดดดดด!!!!!

 

X
Back to top button