‘ช้อปดีมีคืน’ เทรดหุ้น ลดหย่อนภาษีได้

อาจมีนักลงทุนทราบเรื่องแล้ว แต่ก็อาจมีนักลงทุนอีกหลายคนยังไม่ทราบว่า “การซื้อขายหุ้น” นำไปลดหย่อนภาษีได้ ตามโครงการ “ช้อปดีมีคืน”


อาจมีนักลงทุนทราบเรื่องแล้ว

แต่ก็อาจมีนักลงทุนอีกหลายคนยังไม่ทราบว่า “การซื้อขายหุ้น” นำไปลดหย่อนภาษีได้ ตามโครงการ “ช้อปดีมีคืน”

ข้อมูลดังกล่าวมาจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)

ส่วนบัญชีหุ้นประเภทไหนบ้างที่เข้าเงื่อนไข ใช้หลักฐานอะไรบ้างที่ใช้ลดหย่อนภาษีการซื้อขาย และคิดวิธีการลดหย่อนภาษีอย่างไร

ลองมาดูปุจฉา วิสัชนา กัน

1.ทำไมการซื้อขายหุ้น ถึงสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้

ก่อนอื่นต้องมาย้อนกันสักเล็กน้อย ว่าสินค้าหรือบริการประเภทใด สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งโครงการดังกล่าว มีสินค้าอยู่ 3 ประเภท ซึ่งเข้าเงื่อนไข ได้แก่

1.1 สินค้าและบริการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

2.2 สินค้า OTOP ที่ลงทะเบียนแล้ว

3.3 หนังสือรูปแบบกระดาษ / E-book

ส่วน “ค่าธรรมเนียม” ซื้อขายหุ้น หรือค่าคอมฯ มีการคิด “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” จึงอยู่ในสินค้าประเภทที่ 1 ทำให้สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้

2.บัญชีหุ้นประเภทไหนที่เข้าเงื่อนไข

คำตอบ… บัญชีหุ้นได้ทั้ง 3 ประเภทเข้าเงื่อนไขในการลดหย่อนภาษี “ช้อปดีมีคืน” ทั้งหมด

มาดูกันว่า บัญชีหุ้นทั้ง 3 ประเภทมีอะไรบ้าง

@บัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balance, Cash Deposit)

บัญชีประเภทนี้  จะซื้อหุ้นได้ก็ต่อเมื่อโอนเงินเข้าบัญชีหุ้นที่เราเปิดไว้กับโบรกเกอร์นั้น ถึงจะเริ่มต้นซื้อขายหุ้นได้ โดยเราโอนเข้าไปเท่าไหร่ ก็สามารถซื้อได้เท่านั้น เหมาะสำหรับมือใหม่ที่ต้องการเริ่มต้นลงทุน

@บัญชีเงินสด (Cash Account)

สำหรับนักลงทุนที่ต้องการ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง”

บัญชีนี้ตอบโจทย์การลงทุนสไตล์ดังกล่าว ด้วยการวางเงินตามที่โบรกเกอร์กำหนดเพียงบางส่วนของมูลค่าเต็ม และวางเงินส่วนที่เหลือในอีก 2 วันทำการ (T+2)

@บัญชีมาร์จิน (Credit Balance, Margin Account)

บัญชี 2 ประเภทต้องวางเงินเต็มทั้งคู่ แต่แตกต่างกันที่วันที่ต้องวางจำนวนเงินเต็ม แต่บัญชีมาร์จิ้นนั้น เป็นการวางเงินเพียงบางส่วน และส่วนที่เหลือ จะเป็นการกู้จากโบรกเกอร์ ซึ่งจะต้องจ่ายดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ด้วย

3.ใช้รายการซื้อขายก่อนหน้าได้หรือไม่ และใช้หลักฐานอะไรใช้ลดหย่อนบ้าง

จากเงื่อนไขของ ช้อปดีมีคืน” ที่สามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่ 1 ม.ค.–15 ก.พ. 2565

ทำให้รายการซื้อขายก่อนหน้าวันที่ 1 ม.ค. นั้นไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

แล้วต้อใช้หลักฐานอะไรบ้าง ที่นำมาประกอบใช้สิทธิลดหย่อน

นั่นคือ “ใบยืนยันการซื้อขายที่โบรกเกอร์ออก”

มาถึงประเด็นสำคัญ

คือ การคำนวณการลดหย่อนภาษีจากโครงการ คำนวณอย่างไร และค่าคอมฯ หุ้นต้องรวมค่าอะไรบ้าง

ก่อนจะนำค่าคอมฯ ไปลดหย่อนภาษี มาดูวิธีการคำนวณภาษีบุคคลธรรมดากัน

การลดหย่อนภาษีของโครงการช้อปดีมีคืน ถึงแม้จะใช้สิทธิเต็มเพดาน 30,000 บาท แต่จะต้องดู “รายได้สุทธิ” ซึ่งจะเป็นตัวกำหนด “อัตราภาษี” ที่เราต้องเสียด้วย

สมมติ เรามีเงินได้สุทธิ 350,000 บาท อยู่ช่วงฐานภาษีที่ 300,001–500,000 บาท เสียภาษีในอัตรา 10%

เงินคืนที่ได้สูงสุด จะคิดจาก 30,000 (วงเงินลดหย่อนภาษีช้อปดีมีคืน) x 10% (อัตราภาษี) = 3,000 บาท

ส่วนจำนวนค่าคอมฯ จะใช้ยอดเงินรวมของค่าคอมฯ ค่าธรรมเนียม และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการซื้อขายหุ้น

ใครที่ลงทุนในหุ้น หรือกำลังศึกษาในหุ้น สามารถนำค่าคอมฯ มาร่วมคำนวณในการใช้สิทธิลดหย่อนช้อปดีมีคืน

แต่อย่าลืมดูเงินได้สุทธิ

Back to top button